รัฐบาลแอฟริกาใต้ปรับลดระดับมาตรการ Lockdown ของแอฟริกาใต้เป็นระดับ 2 จากระดับสูงสุด 5ตั้งแต่วันที่ 18 ส.ค. 2563 ซึ่งส่งผลกระทบให้ภาคธุรกิจแอฟริกาใต้เปิดทำการได้เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ ธนาคารกลาง แอฟริกาใต้ (South African Reserve Bank – SARB) ปรับลดอัตราดอกเบื้ยเหลือร้อยละ 3.5 เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2563 และได้ออกแถลงการณ์ปรับลดดอกเบี้ยกู้ยืมเงินธนาคาร (repo rate) ลงอีก 50 จุด เหลือร้อยละ 3.5 หลังจากที่ได้ปรับลดมาแล้วสองครั้งเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2563 และ 14 เม.ย. 2563 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในประวัติการณ์ของแอฟริกาใต้ SARB คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจแอฟริกาใต้หดตัวร้อยละ 7.3 หดตัวมากกว่าการคาดการณ์ของกระทรวงการคลังของแอฟริกาใต้ที่ร้อยละ 7.2 และเห็นว่าแม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown แต่ภาพรวมของการค้าและการลงทุนของแอฟริกาจะยังคงลดลงอย่างรุนแรงในปีนี้
[su_spacer]
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund – IMF) อนุมัติเงินกู้ฉุกเฉิน 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐให้แอฟริกาใต้เพื่อเตรียมรับผลกระทบของ COVID-19 เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2563 และได้ออกแถลงการณ์ว่าได้อนุมัติเงินกู้ฉุกเฉิน (Rapid Financing Instrument – RFI) ให้กับแอฟริกาใต้เป็นเงินจำนวน 4,286.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นทั้งหมดของโควตาของแอฟริกาใต้ภายใต้กลไกดังกล่าว โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหา balance of payment เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในแอฟริกาใต้และช่วยสนับสนุนมาตรการอื่น ๆ ของแอฟริกาใต้ในการรับมือกับโรคระบาด ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาค Sub-Saharan Africa แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่กู้ยืมด้วยกลไก RFI ในจำนวนที่สูงสุด (4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยรองลงมาเป็นไนจีเรีย (3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และกานา (1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
[su_spacer]
หน่วยงานสถิติแอฟริกาใต้ (Statistics South Africa – Stats SA) แถลงสถิติสำคัญ เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2563 Stats SA ได้แถลงตัวเลข GDP ของแอฟริกาใต้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 หดตัวลงร้อยละ 2 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงก่อนหน้าการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และก่อนการดำเนินมาตรการ Lockdown ของแอฟริกาใต้ โดยเป็นการปรับลดต่อเนื่องจากตัวเลขเมื่อไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2562 ที่ GDP ของแอฟริกาใต้หดตัวร้อยละ 1.4 และ 0.8 ตามลำดับ ทั้งนี้ Stats SA ยังได้เผยตัวเลขผลกระทบต่อภาคธุรกิจโรงแรมที่พักในแอฟริกาใต้โดยรายได้ของธุรกิจโรงแรมฯ ลดลงร้อยละ 98.5 ในเดือน พ.ค. 2563 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และเมื่อพิจารณาในระยะ 3 เดือน (มี.ค. – พ.ค. 2563) พบว่ารายได้ของธุรกิจโรงแรมฯ ลดลงร้อยละ 77 เมื่อเทียบกับ1 ปีก่อนหน้า และในด้านของสถิติการจ้างงานรายไตรมาสนั้น ข้อมูลทางสถิติได้แสดงให้เห็นว่าในช่วงเดือน ธ.ค. 2562 – มี.ค. 2563 ได้มีการเลิกจ้างงาน 37,000 ตำแหน่ง เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และรายได้ของแรงงานโดยรวมลดลงร้อยละ 0.6 โดยสะท้อนให้เห็นถึงการลดลงของเงินเดือนในทุกภาคส่วน (ยกเว้นธุรกิจเหมืองแร่) ทั้งนี้ อัตราการว่างงานยังคงอยู่ที่ร้อยละ 30.1 ในไตรมาสแรก
