ด้วยการผลิตพลังงานลมมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วโลกและมีการคาดการณ์ว่าในปี 2583 ทั่วโลกจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมได้ถึง 1,7000 กิกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 14 ของกําลังการผลิตกระแส ไฟฟ้าทั่วโลก ประกอบกับการที่ไต้หวันให้ความสําคัญกับการพัฒนาพลังงานสีเขียว (Green Energy) และพลังงาน ทดแทนมาเป็นระยะเวลาหลายปี อีกทั้งมีภูมิภาคเป็นเกาะที่มีพายุและกระแสลมแรงบริเวณนอกชายฝั่งตลอดปี กระทรวงพลังงานไต้หวันจึงจัดทําโครงการ Thousand Wind Turbines วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเรื่องพลังงานลมและ กังหันลม โดยปัจจุบันไต้หวันมีแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมทั้งบนบกและนอกชายฝั่งทั้งสิ้นกว่า 30 แห่ง ผลิตกระแสไฟฟ้าได้รวมทั้งสิ้นแล้วกว่า 1,722,459 เมกะวัตต์
[su_spacer]
International Energy Agency เผยแพร่ใน World Energy Outlook 2018 ว่าพลังงานลมมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและคาดว่าทั่วโลกจะสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้ถึง 1,700 กิกะวัตต์ในปี 2583 หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของพลังงานทั้งหมดที่สร้างขึ้นทั่วโลกทําให้บริเวณนอกชายฝั่งกําลังเป็น จุดสนใจของทุกประเทศทั่วโลก
[su_spacer]
ไต้หวันเป็นหนึ่งในผู้นําในการพัฒนาพลังงานลมนอกชายฝั่งของเอเชีย เนื่องจากช่วงหลายปีที่ผ่าน มาไต้หวันได้ให้ความสําคัญกับเรื่องพลังงานสีเขียว (Green Energy) อย่างจริงจังข้อมูลจาก โครงการ Thousand Wind Turbines บนเว็บไซต์ www.twtp0.org.tw ที่จัดตั้งโดย กระทรวงพลังงาน ไต้หวันระบุว่า ปัจจุบันไต้หวันมีแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมทั้งบนบกและนอกชายฝั่งรวม ทั้งหมด 30 แห่ง เป็นกังหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมบนบกรวมทั้งสิ้น 353 ตัว กังหันเพื่อผลิต กระแสไฟฟ้านอกชายฝั่งรวมทั้งสิ้น 2ตัว ซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้ารวมทั้งสิ้นแล้วกว่า1,722,459 เมกะวัตต์ จึง คาดการณ์ว่าไต้หวันกําลังจะกลายเป็นตลาดนอกชายฝั่งที่ใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียรองจากจีนและเป็น ศูนย์กลางการส่งออกอุปกรณ์กังหันที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ในไม่ช้า
[su_spacer]
นอกจากนี้ ไต้หวันยังได้รับการสนับสนุนและการลงทุนจากนานาชาติ อาทิ ข้อมูลจากสํานักข่าว CNA (Commerce News Agency) ระบุว่า บริษัทการท่าเรือนานาชาติไต้หวัน (Taiwan International Ports Corporation) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง MOU ว่าด้วยความร่วมมือทางการจัดสร้างกังหันลมนอก ชายฝั่ง (Ofshore wind power) กับสํานักงานตัวแทนอังกฤษประจําไต้หวันในวันที่ 13มี.ค. 2562 โดย น.ส.แคทเธอรีน เน็ทเทลตัน (Ms. Catherine Nettleton) ผู้แทนจาก British Office Taipei กล่าวว่า รัฐบาลอังกฤษประกาศที่จะทุ่มทรัพยากรของรัฐในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อพัฒนา อุตสาหกรรมนี้ในระยะยาวอย่างมีเสถียรภาพ โดยมีความเป็นไปได้สูงว่าจะสามารถแบ่งปันเทคนิค ประสบการณ์ รวมทั้งทรัพยากรในการพัฒนากังหันลมให้กับบริษัทการท่าเรือนานาชาติไต้หวันและหุ้นส่วน อื่น ๆ ด้านพลังงานลมนอกชายฝั่ง
[su_spacer]
ล่าสุด เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2562 CRS News รายงานว่า บริษัท Orsted หนึ่งในผู้นําด้านการผลิต พลังงานทดแทนที่ใหญ่ที่สุดของโลกได้รับสินเชื่อกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากธนาคาร 15 แห่งทั่วโลก เพื่อมาลงทุนสร้างและพัฒนาฟาร์มกังหันลมในทะเลแห่งแรกของไต้หวัน นอกจากนี้ บริษัท Wpd Taiwan Energy Co., Ltd ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ wdp AG บริษัทพัฒนาและจัดการฟาร์มกังหันลมระดับโลกใน เยอรมนี กล่าวถึงโครงการ Yunlin Offshore Wind Project ว่า บริษัทมีแผนการที่จะสร้างกังหันลมจํานวน 80 แห่งบริเวณทางตอนใต้ของไต้หวัน ห่างจากมณฑลหยุนหลินออกมาประมาณ8 กม. ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ ภายในสิ้นปี 2564 และจากการประเมินจะต้องใช้งบประมาณการลงทุนรวมกว่า 94 พันล้านดอลลาร์ ไต้หวัน หรือประมาณ 3.03 พันล้านดอลลารสหรัฐ (ประมาณ 93 พันล้านบาท)
[su_spacer]
จากการสนับสนุนของทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งด้านทรัพยากรและเงินลงทุนในการพัฒนาพลังงาน ทดแทนซึ่งรวมถึงพลังงานลม ทําให้ไต้หวันตั้งเป้าว่าภายในปี 2568 จะสามารถติดตั้งอุปกรณ์ผลิต กระแสไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่งที่มีกําลังผลิตได้ 5.5 กิกะวัตต์ต่อปีและจะพัฒนาให้มีกําลังการผลิต เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 1 กิกะวัตต์
[su_spacer]
ในปีนี้ Taiwan External Trade Development Council (TAITRA) และสมาคมเซมิคอนดักเตอร์ นานาชาติ (SEMI) ได้ร่วมกันจัดงาน Wind Energy Taiwan 2019 ระหว่างวันที่ 16 – 18 ต.ค. 2562ณ Taipei Nangang Exhibition Center, Hall 1 ไทเป ไต้หวัน ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.energytaiwanforum.org
[su_spacer]
สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย