แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของทวีปแอฟริกา แต่มีความหลากหลายและซับซ้อนมากที่สุด นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของสํานักงานภูมิภาคของบริษัทนานาชาติขนาดใหญ่จํานวนมาก เนื่องจากมีเสถียรภาพทางการเมือง มีตุลาการที่เป็นอิสระ มีระบบกฎหมายด้านการค้าการลงทุนที่มีมาตรฐานสากล มีระบบการเงินที่เข้มแข็ง และมีบริษัทท้องถิ่นที่มีประสบการณ์ โดยที่ผ่านมา มูลค่าการค้าไทย – แอฟริกาใต้ อยู่ที่ 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วนมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในแอฟริกา อย่างไรก็ดี จากการศึกษาพบว่าทั้งไทยและแอฟริกาใต้ยังมีการลงทุนระหว่างกันค่อนข้างน้อยและในสาขาที่จํากัด
โดยการศึกษาข้อมูลดังกล่าว สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย ได้ตั้งเป้าหมายในการศึกษาสาขาที่ไทยน่าจะมีความเชี่ยวชาญและเป็นโอกาส ได้แก่ การเกษตรขนาดใหญ่ เหมืองแร่ (โดยเฉพาะแร่แห่งอนาคต) อาหารทะเล และอสังหาริมทรัพย์ โดยจากการศึกษาพบว่า สาขาเหล่านี้มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง การเกษตร (ร้อยละ 7.9) เหมืองแร่ (ร้อยละ 7.3) อาหารทะเล (ร้อยละ 3.3) แต่อสังหาริมทรัพย์มีอัตราหดตัว (ร้อยละ 4.2) ทั้งนี้ เป็นเพราะเศรษฐกิจช่วง โควิดที่ทําให้ชาวแอฟริกาใต้ มีกําลังซื้อ/เช่า อสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง
ในด้านการลงทุนในแอฟริกาใต้จําเป็นต้องตระหนักถึงค่าใช้จ่ายแฝงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การใช้จ่ายเพื่อจัดหาเครื่องสํารองไฟฟ้าและน้ํามัน และ/หรือ โซลาร์เซลส์ เนื่องจากปัญหาขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า อัตราการ ว่างงานที่สูงมาก โดยเฉพาะในหมู่เยาวชน อีกทั้งยังมีเรื่้องความไม่เท่าเทียมและความยากจน ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของแรงงาน ประสิทธิภาพการทํางาน คอรัปชั่น อาชญากรรม การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ทั่วถึง โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ได้รับการบํารุงรักษา และบริการภาครัฐที่ไม่ครอบคลุม เป็นต้น
โอกาสของนักลงทุนไทยในแอฟริกาใต้
- แอฟริกาใต้ เป็นประตูการค้าการลงทุนของภูมิภาคแอฟริกาผ่านกรอบ African Continental Free Trade Area (AfCFTA) ขณะเดียวกัน แอฟริกาใต้ ยังมี FTA กับภูมิภาคอื่นด้วย เช่น ยุโรป อเมริกา เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่ง ส่งออกสําคัญของสินค้าที่ผลิต/ประกอบใน แอฟริกาใต้
- ประชากรรายได้ปานกลางขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเมืองต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้มีหน้าที่การงานที่ดีและมีกําลังซื้อที่เพิ่มขึ้น
- ระเบียบการค้าการลงทุนมีความใกล้เคียงกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
- มีบริษัทท้องถิ่นจํานวนมากที่มีประสบการณ์ ซึ่งเหมาะกับการลงทุนร่วมในลักษณะ joint venture
- มุมมองต่อการทําธุรกกิจกับบริษัทไทยค่อนข้างดี
