รายงานสรุปข้อมูลด้านการเกษตรของสวิสประจําปี 2561 จาก Federal Office for Agriculture (FOAG) สังกัดภายใต้กระทรวงเศรษฐกิจ การศึกษา และการวิจัย ระบุว่า นโยบายด้านการเกษตรสวิสให้ความสําคัญกับการรักษาความสมดุลของภาคเกษตรกรรม และให้ความสําคัญกับแนวปฏิบัติที่ดีที่เป็นมิตรต่อสัตว์และสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2560 รัฐบาลสวิสใช้งบประมาณกว่า 3.7 พันล้านฟรังก์สวิสในสาขาเกษตรกรรมและอาหาร [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดในปี 2560 พบว่า สวิสมีพื้นที่เกษตรกรรมกว่า 1,046 ล้านเฮกตาร์ ประกอบด้วย 51,600 ฟาร์ม (ลดลงร้อยละ 1.2 จากปี 2559) มีแรงงานในภาคเกษตร จํานวน 153,900 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากปี 2559) ทั้งนี้ รายได้ของเกษตรกรต่อฟาร์มประมาณ 67,800 ฟรังก์สวิส (เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 จากปี 2559) โดยอุตสาหกรรมการผลิตนมถือเป็นสาขาเกษตรกรรมหลักของสวิส (ในปี 2559 สวิสผลิตนมได้ทั้งสิ้น เป็นปริมาณ 4.43 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของผลผลิตเกษตรกรรมทั้งหมด) ทั้งนี้ สวิสมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตนมประมาณ 20,377 ราย นอกจากนี้ เมื่อเดือนกันยายน 2560 รัฐบาลสวิสได้รับรองแผนการลดการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง ร้อยละ 50 เพื่อให้มีการคุ้มครองพันธุ์พืชอย่างยั่งยืน [su_spacer size=”20″]
ด้านการค้าระหว่างประเทศ กลุ่มอียูยังคงเป็นตลาดคู่ค้าสําคัญสําหรับสินค้าเกษตรของสวิส ในปี 2560 สวิสนําเข้าสินค้าเกษตรจากอียูเป็นจํานวน 12.4 พันล้านฟรังก์สวิส โดยเฉพาะสินค้าเครื่องดื่มและผลไม้ ในขณะที่สวิสส่งออกสินค้าเกษตรไปยังอียูเป็นจํานวน 9.1 พันล้านฟรังก์สวิส โดยเฉพาะกาแฟซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สําคัญ [su_spacer size=”20″]
แม้ว่ารายได้จากสาขาเกษตรกรรมจะคิดเป็นสัดส่วนต่ำกว่าร้อยละ 1 ของ GDP ทั้งหมด แต่ยังคงถือเป็นสาขาสําคัญต่อนโยบายความมั่นคงทางด้านอาหารซึ่งเป็นประเด็นที่สวิสให้ความสําคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ อุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อการเติบโตของ GDP ที่สําคัญของสวิส ได้แก่ สาขาบริการ คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 74 และสาขาอุตสาหกรรม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของ GDP ทั้งหมด [su_spacer size=”20″]
เมื่อเดือนกันยายน 2561 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดทําประชามติ 2 เรื่องที่เกี่ยวข้องการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอาหารของสวิส โดยเฉพาะข้อเสนอให้มีปฏิรูปภาคเกษตรกรรมทั้งระบบ รวมทั้งการกําหนดภาษีนําเข้าที่สูงขึ้นในผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสวิส และข้อเสนอให้มีการผลิตอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการกําหนดมาตรการที่เข้มงวดเพิ่มเติมในกระบวนการผลิตอาหารทั้งที่ผลิตในสวิสและนําเข้าจากต่างประเทศด้วย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าว อย่างไรก็ดี กลุ่มที่สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าวจะยังคงผลักดันและเรียกร้องให้รัฐบาลปฏิรูปภาคเกษตรกรรมต่อไป [su_spacer size=”20″]
รัฐบาลสวิสได้จัดทํานโยบายด้านการเกษตรฉบับใหม่สําหรับปี ค.ศ. 2022 – 2025 โดยมุ่งเน้นให้ภาคเกษตรกรรมสามารถพึ่งพาตนได้มากยิ่งขึ้น และส่งเสริมให้เกษตรกรให้ความสําคัญกับการศึกษา ความต้องการของตลาด และพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าของตน โดยรัฐบาลจะให้การอุดหนุนภาคเกษตรกรรมเป็นจํานวน 13.9 พันล้านฟรังก์สวิส ตลอดระยะเวลาสี่ปีในช่วงเวลาดังกล่าว และเสนอให้มีการทบทวนกฎระเบียบเกี่ยวกับการส่งออกผลิตภัณฑ์ชีส และกฎระเบียบว่าด้วยระดับการใช้สารเคมีซึ่งจะมีความเข้มงวดเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบัน รัฐบาลกําลังระดมความเห็นและหารือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับนโยบายฉบับใหม่ดังกล่าว ก่อนที่จะเสนอร่างกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้รัฐสภาพิจารณาในปี 2562 [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น