หลังจากที่ชิลีได้ประกาศยกเลิกจัดการประชุมภาคีสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 25 หรือ COP 25 ที่กรุงซันติอาโก
เนื่องจากเหตุประท้วงภายในประเทศ สเปนก็อาสาจัดงานประชุมดังกล่าว ณ กรุงมาดริดระหว่างวันที่ 2-13 ธันวาคม ค.ศ. 2019
[su_spacer]
สเปนเป็นประเทศหนึ่งในโลกที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนมากที่สุด โดยเฉพาะต่ออุตสาหกรรม การเกษตรเนื่องจากเป็น “อู่ข้าวอู่น้ํา” ของยุโรป การแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งนโยบาย หลักของรัฐบาลสเปน
[su_spacer]
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีสเปนเพิ่งอนุมัติร่างแผนบูรณาการพลังงานและภูมิอากาศ แห่งชาติปี ค.ศ. 2021-2030 (Plan Nacional Integrado de Energia yCirma 2021-2030 หรือ PNIEC) และได้ เสนอแผนนี้ไปยังคณะกรรมาธิการยุโรป ในแผนดังกล่าวได้แสดงวิสัยทัศน์ไว้ว่าปี ค.ศ. 2030 ร้อยละ 42 ของพลังงานที่ใช้ในสเปน ต้องผลิตมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ร้อยละ 70 ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าต้องมาจากแหล่ง พลังงานหมุนเวียน และคาดว่าหากปฏิบัติตามแผนนี้จะเพิ่มช่วยประสิทธิภาพพลังงานถึงร้อยละ 39.6 และใน ขณะเดียวกันแผนนี้ก็เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยคาดว่าจะสร้างตําแหน่งงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ภายในปี ค.ศ. 2030
[su_spacer]
นอกจากนี้ รัฐบาลสเปนได้จัดทําร่างแผนกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Estrategia de Transicion Justa) ซึ่งขณะนี้กําลังอยู่ในช่วงรับฟังความคิดเห็น เป็นส่วนหนึ่งของแผน PNIEC และร่างกฎหมายว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Ley de Cambio Climatico) มีสาระสําคัญคือต้องการใช้ประเด็นเรื่องการเปลี่ยน ผ่านด้านสิ่งแวดล้อม (Transicion ecologica) ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างและพัฒนาตําแหน่งงาน รวมทั้งสร้าง ความเป็นธรรมต่อลูกจ้างและเขตพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากกระบวนการเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
[su_spacer]
“การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม” เป็นนโยบายหลักของสเปนที่ได้มีการนําเสนอในการประชุม COP 24 ที่ประเทศโปแลนด์ โดยนายกรัฐมนตรีสเป็นในขณะนั้น ได้ให้จัดทําพันธะสัญญาและลงนามในปฏิญญาซิเลเซีย ว่าด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ซึ่งการที่สเปนอาสารับเป็นสถานที่จัดงานประชุม สุดยอด COP 25 ครั้งนี้ ก็เป็นการเน้นย้ําความสําคัญและท่าที่ของรัฐบาลเรื่องการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
[su_spacer]
พลังงานหมุนเวียนเป็นหนึ่งมาตรการสําคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสเปน และเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยสเปนเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพลังงาน หมุนเวียนที่หลากหลาย หากเจาะลึกเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell หรือ Solar Photovoltaics) สเปนมีจํานวนการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์มากเป็นอันดับที่ 5 ของยุโรป รวม 5.6 ก็กะวัตต์หรือ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.9 ของภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีการติดตั้งเทคโนโลยีเพื่อผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (Solar Thermal Electricity: STE) มากที่สุดในโลก รวม 2.87 กิกะวัตต์ และที่สําคัญร้อยละ 78 ของโครงการผลิตไฟฟ้า ความร้อนจากแสงอาทิตย์ของโลกดําเนินการโดยบริษัทสเปน ทั้งนี้ บริษัทสเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีชื่อเสียงและมีผลงานในต่างประเทศ อาทิ บริษัท Isolux Corsan บริษัท Abengoa บริษัท Grupo Cobra บริษัท Acciona Energia บริษัท เberdrola บริษัท Elecnor บริษัท Grupo Ortiz และบริษัท Tsk