ความท้าทายของนักลงทุนไทยในแอฟริกาใต้
ในช่วงที่ผ่านมาแอฟริกาใต้พบกับอัตราเงินเฟ้อสูง อัตราการว่างงานสูง อัตราดอกเบี้ยสูง การใช้จ่ายในครัวเรือนลดลง และสกุลเงินแรนด์ที่อ่อนแออย่างต่อเนื่อง การแข่งขันที่สูงในทุกอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ทั้งจากบริษัทท้องถิ่นและบริษัทต่างชาติ การควบกิจการหรือเข้าซื้อกิจการโดยต่างชาติในแอฟริกาใต้ ได้รับการเพ่งเล็งเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในประเด็นการจ้างงาน และผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท้องถิ่น โดยหลายบริษัทประสบปัญหาการจ้างพนักงานที่มีทักษะเหมาะสม/เพียงพอ เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่ที่มีทักษะต่างเดินทางไปทํางานในต่างประเทศ ขณะที่ในประเทศการพัฒนาทักษะแรงงานยังไม่ทันท่วงทีต่อการเติบโตของความต้องการแรงงานจากบริษัทต่างชาติในแอฟริกาใต้ นอกจากนั้น ทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่ไม่ได้รับการบํารุงรักษาอย่างที่ควร ส่งผลต่อการดําเนินงานและการบริหารธุรกิจของภาคเอกชน
กฎหมายคุ้มครองการลงทุน
The Promotion and Protection of Investment Act เป็น พรบ. ของ แอฟริกาใต้ที่ใช้คุ้มครองการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกับนักลงทุนแอฟริกาใต้ อย่างไรก็ดี ในบางสาขาที่เป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เช่น เหมืองแร่ พลังงาน ธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศ และกลาโหม มีการกําหนดอัตราส่วนของการเป็นเจ้าของของต่างชาติ โดยคณะกรรมการ Companies and Intellectual Property Commission และศาลบริษัท (Company Tribunal) เป็นผู้ควบคุมข้อพิพาทด้านการค้าการลงทุนในแอฟริกาใต้
ที่ผ่านมา การส่งเงินเข้าออกในแอฟริกาใต้ จะต้องได้รับการอนุญาตจาก South African Reserve Bank ก่อน แต่ปัจจุบันกระทรวงการคลังแอฟริกาใต้เริ่มมีการผ่อนปรนเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการลงทุนมากขึ้น โดยการลงทุนจัดตั้งบริษัทในแอฟริกาใต้จําเป็นที่จะต้องตระหนักถึง พรบ. Broad Based Black Economic Empowerment (BBB-EE) ซึ่งเป็นกฎหมายกําหนดสัดส่วนอัตราการจ้างงานคนท้องถิ่นกับการจ้างงานคนต่างชาติ แต่ละบริษัทจําเป็นต้องดําเนินการตามเงื่อนไขและสัดส่วนการจ้างงานที่ถูกกําหนดไว้ ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามจะมีผลต่อการได้รับความช่วยเหลือ สิทธิประโยชน์ และข้อตกลงทางการค้ากับภาครัฐแอฟริกาใต้
มุมมองของภาคเอกชนแอฟริกาใต้ต่อไทย
ผู้เล่นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ สนใจที่ทําธุรกิจร่วมกับบริษัทไทย ซึ่งบางส่วนเคยค้าขายกับบริษัทไทยแล้ว และมีความประทับใจ เนื่องจากการบริการ การประสานงาน รวมถึงคุณภาพสินค้าที่ทำให้รู้สึกดี ทั้งนี้ โดยที่บริษัทไทยยังลงทุนในแอฟริกาใต้น้อย และในบางสาขาที่จํากัดเท่านั้น จึงทําให้บริษัทส่วนมากยังไม่รู้จักและไม่คุ้นเคยกับสินค้าและบริษัทไทยเท่าที่ควร
สาขาการเกษตร
