จากการที่ไต้หวันมีศักยภาพและข้อได้เปรียบด้านเทคโนโลยีหลายประการ เช่น ความสามารถในการผลิตที่เป็นเลิศ การเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมเซมิคอนคักเตอร์ ศูนย์รวมผู้มีความรู้ความสามารถระดับโลก และการเป็นหนึ่งในผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดในโลก ส่งผลให้เกิดการตั้งเป้าหมายเปลี่ยนไต้หวันเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงระดับโลก ด้วยการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเกิดใหม่ (Emerging Industries R&D Program) ซึ่งจะเปลี่ยนโฉมหน้าของไต้หวันจากผู้รับจ้างผลิตตามสัญญาเป็นผู้ทรงอิทธิพลด้านการวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม
[su_spacer]
โครงการดังกล่าวให้ความสำคัญกับการพัฒนา 3 เทคโนโลยีหลัก ได้แก่ เซมิคอนดักเตอร์รุ่นใหม่ เครือข่าย 5G และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นอันดับแรก สำหรับกลยุทธ์ในการดำเนินโครงการจะเน้นไปที่การเชื้อเชิญบริษัทเทคโนโลยีต่างชาติยักษ์ใหญ่ให้ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในไต้หวัน การส่งเสริมความร่วมมือด้านนวัตกรรมระหว่างบริษัทไต้หวันและบริษัทต่างชาติ รวมถึงการพัฒนาแอปพลิเคชันและบริการที่มีการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยบริษัทไต้หวัน
[su_spacer]
ผู้นำฝ่ายบริหาร ซู เจินชาง ได้ให้คำมั่นว่าจะช่วยเหลืออุตสาหกรรมต่าง ๆ ในการปรับใช้เทคโนโลยี 5G และ AI หลังจากที่ไต้หวันเริ่มเปิดให้บริการ 5G แล้ว เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2563 สำหรับอุตสาหกรรม เซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งในปีที่แล้วไต้หวันมีมูลค่าการผลิตรายปีสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก (2.7 ล้านล้าน ด. ไต้หวัน) และจะสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานวัตถุดิบและอุปกรณ์ทั้งส่วนที่เป็นต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์แบบครบวงจร อันจะส่งผลให้ไต้หวันกลายเป็นศูนย์กลางห่วงโซ่อุปทานของโลก
[su_spacer]
ในขณะเดียวกัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2564-2567) ที่สภาพัฒนาแห่งชาติไต้หวัน (National Development Council, NDC) ได้เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2563 ก็แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในด้านนโยบาย โดยมีการชูเครือข่าย 5G เทคโนโลยี AI และห่วงโซ่อุปทานด้านเทคโนโลยีมาเป็นปัจจัยหลักในการผลักดันให้อัตราการขยายตัวของ GDP อยู่ที่ร้อยละ 2.6 – 3.4 ตามที่ตั้งเป้าไว้
[su_spacer]
สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย