ปัจจุบัน ทวีปแอฟริกากำลังเป็นที่จับตามองของหลาย ๆ ประเทศ เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกากำลังมีการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจและระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเตรียมพร้อมรองรับระบบเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวใหญ่ขึ้น ก่อให้เกิดโอกาสทางการค้าและการลงทุนที่นักลงทุนไม่ควรพลาด ซึ่งซูดานหรือชื่อทางการว่าสาธารณรัฐซูดานก็เป็นหนึ่งในประเทศในทวีปแอฟริกาที่น่าจับตามองมากที่สุดประเทศหนึ่ง ภายหลังจากที่ได้มีการตัดสินใจแยกประเทศระหว่างสาธารณรัฐซูดานกับสาธารณรัฐเซาท์ซูดานเมื่อปี 2554 ได้ทำให้ซูดานเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น และมีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ จนนำไปสู่การตัดสินใจยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ เมื่อไม่นานมานี้[su_spacer size=”20″]
จากพัฒนาการที่ดีในเรื่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา กรมเอเชียใต้ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐซูดานประจำประเทศไทย และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จัดการสัมมนาในหัวข้อ “โอกาสการค้าและการลงทุนในซูดาน” โดยผู้แทนจากหลายหน่วยงานที่เข้าร่วมได้เน้นย้ำความสำคัญและโอกาสของซูดานในหลายเรื่อง ที่สำคัญ ได้แก่ จุดยุทธศาสตร์ที่โดดเด่นของซูดาน ซึ่งสามารถเป็นประตูที่เชื่อมต่อไปถึงประเทศที่ไร้ทางออกสู่ทะเลในทวีปแอฟริกาถึง 4 ประเทศ ได้แก่ ชาด แอฟริกากลาง เอธิโอเปีย และซูดานใต้ นอกจากนี้ ซูดานยังตั้งอยู่อยู่ตรงข้ามกับซาอุดีอาระเบีย ประเทศซึ่งมีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอาหรับ และเป็นประเทศจุดหมายปลายทางสำหรับมุสลิมทั่งโลกที่ต้องเดินทางไปแสวงบุญที่นครเมกกะมากกว่า 15 ล้านคนต่อปี ซูดานจึงเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางด้านการค้าการลงทุนแห่งใหม่ที่น่าสนใจในทวีปแอฟริกา[su_spacer size=”20″]
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และการวางแผนเศรษฐกิจของซูดาน และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการลงทุนซูดาน กล่าวระหว่างการสัมมนาว่า ปัจจุบัน ซูดานได้เปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น และได้พัฒนาบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการค้าการลงทุนมากขึ้นตามลำดับ หลังจากที่สหรัฐฯ ได้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรจากที่มีมานานกว่า 20 ปี ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศของซูดานสามารถทำได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ ซูดานก็ยังได้ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนอีกด้วย โดยได้มีการจัดตั้งระบบ One stop shop ซึ่งรวมศูนย์การติดต่อกับหน่วยงานราชการเพื่อลดขั้นตอนการขอใบอนุญาตการทำธุรกิจ รวมถึงได้ร่างนโยบายและแผนกลยุทธการปฏิบัติงานที่เป็นรูปธรรมเพื่อกระตุ้นกระแสการลงทุน และขยายฐานการลงทุนผ่านเขตการลงทุนปลอดภาษีอากร (Free zone) ที่ตั้งเป้าหมายให้เกิดความร่วมมือระหว่างนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนท้องถิ่น[su_spacer size=”20″]
นอกเหนือจากข้อบังคับด้านการค้าการลงทุนต่าง ๆ ในซูดานที่ได้รับการผ่อนคลายลงแล้ว ซูดานก็ยังเร่งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้ดีขึ้นตามลำดับอีกด้วย โดยสำหรับการขนส่งทางถนน ซูดานมีแผนการลงทุนในถนนสายหลักของประเทศ เพื่อเพิ่มความยาวของถนนมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 2000-2008 และเพื่อเชื่อมต่อกับเมืองสำคัญของประเทศ ในส่วนการขนส่งทางอากาศ ซูดานมีความได้เปรียบอย่างมากในด้านการบินเนื่องจากตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางที่เชื่อมระหว่างภูมิภาคยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง อย่างไรก็ดี ต้นทุนด้านการบินของซูดานยังคงสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และยังคงประสบปัญหามาตรฐานความปลอดภัยทางการบิน สำหรับการขนส่งทางน้ำ ท่าเรือหลายแห่งในซูดานได้กลายเป็นท่าบรรจุตู้สินค้า (Feeder port)
ที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ จากการมีเที่ยวเรือสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งสังเกตได้จากกำไรที่เพิ่มขึ้นของกรมท่าเรือ (Port authority) ของซูดาน ทั้งนี้ ระบบการขนส่งดังกล่าวนี้เอื้อประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการนำเข้าส่งออกสินค้าระหว่างซูดานกับประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ[su_spacer size=”20″]
ในบทความตอนต่อไปเรื่อง “เปิดประตูสู่โอกาสการค้าและการลงทุนในซูดาน (ตอนจบ)” ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จะมาบอกเล่าถึงข้อมูลที่น่าสนใจของซูดานในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งในหลายประเภทของอุตสาหกรรมนั้น ผู้ประกอบการไทยมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก[su_spacer size=”20″]
ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