แนวโน้มการทําเกษตรที่ทํากําไรในแอฟริกาใต้ ได้แก่ ฟาร์ม Citrus อโวคาโด ไร่ไวน์ แมคคาเดเมีย ฟาร์มสัตว์ป่าอุตสาหกรรมเนื้อไก่ เนื้อวัว และฟาร์มผักผลไม้ โดยความท้าทายหลักของการทําเกษตรในแอฟริกาใต้ คือ สภาพอากาศที่แห้งแล้งในบางพื้นที่ การปฏิรูปที่ดิน เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่จํากัดในบางพื้นที่ โดยมูลค่าการผลิตของภาคการเกษตรอยู่ที่ประมาณ 23,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีพืชที่สําคัญ ได้แก่ อ้อย ข้าวโพด หัวหอม องุ่น เลมอนและมะนาว ถั่วเหลือง แอปเปิ้ล มะเล็ดทานตะวัน ส้ม ธัญพืช แพร์ กล้วย มะเขือเทศ มันฝรั่ง เกรปฟรุ๊ต ฟังทอง บาร์เลย์ แครอท เป็นต้น โดยคาดว่าอุตสาหกรรมการเกษตรจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกกว่าประมาณร้อยละ 57 (ระยะ 5 ปี) โดยอุตสาหกรรมฟาร์มไก่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 80 ระยะ 5 ปี) โดยคํานึงว่าการบริโภคเนื้อไก่คิดเป็นร้อยละ 56 ของเนื้อสัตว์ที่ชาวแอฟริกาใต้บริโภค โดยอุตสาหกรรมนี้มีผู้ผลิตรายใหญ่จํานวนไม่มากที่ครองตลาดในปัจจุบัน (RCL Foods และ Astral Foods มีผลผลิตกว่าร้อยละ 50 ของท้องตลาด)
โอกาสของนักลงทุนไทยในสาขาการเกษตรในแอฟริกาใต้
อุตสาหกรรมการเกษตรแอฟริกาใต้มีความเข้มแข็งและมีประสบการณ์ ดังนั้น การร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นในขั้นต้นจึงมีความจําเป็น อีกทั้ง ในด้านเกษตรอินทรีย์ การกักเก็บน้ํา การปรับปรุงเทคโนโลยีการเกษตร และพลังงาน ทดแทน มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแอฟริกาใต้ได้เปรียบในการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังตลาดที่มีกําลังซื้อสูง เนื่องจากมี FTA ซึ่งหากบริษัทไทยต้องการลงทุนก็อาจมองถึงการส่งออกไปยังตลาดเหล่านี้ด้วย
ความท้าทายของนักลงทุนไทยในสาขาการเกษตรในแอฟริกาใต้
- อุตสาหกรรมการเกษตรของแอฟริกาใต้มีการแข่งขันสูงมาก จึงไม่เหมาะกับบริษัทไทยขนาดเล็กที่ ต้องการลงทุน เนื่องจากอาจไม่สามารถสู้ราคาของตลาดได้
- โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของแอฟริกาใต้ ประสบปัญหาขาดประสิทธิภาพอย่างหนัก ซึ่งจะส่งผลต่อการบริหารจัดการกระจายสินค้าทั้งในประเทศและสําหรับการส่งออก ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมการเกษตรของ แอฟริกาใต้ พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก
- แรงงานท้องถิ่นยังขาดทักษะ ซึ่งทําให้บริษัทต้องลงทุนเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะให้สอดคล้องกับ การเกษตรสมัยใหม่
สาขาอาหารทะเล
แอฟริกาใต้ เป็นประเทศที่มีชายฝั่งทะเลกว่า 3,000 กม. อุดมไปด้วยทรัพยากรทางทะเล โดยอุตสาหกรรมอาหารทะเลสดของแอฟริกาใต้ มีมูลค่ากว่า 13,822 ล้านแรนด์ เน้นปลาเฮค ปลาหมึก แอนโชวี ซาร์ดีน ปลาทู ปลาทูน่า ปลาสนุก ล็อบสเตอร์ และหอยเป๋าฮือ ขณะที่อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง มีมูลค่า 20,299 ล้านแรนด์
