Thursday, May 29, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

จับตาความโดดเด่นทางเศรษฐกิจสวิตฯ ท่ามกลางวิกฤติ COVID-19

25/10/2021
in ทันโลก, ยุโรป
0
จับตาความโดดเด่นทางเศรษฐกิจสวิตฯ ท่ามกลางวิกฤติ COVID-19
7
SHARES
1.5k
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

การคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ในปี 2564 และปี 2565

.

ภาพรวมเศรษฐกิจสวิตเซอร์แลนด์ยังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการขับเคลื่อนน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ทําให้ต้องปรับลดการคาดการณ์ GDP ในปี 2564 ลงจากเดือนมิถุนายน 2564 ที่คาดว่าจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 3.6 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ซึ่งนับว่ายังสูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยโดยปกติของเศรษฐกิจสวิตเซอร์แลนด์ โดยภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบสูง คือ ภาคการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าเนื่องจากไม่มีมาตรการป้องกันฯ ที่เข้มงวด อย่างไรก็ดี การกลับมาจับจ่ายใช้สอยผนวกกับการลงทุนของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการขยายตัวด้านการส่งออก ทำให้เศรษฐกิจสวิตเซอร์แลนด์เติบโตอย่างรวดเร็วกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของสวิตเซอร์แลนด์ จากอดีตที่ผ่านมา ทั้งนี้ สาเหตุอีกประการหนึ่ง เมื่อพิจารณาสถิติล่าสุด พบว่าเศรษฐกิจปี 2563 ยังอยู่ในระดับประคองตัวได้ดี ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง จึงไม่ได้ส่งผลให้ค่า GDP เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมากนัก

.

นับตั้งแต่การผ่อนปรนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสฯ เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2564 เศรษฐกิจ ภายในประเทศฟื้นตัวขึ้นตามการคาดการณ์ หลังจากที่ชะลอตัวในช่วงครึ่งปีของฤดูหนาว ส่วนในฤดูร้อนกิจกรรมทาง เศรษฐกิจคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตฯ สวนทางกับเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวเพียงระยะสั้น และขยายตัวได้ไม่มากเท่ากับเศรษฐกิจสวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานทําให้ความสามารถในการผลิตชะลอตัว (capacity bottlenecks) ส่งผลให้การบริการต้องหยุดชะงัก เนื่องจากบางประเทศมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสฯ ที่เข้มงวดมากขึ้น หากเศรษฐกิจโลกกลับมาขยายตัวอีกครั้ง คาดว่าจะส่งผลดีต่อประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศและการค้าระหว่างประเทศของสวิตเซอร์แลนด์ ให้คึกคักมากขึ้น โดยในปี 2565 คาดการณ์ว่า GDP ของสวิตเซอร์แลนด์จะเติบโตขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.4

.

นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสวิตเซอร์แลนด์ ยังส่งผลดีต่อตลาดแรงงาน โดยเฉพาะอัตราการว่างงานที่คาดว่าจะลดน้อยลงจากเดิมร้อยละ 3.0 ในปี 2564 เหลือเพียงร้อยละ 2.7 ในปี 2565 โดยคาดว่า อัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย กล่าวคือ เมื่อเดือนมิถุนายน 2564 อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ทว่าปี 2565 อาจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 อนึ่ง ปัจจัยที่อาจทําให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ชะงักลง มีดังนี้

.
(1) การบังคับใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสฯ ที่เข้มงวดอีกครั้ง เช่น ในกรณีที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสฯ สายพันธุ์ใหม่ ควบคู่กับประสิทธิภาพของวัคซีนที่ลดน้อยลงหลังจากฉีดไประยะหนึ่ง

(2) ปัญหาความสามารถในการผลิตชะลอตัว (capacity bottleneck) ยังคงยืดเยื้อต่อไป

(3) สภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันกลายเป็นความกดดันต่อราคาสินค้า และทําให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาว (Long-term interest rate) เพิ่มสูงขึ้นตาม ซึ่งในกรณีนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในส่วนของหนี้ภาครัฐและภาคเอกชน และการปรับฐานตลาดการเงินการคลัง (financial market Corrections) รวมถึงความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ

.

