คณะรัฐมนตรีสวิสได้อนุมัติ “ยุทธศาสตร์เสริมสร้างความเข้ มแข็งให้กับสวิตเซอร์แลนด์ ในฐานะประเทศเจ้าบ้าน (host Country) และที่ตั้งขององค์การระหว่ างประเทศประจำปี 2563 – 2566” โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาให้สวิ ตฯ โดยเฉพาะเจนีวาเป็นที่ดึงดู ดในการก่อตั้งองค์การระหว่ างประเทศและเป็นศูนย์ กลางธรรมาภิบาลโลก รวมทั้งเสริมสร้างบทบาทของสวิตฯ ในการรับมือกับความท้ าทายของการทูตพหุภาคีในศตวรรษที่ 21 และนำวิทยาศาสตร์และการทูตมาเชื่ อมโยงกัน ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีสวิสได้อนุมัติ งบประมาณจำนวน 111.8 ล้านฟรังก์สวิสสำหรับการดำเนิ นยุทธศาสตร์ดังกล่าว [su_spacer size=”20″]
ภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว คณะรัฐมนตรีสวิสได้อนุมัติการจั ดตั้งมูลนิธิ Geneva Science and Diplomacy Anticipator (GSDA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศู นย์กลางพิจารณาประเด็นท้ าทายใหม่แห่งโลกอนาคต เช่น ความจำเป็นในการกำหนดกฎหมายเพื่ อรองรับผลกระทบของเทคโนโลยี โดยมีนาย Peter Brabeck-Letmatche อดีต CEO ของบริษัท Nestlé เป็นประธาน และนาย Patrick Aebischer อดีตอธิการบดี Swiss Federal Institute of Technology Lausanne (EPFL) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่ อเสียงด้านนวัตกรรมของสวิตฯ เป็นรองประธาน ทั้งนี้ ในช่วงระหว่าง 3 ปีแรก (ปี 2562 – 2564) GSDA จะเป็นเวทีให้ผู้เชี่ยวชาญด้ านการเมืองและนักวิทยาศาสตร์ ระดมสมองร่วมกันเพื่ อกำหนดประเด็นท้าทายต่าง ๆ และแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยกระทรวงการต่างประเทศสวิสได้ จัดสรรงบประมาณจำนวน 3 ล้านฟรังก์สวิส นอกจากนี้ รัฐเจนีวาและเทศบาลนครเจนีวาได้ สนับสนุนงบประมาณแห่งละ 3 แสนฟรังก์สวิสในช่วงเวลาดังกล่ าวด้วย [su_spacer size=”20″]
ด้านนาย Ignazio Cassis รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่ างประเทศสวิสกล่าวเพิ่มเติมถึง GSDA ว่า มูลนิธิดังกล่าวจะไม่เน้ นการทำงานด้านการมีมนุ ษยธรรมบนงานวิทยาศาสตร์ในแบบดั้ งเดิมขององค์การระหว่างประเทศ หากแต่จะเน้นความท้าทายของวิ ทยาศาสตร์ในโลกอนาคต อาทิ การควบคุมพัฒนาการของเทคโนโลยี ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยยกตัวอย่างถึงโดรน รถยนต์ไร้คนขับ และการดัดแปลงพันธุกรรม เป็นต้น ซึ่ง GSDA จะส่งเสริมทั้งความร่วมมือเชิ งวิทยาศาสตร์ในชุมชนโลก รวมถึงผลักดันให้เกิดพั ฒนาการของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในสังคมและการเมื องระหว่างประเทศด้วย [su_spacer size=”20″]
ข้อมูลเพิ่มเติม
[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น