[su_spacer]
บริษัท lberdrola หนึ่งในบริษัทสเปนที่มีชื่อเสียงในสาขาพลังงานหมุนเวียนและ ได้มีส่วนร่วมในการดําเนินการด้านความยั่งยืนและรับมือปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการประชุมสุด ยอต COP ในปีก่อน ๆ
[su_spacer]
lberdrola S.A. ทําธุรกิจผลิตและจัดจําหน่ายพลังงานไฟฟ้าทั้งในสเปนและต่างประเทศ อาทิ สหรัฐ สหราชอาณาจักร บราซิล เม็กซิโก เป็นต้น) เป็นบริษัทที่มีความสําคัญระดับโลก โดยมีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูงที่สุดในโลก อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตพลังงานลมอันดับหนึ่งของโลกอีกด้วย ปัจจุบัน มีสินทรัพย์ มากกว่า 113,000 ล้าน ยูโร โดยในปี 2018 มีผลประกอบการ 35,075.9 ล้านยูโร (ขยายตัวร้อยละ 12.2 เมื่อ เปรียบเทียบกับปี 2017) เป็นผู้ผลิตและจัดจําหน่ายไฟฟ้าให้แก่ประชากรกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก เป็นแหล่งจ้างงาน 34,000 ตําแหน่ง และสร้างงาน 425,000 ตําแหน่งเมื่อนับรวมตําแหน่งงานทางตรง ทางอ้อมและธุรกิจปลายน้ำ
[su_spacer]
lberdrola เป็นผู้นําด้านการเปลี่ยนผ่านระบบพลังงาน โดยมุ่งสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยลงทุนด้าน พลังงานหมุนเวียน Smart network เพื่อการจัดเก็บพลังงานเป็นจํานวนมาก และการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล เพื่อนําเสนอผลิตภัณฑ์และสินค้าที่ใช้พลังงานสะอาด ทําให้เป็นหนึ่งในบริษัทที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยที่สุด และมีชื่อเสียงในระดับโลกเรื่องการมีส่วนร่วมในการดําเนินการด้านความยั่งยืนและรับมือปัญหาการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ โดยบริษัทตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนร้อยละ 50 ในปี ค.ศ. 2030 เมื่อเปรียบเทียบกับ ระดับก๊าซคาร์บอนเมื่อปี ค.ศ. 2007 และต้องการมีค่าความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2050
[su_spacer]
ด้านธุรกิจ lberdrola แบ่งสาขาธุรกิจออกเป็น 3 สาขาใหญ่ได้เป็น 1) พลังงานหมุนเวียน 2) ธุรกิจเครือข่าย กระแสไฟฟ้า และ 3) ธุรกิจขายส่งและขายปลีกพลังงานไฟฟ้า โดยหากเจาะลึกในส่วนของพลังงานหมุนเวียน Iberdrola เป็นผู้นําด้านพลังงานสะอาด โดยมีบริษัท! berdrola Renovables Energia บริษัท ScottishPower Renewable Energy บริษัท Avangrid Renewables และบริษัท Iberdrola Renovables México เป็นผู้ผลิตและ จัดจําหน่ายพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจากหลายแหล่ง ทั้งพลังงานลมบนแผ่นดิน พลังงานลมจากทะเล พลังงานน้ํา พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์และพลังงานชีวภาพ เป็นต้น
[su_spacer]
การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นหนึ่งนโยบายสําคัญของบริษัทในการรับมือกับปัญหาการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริษัทได้เข้าไปมีบทบาทในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์หลายแห่ง เช่น โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ Santiago ที่รัฐ San Luis Poto5i ประเทศเม็กซิโก ที่มีขนาดกําลังการผลิตติดตั้ง 170 เมกะวัตต์ หรือโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ Hermosilo ขนาด 100 เมกะวัตต์ที่รัฐ Sonora เม็กซิโก ซึ่งโรงไฟฟ้า ทั้งสองแห่งนี้เพิ่งเริ่มใช้งานไปเมื่อปี ค.ศ. 2018 แต่ความมุ่งมั่นและความพยายามของบริษัทไม่หยุดเพียงแค่นี้ ปัจจุบันบริษัทกําลังก่อสร้างโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ Nunez de Balboa ขนาด 500 เมกะวัตต์ ที่จังหวัด Badajoz ทางทิศตะวันตกของสเปน นับเป็นโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และมีกําหนดเริ่มใช้งานในปีค.ศ. 2020
[su_spacer]
ล่าสุดในปี ค.ศ. 2019 บริษัทเปิดเผยว่าจะดําเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ Francisco Pizarro ขนาด 590 เมกะวัตต์ ณ จังหวัด Caceres ทางทิศตะวันตกของสเปน บนพื้นที่กว่า 1,300 เฮกเตอร์ ด้วยงบลงทุน กว่า 300 ล้านยูโรที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรป (EIB) และสถาบันเครดิตสเปน (Instituto de Credito Oficial – ICO) ซึ่งเมื่อโครงการ Francisco Pizarro สร้างแล้วเสร็จจะกลายเป็นโรงไฟฟ้าเซลล์ แสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและเป็นโครงการโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดที่บริษัทดําเนินการมา คาดว่า จะเริ่มใช้งานได้ในปี ค.ศ. 2022 โดยจะสามารถผลิตและจัดจําหน่ายพลังงานสะอาดให้แก่ประชากรกว่า 3.75 แสน คน/ปี รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศได้กว่า 2.45 แสนตัน/ปี อันเป็นการเน้นย้ําบทบาท และพันธสัญญาของบริษัทในการรักษาสภาพแวดล้อมและลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
[su_spacer]
ในสเปน Iberdrola มีกําลังผลิตติดตั้งจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนกว่า 15,790 เมกะวัตต์ (5,370 เมกะวัตต์ มาจากแหล่งพลังงานลม) และ 30,000 เมกะวัตต์ทั่วโลก บริษัทให้ความสําคัญกับสิ่งแวดล้อมและมุ่งมั่นต่อ Decarbonization of economy โดยที่ผ่านมาบริษัทสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในยุโรปได้ร้อยละ 75 จากระดับเมื่อปี ค.ศ. 2000
[su_spacer]
บริษัท Iberdrola สนใจเข้ามาลงทุนและทําธุรกิจในไทยเนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจของไทย โดยผู้แทนของบริษัทได้เดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อศึกษาเจาะลึกสู่ทาง การค้าในไทย โดยเข้าร่วมซมงานแสดงสินค้าด้านพลังงานทดแทนเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ขณะที่ในส่วนของรัฐบาล ไทยเอง คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ก็เพิ่งมีมติให้มีโครงการพลังงานแสงอาทิตย์โซสาร์ภาค ประชาชนปีละ 100 เมกะวัตต์ เริ่มปี ค.ศ. 2019 และต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลา 10 ปี การใช้เทคโนโลยีของบริษัทชั้นนํา lberdrola ในการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์น่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ และอาจช่วยให้ไทยมีศักยภาพ ในการผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียนมากยิ่งขึ้นและในขณะเดียวกันก็เป็นมาตรการรักษาสภาพแวดล้อมและลดปัญหา โลกร้อนของประเทศได้
[su_spacer]
การนําพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์จึงเป็นหนึ่งตัวอย่างของการรับมือกับปัญหาการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในแบบของสเปน สําหรับผู้สนใจเทคโนโลยีเรื่องพลังงาน ทดแทน สเปนจะจัดงานแสดงสินค้า GENERA 2020 Energy and Environment International Trade Fair ครั้งถัดไปในวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ณ กรุงมาดริด ภายใต้สโลแกน “INTEGRATING ENERGIES FOR A SUSTAINABLE FUTURE” (https://www.ifema.es/en/genera)
[su_spacer]
ที่มา
http://www.thaiembassy.org/madrid/