แต่ในทางกลับกันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในสวิตเซอร์แลนด์ และประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ อาจขยายตัวได้ดีกว่าการคาดการณ์ข้างต้น เนื่องจากมีการจับจ่ายใช้สอยภาคครัวเรือนมาตั้งแต่ปี 2563 การนําเงินออมส่วนหนึ่งออกมาใช้จ่าย นับเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้เช่นเดียวกัน

.

ด้านสถิติการใช้จ่ายและดัชนีการบริโภคในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 

(1) ผลประกอบการค้าปลีก (ไม่รวมในปั้มน้ำมัน) ในเดือนสิงหาคม 2564 (ณ ราคาปัจจุบัน และปรับตามฤดูกาล) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2564 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 โดยการค้าปลีกสินค้ากลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และกลุ่มที่ไม่ใช่อาหาร ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8

.

(2) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนกันยายน 2560 ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนสิงหาคม 2564 มากนัก โดยอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 101.3 จุด (คํานวณจากฐานดัชนีราคา 100 จุด เมื่อเดือนธันวาคม 2563) โดยราคาสินค้าในกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า น้ำมันสําหรับทําความอบอุ่น และการขนส่งทางอากาศปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่แพ็คเกจการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และค่าเช่าพาหนะขนส่งส่วนตัวปรับตัวลดลง สําหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว

.

(3) ประมาณการว่าในปี 2564 เกษตรกรรมในสวิตเซอร์แลนด์ จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มขั้นต้น (gross value added) 4.1 พันล้านฟรังก์สวิส ลดลงร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับปี 2563 เนื่องจากผลผลิตลดลง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศ ส่งผลต่อการเพาะปลูกพืชเกือบทุกชนิด อย่างไรก็ดี ผลผลิตจากสัตว์โดยรวมยังขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

.

สถานการณ์การค้าของประเทศสวิตเซอร์แลนด์

.

ในเดือนสิงหาคม 2564 สวิตเซอร์แลนด์ ได้ดุลการค้า 4.5 พันล้านฟรังก์สวิส โดยมีมูลค่าการส่งออก 20.91 พันล้านฟรังก์สวิส เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2564 ร้อยละ 2.1 (ณ ราคาปัจจุบัน) การส่งออกไปยังภูมิภาคยุโรปลดลงร้อยละ 1.6 และเอเชีย ลดลงร้อยละ 2.5 ด้านการส่งออกไปยังภูมิภาคอเมริกาเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.7 ในส่วนของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวหรือคิดเป็นมูลค่า 1.7 พันล้านฟรังก์สวิส สินค้าหลักที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มขึ้น ได้แก่ เคมีภัณฑ์และเภสัชภัณฑ์  ในขณะที่มูลค่าการนําเข้าอยู่ที่ 16.4 พันล้านฟรังก์สวิส เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ณ ราคาปัจจุบัน

.

ด้านนโยบายการการลงทุนของประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ธนาคารแห่งชาติสวิตเซอร์แลนด์ยังคงนโยบายการเงินแบบขยายตัวเช่นเดิม เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาและสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจสวิตเซอร์แลนด์ จากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสฯ โดยจะคงนโยบายดอกเบี้ยติดลบที่ร้อยละ 0.75 และเข้าแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศเมื่อจําเป็น เพื่อลดความกดดันของการแข็งตัวของค่าเงินฟรังก์สวิส นอกจากนี้ ธนาคารฯ ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2564 ปี 2565 และ ปี 2566 ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ร้อยละ 0.7 และ ร้อยละ 0.6 ตามลําดับ อีกทั้งปรับลดคาดการณ์ GDP ในปี 2564 ลงจากเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ที่คาดว่าจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 3.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.0

.

ในส่วนของสถาบัน KOF ซึ่งอยู่ภายใต้สถาบันเทคโนโลยี ETH ซูริก รายงานว่า มาตรวัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ (KOF Economic Barometer) เดือนกันยายน 2560 อยู่ที่ 110.6 จุด ปรับตัวลดลง 2.9 จุด จากเดือนสิงหาคม 2564 แต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว โดยสาเหตุมาจากการปรับตัวลดลงของตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับอุปสงค์จากต่างประเทศ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคการให้บริการอื่น ๆ ในขณะที่ภาคการเงิน และการประกันภัยปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ ตัวชี้วัดในภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ปรับตัวลดลงส่วนใหญ่มาจาก โลหะ กระดาษและการพิมพ์ วิศวกรรมเครื่องกลและการผลิตยานพาหนะ และสิ่งทอ โดยในส่วนของตัวชี้วัด ในภาคการผลิตเคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์และพลาสติก อาหารและเครื่องดื่ม ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากเมื่อเดือนสิงหาคม 2560 มากนัก

.