[su_spacer]
UNDP แถลงผลการศึกษาผลกระทบของ COVID-19 ต่อแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2563 UNDP แอฟริกาใต้ได้แถลงผลการศึกษาถึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมจาก COVID-19 ในแอฟริกาใต้โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจแอฟริกาใต้จะหดตัวร้อยละ 5.1 ถึง 7.9 ในปี 2563 และคาดว่าจะใช้ เวลา 5 ปีเพื่อให้เศรษฐกิจแอฟริกาใต้จะสามารถฟื้นตัวกลับมาอยู่ในสภาพก่อนการระบาดของ COVID-19 (รายงานฉบับเต็มเข้าถึงได้ที่ https://bit.ly/2YDZLjq) ผลการศึกษายังคาดว่าร้อยละ 54 ของครัวเรือนที่ตกงานหรืออาศัยงานชั่วคราวเป็นรายได้หลักจะตกอยู่ในสภาวะยากไร้หลังมาตรการสนับสนุนของรัฐบาลหมดลงในช่วงเวลา 6 เดือน และคาดว่าจะมีครัวเรือนกว่าร้อยละ 34 ที่จะกลายสภาพจากชนชั้นกลาง (middle-class) ไปสู่กลุ่มครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ (vulnerable) และคาดว่าภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจสิ่งทอ การศึกษา ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ เครื่องแก้ว รองเท้า และภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางจะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด
[su_spacer]
การคาดการณ์ผลกระทบจาก COVID-19 จากภาคเอกชนกลุ่มนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์ของแอฟริกาใต้ 30 คนจาก ม. ชั้นนำในแอฟริกาใต้ได้ทำการสำรวจภายใต้ชื่อกลุ่ม National Income Dynamics Study (NIDS) Coronavirus Rapid Mobile Survey (CRAM) โดยสรุปสาระสำคัญของผลการสำรวจในช่วงเดือน ก.พ. – เม.ย. 2563 ได้ดังนี้ จากกลุ่มประชากรที่สำรวจเดิมคาดว่ามีคนตกงานเพิ่มขึ้น 3 ล้านคน โดยจากกลุ่มประชากรที่สำรวจ พบว่ามีประชากรที่มีงานทำอยู่ที่ 14 ล้านคน จากเดิมที่ 17 ล้านคนเมื่อเดือน ก.ย. 2563 และผู้นำรายได้เข้าครัวเรือน 1 ใน 3 ไม่มีรายได้ในช่วงเดือน เม.ย. 2563 นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบในแง่สังคมโดยจากประชากรที่ส รวจพบว่ากว่าร้อยละ 47 ประสบภาวะไม่มีเงินซื้ออาหารเพียงพอในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นจากตัวเลขเดิมที่ร้อยละ 21 ในปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ประชากรส่วนใหญ่ที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังก็ไม่สามารถพบแพทย์ได้ในช่วงเวลาดังกล่าว และผลการวิจัยโดยบริษัทวิจัย Capital Economics พบว่า COVID-19 ได้ส่งผลกระทบระยะยาวต่อเศรษฐกิจแอฟริกาโดยธุรกิจร้อยละ 10 ได้เลิกกิจการไปในช่วงเดือน เม.ย. 2563 และแรงงานร้อยละ 14 ตกงานภายในกลางเดือน พ.ค. 2563 รวมถึงคาดว่า GDP แอฟริกาจะหดตัวร้อยละ 11 ก่อนที่จะขยับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ภายในสิ้นปี 2564 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ GDP ของปี 2562 ร้อยละ 6 ทั้งนี้ จากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index – CCI) โดย FNB/BER (Bureau for Economic Research) พบว่า CCI ในไตรมาสที่ 2 ลดต่ำลงมาอยู่ที่ระดับ -33 จากเดิมที่ -9 ในช่วงไตรมาสแรกของปี นอกจากนี้ จากผลการสำรวจของ BER ยังพบว่า Manufacturing Output ลดลง 16.3 ปีต่อปี ในขณะที่Retail sales ประจำเดือน มิ.ย. ลดลงร้อยละ 7.5 ปีต่อปี
[su_spacer]