มีการประเมินว่า อุตสาหกรรมอาหารทะเลสดจะโตขึ้นอีกกว่าร้อยละ 70 ในระยะ 5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะใน ส่วนอาหารทะเลกระป๋อง เช่น ปลาซาร์ดีนกระป๋อง ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ชาวแอฟริกาใต้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเก็บไว้ได้นานและราคาถูก เมื่อเทียบกับการซื้อเนื้อสัตว์อื่นๆ โดยอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องจะโตขึ้นอีกกว่าร้อยละ 61 ในระยะ 5 ปี
โอกาสของนักลงทุนไทยในสาขาอาหารทะเลในแอฟริกาใต้
ความต้องการอาหารทะเลทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในส่วนปลากระป๋อง ซึ่งได้รับความนิยมในหมู่ชาวแอฟริกา การลงทุนในสาขานี้จึงจําเป็นต้องเข้าซื้อหรือร่วมทุนกับกิจการท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงในตลาดอยู่แล้ว เนื่องจาก ผู้บริโภคคุ้นเคยกับสินค้าของบริษัทเหล่านี้ แทนที่จะจัดตั้งบริษัทใหม่และจัดทําสินค้าใหม่ ซึ่งอาจไม่ ประสบความสําเร็จ
ความท้าทายของนักลงทุนไทยในสาขาอาหารทะเลใน แอฟริกาใต้
- กฎระเบียบที่ซับซ้อนของอุตสาหกรรมประมงแอฟริกาใต้ ซึ่งจําเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญของบริษัทท้องถิ่น ในการทําธุรกิจ เช่น การปฏิบัติตามระเบียบโควต้าจํานวนสัตว์ทะเล เพื่อป้องกันปัญหา overfishing เป็นต้น
- ปัญหาประมงผิดกฎหมายยังปรากฏอย่างต่อเนื่อง ทําให้การตรวจสอบเข้มงวดยิ่งขึ้น
- ความต้องการบริโภคในประเทศอาจไม่มากพอ จึงต้องเน้นการส่งออก
สาขาเหมืองแร่
แอฟริกาใต้ เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและส่งออกแร่สําคัญของโลก เช่น แพลตทินัม (อันดับ 1) ถ่านหิน (อันดับ 3) ทอง (อันดับ 6) และเพชร (อันดับ 7) โดยแอฟริกาใต้เป็นแหล่งแร่กลุ่มแพลตทินัมและแมงกานีสที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นแหล่งแร่สําคัญของวานาเดียม โคบอลต์ ทองแดง อิริเดียม ลิเธียม นิกเกิล และโครม ซึ่งจําเป็นต่อการผลิตแม่เหล็กกังหัน เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แผงโซลาร์เซลส์ และแบตเตอร์รี่สําหรับยานยนต์ไฟฟ้า
โดยแอฟริกาใต้ มีแผนจะพัฒนาผลิตแร่แห่งอนาคตที่จําเป็นต่ออุตสาหกรรมพลังงานสะอาด โดยเฉพาะในพื้นที่ Northern Cape ทั้งนี้ อุตสาหกรรมแร่แห่งอนาคตมีแนวโน้มเติบโตกว่าร้อยละ 28 ในระยะ 5 ปี เนื่องจากความต้องการแร่ธาตุ เหล่านี้ของตลาดโลก ซึ่งจะเป็นโอกาสของการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน
โอกาสของนักลงทุนไทยในสาขาเหมืองแร่ในแอฟริกาใต้
แอฟริกาใต้เป็นแหล่งแร่ขนาดใหญ่ของโลก โดยเฉพาะแร่สําหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น แมงกานีส และ ทองแดง ซึ่งจําเป็นอย่างยิ่งสําหรับผลิตแบตเตอร์รี่ ทั้งที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ โดยโอกาสในการลงทุนสําหรับธุรกิจเกี่ยวข้อง เช่น การขุดเจาะ การแปรรูป การสํารวจ การตรวจสอบ คุณภาพ โลจิสติกส์ เทคโนโลยีออโตเมชั่น เป็นต้น
ความท้าทายของนักลงทุนไทยในสาขาเหมืองแร่ในแอฟริกาใต้
ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าทําให้อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ซึ่งต้องใช้ไฟฟ้าจํานวนมากในกระบวนการผลิต ติดขัดและต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสํารองไฟฟ้ามหาศาล ต้องลงทุนในเทคโนโลยี นวัตกรรมและการพัฒนาทักษะแรงงาน รวมถึงกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มเข้มงวดขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่ออุตสาหกรรมเหมืองแร่โดยตรง
สาขาอสังหาริมทรัพย์
จํานวนประชากรรายด้านปานกลาง มีจํานวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กลุ่มคนเหล่านี้ มีกําลังซื้อและมุ่งหวังพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนและครอบครัวให้ดีขึ้น โดยกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในแอฟริกาใต้ลงทุนพัฒนาที่พักราคาสูง และศูนย์การค้าในย่านชุมชน (Community mall) เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็เพิ่มจํานวนการสร้างที่พักราคาถูกสําหรับผู้มีรายได้น้อย เนื่องจาก แอฟริกาใต้ยังมีประชากรที่ยังยากจนอยู่อีกมาก โดยพื้นที่ที่มีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มากที่สุดคือ Gauteng (ที่ตั้งของกรุงพริทอเรีย และนครโจฮันเนสเบิร์ก) และ Western Cape (ที่ตั้งของเมืองเคปทาวน์) พื้นที่ตามชายฝั่งมหาสมุทร และพื้นที่ใกล้เขตซาฟารี อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่สนใจของผู้มีกําลังซื้อ ได้แก่ บ้านที่ประหยัดพลังงาน เนื่องจากปัญหาการขาดแคลน น้ํา-ไฟ ของ แอฟริกาใต้ บ้านพักคนชราครบวงจร คอนโดมิเนียมที่มีสิ่งอํานวยความสะดวกครบครัน อย่างไรก็ดี คาดการณ์ว่า มูลค่าของอุตสาหกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์น่าจะลดลงร้อยละ 19 ในระยะ 5 ปี ข้างหน้า เนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจของแอฟริกาใต้ และกําลังซื้อที่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจค่อนข้างมาก
โอกาสของนักลงทุนไทยในสาขาอสังหาริมทรัพย์ในแอฟริกาใต้
- ที่พักอาศัยทั้งแบบราคาถูกและแบบ high-end และอาคารสํานักงาน ที่ประหยัดพลังงาน
- บ้านพักคนชราและคอนโดมิเนียมที่มีสิ่งอํานวยความสะดวกครบวงจร
- ศูนย์ข้อมูล (data centre) เนื่องจากมีบริษัทนานาชาติจํานวนมากที่มาตั้งสํานักงานภูมิภาคในแอฟริกาใต้และต้องการศูนย์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของบริษัท
ความท้าทายของนักลงทุนไทยในสาขาอสังหาริมทรัพย์ในแอฟริกาใต้
- กฎระเบียบที่ซับซ้อน เช่น ระบบโซนนิ่ง ภาษีอสังหาริมทรัพย์ และการปฏิรูปที่ดิน
- กําลังซื้อของคนท้องถิ่นยังเปราะบาง อาจเกิดความเสี่ยงการไม่ส่งค่างวด เป็นต้น
- โครงสร้างพื้นฐานที่ไม่พร้อมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่คุ้มค่า/อสังหาริมทรัพย์สูญเสียมูลค่า
ข้อมูล : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย
การศึกษาโอกาสการลงทุนของไทยในสาขาศักยภาพในแอฟริกาใต้ ในช่วงเวลาการศึกษาระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2567 ของ บริษัท BMI Research