ทางด้านการรถไฟสวิตเซอร์แลนด์ (SBB) กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 มีจํานวนผู้โดยสาร 763,000 ราย/วัน ลดลงร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสฯ ในปี 2562 แม้ขณะนี้อุปสงค์ของผู้ใช้บริการรถไฟเริ่มเพิ่มมากขึ้นแต่เป็นไปอย่างช้า ๆ โดยอัตราการใช้พื้นที่ (occupancy rate) ยังน้อยกว่าเมื่อปี 2562 ประมาณร้อยละ 25 แต่การรถไฟสวิตเซอร์แลนด์ยังคงดําเนินการตามแผนขยายและพัฒนาการให้บริการ อย่างต่อเนื่อง และทําให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 การรถไฟสวิตเซอร์แลนด์ขาดทุนจํานวน 389 ล้านฟรังก์สวิส ขาดสภาพคล่องทางการเงินและมีหนี้เพิ่มขึ้น แต่ยังได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางสวิตเซอร์แลนด์ จนถึงสิ้นปี 2564

.

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ยังคงมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับอัญมณีและเครื่องประดับ นาฬิกาและส่วนประกอบ เครื่องจักรกล รถยนต์และอุปรณ์ส่วนประกอบ ควรเร่งพัฒนาและปรับปรุงสินค้าให้ตอบโจทย์กับความต้องการ เพื่อพร้อมส่งออกไปยังสวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงประเทศอื่น ๆ  ทั้งนี้ สถานการณ์การส่งออกของสวิตเซอร์แลนด์ ไปยังภูมิภาคยุโรปและเอเชียนั้นลดลง ภาคธุรกิจไทยควรใช้ช่วงเวลานี้ในการเร่งส่งออกสินค้าที่กำลังเป็นที่ต้องการในภูมิภาคนั้น ๆ อันจะเป็นการขยายโอกาสการส่งออกให้กับประเทศไทยในตลาดที่กว้างขึ้น

.

สถานเอกอัคราชทูต ณ กรุงเบิร์น

Previous Post

จับตาการฟื้นตัวของภาคการส่งออกอาหารเวียดนาม

Next Post

บริษัท AIDC Logistics กับธุรกิจการให้บริการด้านการขนส่งสินค้าในสปป.ลาว

Tanakorn

Tanakorn

Glob Thailand Administrator

Next Post
บริษัท AIDC Logistics กับธุรกิจการให้บริการด้านการขนส่งสินค้าในสปป.ลาว

บริษัท AIDC Logistics กับธุรกิจการให้บริการด้านการขนส่งสินค้าในสปป.ลาว

Post Views: 3,261

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

กว่างซีจ้วงเร่งเครื่องเศรษฐกิจสีน้ำเงิน โอกาสใหม่ของไทยในยุทธศาสตร์ทะเลจีน

กว่างซีจ้วงเร่งเครื่องเศรษฐกิจสีน้ำเงิน โอกาสใหม่ของไทยในยุทธศาสตร์ทะเลจีน

23/05/2025
เขต YRD ทะยานสู่ผู้นำโลกหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ และโอกาสความร่วมมือกับไทย ตอนที่ 3

เขต YRD ทะยานสู่ผู้นำโลกหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ และโอกาสความร่วมมือกับไทย ตอนที่ 3

22/05/2025
เจาะตัวเลขการค้าหูหนาน ไตรมาสแรก 2568

เจาะตัวเลขการค้าหูหนาน ไตรมาสแรก 2568

22/05/2025
ทิศทางความเคลื่อนไหวด้านพลังงานนิวเคลียร์ของไต้หวัน

ทิศทางความเคลื่อนไหวด้านพลังงานนิวเคลียร์ของไต้หวัน

22/05/2025
“โปรตีนทางเลือก” โอกาสสำหรับธุรกิจอาหารเพื่อความยั่งยืนในสิงคโปร์

“โปรตีนทางเลือก” โอกาสสำหรับธุรกิจอาหารเพื่อความยั่งยืนในสิงคโปร์

22/05/2025
สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาเดิน-เวือรืทเทิมแบร์ค

สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาเดิน-เวือรืทเทิมแบร์ค

22/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X