เมื่อเร็ว ๆ นี้ หนังสือพิมพ์ The Straits Times ของสิงคโปร์ได้ลงบทความ “Singapore, Hong Kong, and Paris are the most expensive cities for expatriates to live in” ขณะที่สำนักข่าว Channel News Asia ก็ได้ลงบทความ “Singapore, Hong Kong and Paris named world’s most expensive cities for expats: EIU Survey” ซึ่งมีใจความสำคัญว่า สิงคโปร์ ฮ่องกง และปารีส ครองตำแหน่งเมืองที่แพงที่สุ ดสำหรับกลุ่ม expats หรือชาวต่างชาติที่เข้ ามาทำงานและอยู่อาศัย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ปารี สและฮ่องกงกลายมาเป็นเมืองที่มี ค่าครองชีพสูงสุดเทียบเท่ากับสิ งคโปร์ โดยจากผลการศึกษาของ Economist Intelligence Unit (EIU) แสดงให้เห็นว่า ค่าระบบสาธารณูปโภคและค่ าคมนาคมส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้ นมาก ซึ่งสำหรับสิงคโปร์นั้นครองอั นดับ 1 เมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุ ดในโลกติดต่อกัน 5 ปีซ้อนแล้ว [su_spacer size=”20″]
EIU ยังได้สำรวจเมืองใหม่จำนวน 133 แห่ง พบว่าเมืองที่มีค่าครองชีพสู งตามมาติด ๆ ได้แก่ ซูริค เจนีวา และโอซากา ในขณะที่เมืองเกิดใหม่ (emerging market cities) อย่างอิสตันบูลและมอสโกกลับมีอั นดับต่ำลงด้วยสาเหตุภาวะเงินเฟ้ อและการลดลงของมูลค่าเงิน โดยงานวิจัยของ EIU นี้ได้เปรียบเทียบราคาค่าต่าง ๆ มากกว่า 150 จำพวก อาทิ ค่ารถยนต์ ค่าอาหาร ค่าเช่า ค่าคมนาคมขนส่ง ค่าเสื้อผ้า เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 30 ปีที่ทั้ง 3 เมืองครองตำแหน่งสูงสุดด้วยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองที่ค่ าครองชีพสูงระดับโลกนั้นได้เติ บโตไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากความเป็นโลกาภิวัตน์ และรสนิยมด้านการจับจ่ายซื้ อของคนที่คล้ายกันส่งผลต่อต้นทุ นในหลายปัจจัยที่สูงขึ้น ถึงแม้ในหลายพื้นที่ในสิงคโปร์ ฮ่องกง และปารีสจะมีแหล่งซื้อของอุ ปโภคบริโภคราคาถูก แต่ค่าใช้จ่ายด้านระบบสาธารณู ปโภคและระบบคมนาคมขั้นพื้นฐานก็ ทำให้ค่าครองชีพทุกอย่างสูงขึ้น [su_spacer size=”20″]
นักวิเคราะห์จาก Centre for Cities ซึ่งเป็น think tank ของอังกฤษที่ไม่ได้มีความเกี่ ยวข้องกับการศึกษานี้ กล่าวว่า ค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นในตั วเมืองมักจะส่งผลต่ อตลาดแรงงานที่ดึงดูดแรงงานฝีมื อรายได้สูงในอนาคต นักออกแบบผังเมืองจะต้ องวางแผนผังและสร้างที่พักอาศั ยมากขึ้นเพื่อรักษาระดั บราคาและต้นทุนทั้งหมดไม่ให้สู งเกินไป ซึ่งเมืองต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักรมีการเปลี่ ยนแปลงในลำดับเล็กน้อย โดยครั้งนี้เป็นการลงไปอยู่จุ ดต่ำสุดในรอบ 2 ทศวรรษจากความไม่เสถียรภาพของ Brexit โดยลอนดอนอยู่ในลำดับที่ 22 เพิ่มขึ้นมา 8 ลำดับ และแมนเชสเตอร์อยู่ที่ลำดับที่ 51 เพิ่มขึ้นมา 5 อันดับ [su_spacer size=”20″]
EIU ยังชี้ว่าข้อมูลที่น่าสนใจในปี นี้คือ ค่าครองชีพในหลายเมืองเศรษฐกิ จเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวั นออกเฉียงใต้กำลังพุ่งสูงขึ้นอั นเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ขยายตั วเมื่อปีที่แล้ว โดยกรุงเทพมหานครอยู่อันดับที่ 41 ร่วมกับบริสเบนของออสเตรเลีย และเวลลิงตันของนิวซีแลนด์ ขณะที่ฮานอยของเวียดนามอยู่ในอั นดับที่ 60 ตามด้วยพนมเปญของกัมพูชาอยู่อั นดับที่ 76 โฮจิมินห์ของเวียดนามอยู่อันดั บที่ 80 และกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซียยู่ อันดับ 88 ของโลก ขณะที่อันดับที่ 90 เป็นของบันดาร์เซรีเบกาวั นของบรูไนฯ ส่วนจาการ์ตาของอินโดนีเซี ยและมะนิลาของฟิลิปปินส์อยู่อั นดับที่ 92 เท่ากัน [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ ความปั่นป่วนทางการเมืองที่ เวเนซูเอลาส่งผลให้เมื องหลวงของประเทศการากัส ลงไปอยู่อันดับท้ายของตาราง ตามมาด้วยดามัสกัสเมื องหลวงของซีเรีย การาจีเมืองหลวงของปากีสถาน บัวโนสไอเรสเมืองหลวงของอาร์ เจนตินา นอกจากนี้ นิวเดลีก็รวมอยู่ในกลุ่มเมืองที่ มีค่าครองชีพต่ำสุด 10 อันดับแรกของโลกด้วย อย่างไรก็ดี การติดอันดับเมืองค่าครองชีพต่ำ นั้นไม่ได้หมายความว่าค่ากินอยู่ จะมีราคาถูก เนื่องจากราคาสินค้าอุปโภคบริ โภคจะปรับตัวตามอัตราเงินเฟ้ ออย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ได้มีการปรับรายได้เพิ่ มขึ้นตาม [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์