รายงาน Global Competitiveness Index 2020 (GCI 2020) โดย World Economic Forum (WEF) ในปีนี้จะไม่มีการจัดลําดับความสามารถในการแข่งขันดังเช่นทุกปี แต่จะแจ้งผลการคํานวณความพร้อมในการปฏิรูปเศรษฐกิจ (Economic Transformation Readiness) ของ 37 ประเทศแทน และ WEF จะกลับมาจัดลําดับความสามารถในการแข่งขันอีกครั้งในปี 2564 (ค.ศ. 2021) ทั้งนี้ สาระสำคัญของรายงานข้างต้น มีดังนี้
.
รายงานมีหัวข้อหลัก คือ “How Countries are Performing on the Road to Recovery” ซึ่งเน้นวิเคราะห์การฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนและทั่วถึง โดยคํานึงถึงความสามารถในการผลิต (productivity) ผู้คน (people) และโลก (planet) เป็นเป้าหมายหลัก
.
โดยประเทศที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับวิกฤต COVID-19 มักจะมีความโดดเด่นในเรื่องของ (1) เศรษฐกิจดิจิทัลที่เข้มแข็งซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ สามารถดําเนินต่อได้ในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ (2) ระบบสวัสดิการ (social safety nets) ที่ครอบคลุม เพื่อช่วยเหลือแรงงานที่ไม่สามารถทํางานได้และให้เงินกู้ฉุกเฉินแก่ SMEs (3) ระบบสาธารณสุขที่ดี และ (4) ประสบการณ์จากการจัดการกับโรคระบาดในอดีต อาทิ SARS
.
นอกจากนี้ ทัศนคติของนักธุรกิจในประเทศพัฒนาแล้วต่อสภาพเศรษฐกิจ อาทิ (1) เกิดการกระจุกตัวของ ตลาดมากขึ้น (2) มีการแข่งขันด้านการให้บริการลดลง (3) มีความร่วมมือระหว่างบริษัทน้อยลง (4) มีแรงงานที่มีทักษะ (skilled Workers) ในตลาดแรงงานน้อยลง (5) รัฐบาลมีการปรับตัวที่เร็วขึ้น และ (6) มีความร่วมมือภายในบริษัทที่ดีขึ้
.
ขณะที่ ทัศนคติต่อสภาพเศรษฐกิจของนักธุรกิจในประเทศกําลังพัฒนา อาทิ (1) ต้นทุนเพิ่มขึ้นเพราะมีการก่ออาชญากรรมที่มากขึ้น (2) ระบบศาลมีความเป็นอิสระน้อยลง (3) ภาวะการแข่งขันลดลง (4) ความเชื่อมั่นใน นักการเมืองถดถอย (5) รัฐบาลมีการปรับตัวที่เร็วขึ้น (6) มีความร่วมมือภายในบริษัทที่ดีขึ้น และ (7) โอกาสการจ้าง แรงงานที่มีคุณภาพสูงขึ้น
.
ทั้งนี้ ในรายงานฯ ได้ให้ข้อแนะนําสําคัญในการปฏิรูปเศรษฐกิจ ในหลากหลายด้าน ประกอบด้วย
.
1. Enabling environment อาทิ พัฒนาการให้บริการแก่สาธารณะ เน้นวางแผนการบริหารหนี้สาธารณะและขยายเศรษฐกิจดิจิทัล ส่งเสริมการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า (Progressive tax) ตลอดจนสนับสนุนการลงทุนด้าน โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
.
2. Human capital อาทิ เพิ่มโอกาสการจ้างงานในตลาดแรงงานสมัยใหม่ พัฒนาโครงการ เพื่อนำทักษะที่คุณมีอยู่เดิม มาปรับปรุงและพัฒนาให้เหมือนใหม่ (reskilling) และพัฒนาทักษะให้แรงงาน (upskilling) เพิ่มสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือแรงงานโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา แก้ไขกฎหมายแรงงาน และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อรองรับการจัดการทักษะที่จําเป็นในยุคดิจิทัล
.
3. Markets อาทิ เพิ่มการเข้าถึงระบบการเงิน ลดอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายสินค้าและแรงงาน ปรับปรุงระเบียบเพื่อเพิ่มการแข่งขันทางการค้า และให้ผลประโยชน์ทางการเงินแก่บริษัทที่ลงทุนอย่างยั่งยืน
.
4. Innovation Ecosystem อาทิ เพิ่มการลงทุนโดยภาครัฐในด้านการวิจัยและพัฒนา (Research and development – R&D) สนับสนุนการลงทุน R&D ในภาคเอกชน และส่งเสริมการสร้าง “markets of tomorrow” ด้วยการกระตุ้นให้บริษัทเพิ่มความหลากหลายของสินค้าผ่านนวัตกรรมและเพิ่มความเกี่ยวเนื่องกับการใช้ชีวิตประจําวันในยุคสมัยใหม่
.
Economic Transformation Readiness เป็นตัวบ่งชี้ใหม่ซึ่ง WEF ได้จัดทําขึ้นเพื่อวัดความสามารถของประเทศต่าง ๆ ในการปฏิรูปเศรษฐกิจในระยะยาวหลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยมุ่งเน้นการใช้ปัจจัย ที่ส่งเสริมการปฏิรูปเศรษฐกิจตามข้อแนะนำในการปฏิรูปเศรษฐกิจเป็นตัวชี้วัด โดยแบ่งออกเป็น 11 ตัวชี้วัด พร้อมกับระบุประเทศที่ได้รับคะแนนสูงในแต่ละตัวชี้วัด อาทิ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และสิงคโปร์ ทั้งนี้ ด้วยข้อจํากัดทางข้อมูล WEF สามารถคํานวณ Economic Transformation Readiness ได้เพียง 37 ประเทศ เท่านั้น ซึ่งไทยไม่ได้อยู่ในรายชื่อ 37 ประเทศนี้
.
คณะผู้แทนถาวรฯ ณ นครเจนีวา