นอกจากนี้ นาย John Cairns นักวิเคราะห์ Global Market Strategist ธนาคาร Rand Merchant Bank (RMB) ได้ให้ความเห็นว่าแม้ว่าเงินแรนด์จะมีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจ แต่ก็มักจะฟื้นตัวกลับมาสู่สภาวะเดิมได้เสมอ เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจแอฟริกา โดยคาดว่าเงินแรนด์จะกลับมาสู่อัตราแลกเปลี่ยนระดับปกติที่ประมาณ 15 แรนด์/1 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงสิ้นปี 2563 สถานะของตลาดหุ้น Johannesburg Stock Exchange (JSE) เมื่อเดือน ก.ค. 2563 ในภาพรวมยังคงอยู่ในระดับที่สูงและได้กลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนหน้าการระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายละเอียดแล้วจะพบว่าหุ้นที่ราคาขึ้นส่วนใหญ่เป็นหุ้นในกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี อาทิ Prosus และ Naspers ซึ่งนับเป็นมูลค่าร้อยละ 35 ของตลาดทั้งหมด รวมถึงหุ้นในกลุ่มบริษัทค้าทอง อาทิ Goldfields AngloGold และ Sibanye-Stillwater ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 120 ร้อยละ 55 และร้อยละ 36 ตามลำดับ โดยหากไม่รวมหุ้นกลุ่มนี้จะ พบว่าธุรกิจส่วนใหญ่ อาทิ ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจธนาคารมีมูลค่าลดลงตั้งแต่ร้อยละ 40 ถึงร้อยละ 60 นอกจากนี้ ผลการสำรวจของ Swiss Private Bank Lombard Odier & Co. พบว่า เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2563 จากการเก็บข้อมูล big data จากข้อมูลต่าง ๆ พบว่าเศรษฐกิจแอฟริกาได้กลับมาสู่ระดับกว่าร้อยละ 77 ของสภาพเศรษฐกิจก่อนหน้าการระบาดของ COVID-19 แล้ว
[su_spacer]
ผลกระทบต่อธุรกิจไทย เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2563 ในระหว่างการเดินทางไปจัดกงสุลสัญจรที่เมืองเคปทาวน์ ระหว่างวันที่ 28 – 30 ส.ค. 2563 เอกอัครราชทูตได้มีโอกาสหารือกับคุณชัยพร เล็กเจริญสุข เจ้าของ franchise อาหารไทย Simply Asia ที่มีสาขากว่า 60 สาขาทั่วแอฟริกาใต้เพื่อหารือเรื่องผลกระทบของ COVID-19 ต่อธุรกิจฯ โดยคุณชัยพรฯ ได้แจ้งว่าธุรกิจของ Simply Asia ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม Simply Asia ได้ปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างรวดเร็ว โดยมุ่งเน้นการขายสินค้าแบบ Take Away ทันทีที่ รบรัฐบาลแอฟริกาใต้อนุญาตให้เปิด ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจได้มีผลประกอบการที่อยู่ในระดับดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตยังได้มีโอกาสหารือกับผู้แทนชาวไทยจัดจำหน่ายสินค้าของเครือ CP ที่ประจำที่เมืองเคปทาวน์ โดยพบว่าธุรกิจนำเข้าสินค้าในเครือของ CP อาทิ ไก่สด ได้รับผลกระทบในช่วง Lockdown ในระยะแรก อย่างไรก็ตาม ในช่วงปัจจุบัน ได้เริ่มกลับมามีความต้องการสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้นแล้ว
[su_spacer]
ผลกระทบทางด้านการเมืองประเด็นเรื่องการทุจริตในการดำเนินโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบของ COVID-19 ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญทางการเมืองแอฟริกาใต้และส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและนาย Cyril Ramaphosa ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้โดยตรง โดยนาย Ramaphosa ได้ออกแถลงการณ์ถึงสมาชิกพรรค African National Congress (ANC) เพื่อเน้นย้ำเจตนารมณ์ของพรรคในการต่อต้านการทุจริต และได้มอบหมายให้นาย Ronald Ramola รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้ดูแลการแก้ไขปัญหาทุจริตในการดำเนินโครงการจัดหาอุปกรณ์บรรเทาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในแอฟริกาใต้ ทั้งนี้ พรรคฝ่ายค้าน Democratic Alliance (DA) ยังคงท่าทีในการไม่เห็นด้วยกับการคงมาตรการ Lockdown โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยเห็นว่าควรยกเลิกมาตรการ Lockdown ทั้งหมดได้แล้ว สำหรับด้านพรรคฝ่ายค้านซ้ายจัด Economic Freedom Fighters (EFF) ฝ่ายค้านก็ยังคงท่าทีในการไม่เห็นด้วยกับการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown โดยเห็นว่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับประชาชน
[su_spacer]
แม้ว่าการประเมินความสำเร็จของมาตรการบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 ของรัฐบาลแอฟริกายังไม่สามารถเห็นผลได้ชัดเจน แต่จากการรายงานข่าวเห็นได้ชัดว่ามาตรการดังกล่าวยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยนอกเหนือจากปัญหาการทุจริตการทำสัญญาจัดหา Personal Protective Equipment (PPE) ที่ผู้แทนพรรค การเมืองของพรรครัฐบาลเกี่ยวข้องแล้ว การดำเนินการแจกจ่ายเม็ดเงินและมาตรการสนับสนุนธุรกิจแอฟริกาที่ได้รับผลกระทบก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยจากการคาดการณ์ของสื่อมวลชนคาดว่าจากจำนวนงบประมาณที่ได้จัดเตรียมไว้เพื่อสนับสนุนธุรกิจแอฟริกาใต้ได้มีการแจกจ่ายงบประมาณไปถึงภาคธุรกิจต่าง ๆ เพียงแค่ร้อยละ 40 เท่านั้น โดยหนึ่งในปัญหาหลักที่ภาคธุรกิจได้แสดงความคิดเห็นไว้คือภาคธนาคารยังคงมาตรฐานสูงในการพิจารณาอนุมัติเงินกู้และเงินสนับสนุน ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจที่มีความเสี่ยงจาก COVID-19 มากที่สุดยังคงไม่สามารถเข้าถึงเม็ดเงินสนับสนุนได้เช่นเดิม
[su_spacer]
ปัญหาทั้งหมดของแอฟริกาใต้ย้อนมาสู่ประเด็นสำคัญคือวัฒนธรรมการทุจริตที่แพร่หลายในทุกระดับของรัฐบาลและท้องถิ่น และยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยจะเห็นได้จากการที่มีผู้เกี่ยวข้องกับการทุจริตจำนวน มากที่ผูกโยงกับพรรคการเมืองรัฐบาล (ANC) นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญอีกหนึ่งประเด็นคือความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลท้องถิ่นในระดับมลรัฐ ที่ยังไม่สามารถให้บริการในระดับพื้นฐาน (service delivery) ได้ ซึ่งทำให้มาตรการของแอฟริกาใต้ในการรับมือกับผลกระทบของ COVID-19 ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร รัฐบาลยังคงไม่มีแนวทางชัดเจนในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาเป็นพื้นฐานเดิม และรัฐบาลจะต้องรับภาระหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจากการดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 และเงินกู้ยืมจาก IMF โดยหากรัฐบาลยังไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาการทุจริต โดยมีการลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตอย่างจริงจังเพื่อเป็นตัวอย่าง เชื่อได้ว่าภาคธุรกิจในอฟริกาใต้รวมถึงธุรกิจนอกแอฟริกาใต้จะ ยังคงมีความกังวลในการลงทุนในแอฟริกาใต้ในระยะยาว
[su_spacer]
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาลจะสูญเสียความเชื่อมั่นจากประชาชนเนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ในด้านเศรษฐกิจแต่โดยที่พรรคฝ่ายค้านยังคงไม่สามารถดึงคะแนนเสียงจากพรรครัฐบาลได้ เนื่องจากปัญหาของพรรคฝ่ายค้านเอง โดยพรรค DA ยังคงไม่สามารถแก้ไขปัญหาในการดึงดูดคะแนนเสียงจากคนผิวดำและพรรค EFF ยังคงมีปัญหาเรื่องการเกี่ยวข้องกับการทุจริตของสมาชิกพรรค จึงเชื่อได้ว่ารัฐบาลแอฟริกาใต้จะยังคงมีความมั่นคงไปในระยะใกล้นี้ โดยรวมแม้ว่าแอฟริกาใต้จะคงประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนักขึ้นจาก COVID-19 แต่เมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาคแอฟริกาใต้ยังได้เปรียบในแง่พื้นฐานทางเศรษฐกิจและความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
[su_spacer]