มื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 สำนักงานสิ่งเเวดล้อมเเห่งชาติ (National Environment Agency – NEA) ได้เริ่มใช้ระบบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วสิงคโปร์
.
การจัดการ e-waste เป็นภารกิจสำคัญภายใต้แผน ‘ขยะเป็นศูนย์’ (Zero Waste Master Plan) ของสิงคโปร์ซึ่งวางเป้าหมายจะลดปริมาณขยะจำนวน 1 ใน 3 ที่จะส่งไปยังหลุมฝังกลบ Semakau ภายในปี 2573 โดยสำนักงาน NEA ได้กำหนดรายการ regulated e-waste จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากสินค้าหมดอายุประเภทต่างๆ เเละผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งเเวดล้อมเเละสุขภาพของสาธารณะ หากไม่ได้ถูกกำจัดหรือรีไซเคิลอย่างถูกวิธี เช่น เเผงโซลาร์เซลล์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์ หลอดไฟ เเบตเตอรี่ ฯลฯ
.
การดำเนินการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ของสิงคโปร์
.
สำนักงาน NEA เเละ บริษัท Alba ได้ผลักดันการรีไซเคิล e-waste หลายโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น ถังขยะรีไซเคิล e-waste บริการกำจัด e-waste โดยเทศบาลเขต บริการรถรับ e-waste ตามเขตที่อยู่อาศัย
.
ปัจจุบันบริษัท Alba เน้นการสร้างสาธารณูปโภคเพื่อให้ชาวสิงคโปร์สามารถรีไซเคิล e-waste ได้สะดวกโดยได้วางถังขยะรีไซเคิล e-waste มากกว่า 300 ถังในห้างสรรพสินค้าเเละซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้งนี้ผู้บริโภคจะได้รับคะเเนนเมื่อรีไซเคิล e-waste ผ่านเเอปพลิเคชัน Step up โดยสเเกนรหัส QR Code เเละถ่ายภาพe-waste ที่จะรีไซเคิลตามจุดรวบรวม e-wasteเเละสามารถเเลกบัตรกำนัลจาก Grab หรือบริการต่างๆ เช่น บริการรถโดยสาร จัดส่งอาหาร เเบ่งปันจักรยาน เเละผลิตภัรฑืด้านความงามเเละสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม
.
ตั่งเเต่เริ่มดำเนินการรวบรวม e-waste เมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 จนถึงเดือนสิงหาคม 2564 บริษัท Alba ได้รวบรวมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ประมาณ 200 ตัน โดย 80% เป็นเครื่องปรับอากาศ ในขณะที่อีก 20% เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา
.
จากสถิติการจัดการรีไซเคิลขยะประมาณ 100 ตันโดยบริษัท Virogreen สามารถฟื้นฟู e-waste เหล่านั้นให้กลับมาใช้งานได้ถึง 80% – 100% นอกจาการส่ง e-waste ที่รีไซเคิลให้ผู้ผลิตเเล้ว บริษัทได้เเยกเเละซ่อม e-waste ที่มีสภาพดีนำไปบริจาคเพื่อเพิ่มอัตรากู้คืนชิ้นส่วนวัตถุดิบอีกด้วย
.
เเต่ความท้าทายในกระบวนการรีไซเคิล คือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้รับการควบคุม (unregulated e-waste) เช่น เครื่องปั๊มน้ำนม ของเล่นเด็ก เครื่องนวดไฟฟ้าพกพา คิดเป็น 30% ของขยะ e-waste ที่ถูกทิ้งในถังขยะรีไซเคิลส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องใช้ทรัพยากรเเละกำลังคนเพิ่มในการคัดเลือก unregulated e-waste นอกจากนี้การกำจัด e-waste พร้อมกล่องบรรจุภัณฑ์ส่งผลให้ถังขยะเต็มเร็วขึ้นเเละศูนย์คัดเเยกต้องเเยก e-waste ออกจากบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งหาวิธีกำจัดบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม
.
อย่างไรก็ดี e-waste ที่ไม่ได้รับการควบคุมสามารถกำจัดผ่านโครงการที่ดำเนินการโดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องหรือผู้รวบรวมขยะสาธารณะ เช่น โครงการ Cash for Trash ที่เปิดโอกาสให้ผู้อาศัยตามเขตต่างๆในสิงคโปร์สามารถนำขยะรีไซเคิลมาขายเป็นเงินได้
.
โอกาสของผู้ประกอบการไทย
.
สำหรับประเทศไทย นอกจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากการใช้งานภายในประเทศกว่า 400,000 ตันต่อปีโดยประมาณแล้วยังมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สืบเนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รุ่นใหม่ ๆ อยู่ตลอด
.
ธุรกิจรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ยังเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มีโอกาสที่จะเติบโตได้อีกมากในอนาคต โดยศักยภาพการเติบโตของธุรกิจรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ของไทยน่าจะขึ้นอยู่กับการยกระดับระบบบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในไทยให้มีประสิทธิภาพขึ้น
.
ผู้ประกอบการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในไทยอาจทำการร่วมมือกับกลุ่มผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรับซื้อซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากการผลิต รวมถึงการร่วมมือกับผู้จัดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือร่วมมือกับชุมชนในการจัดต้องศูนย์รับซื้อคืนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถใช้งานได้จากกลุ่มผู้บริโภคโดยตรงเพื่อเป็นการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขยะเรียกเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์จากครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
ขณะเดียวกันผู้ประกอบการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กอาจทำการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับกลุ่มผู้ประกอบการ รายใหญ่ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงในการบดย่อยและสกัดโลหะประเภทอื่นๆ ที่ตนเองไม่สามารถสกัดได้ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ที่มากขึ้นเเสดงให้เห็นถึงโอกาสของผู้ประกอบการธุรกิจรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ไทยในการปัจจัยหนุนต่อการเติบโตอย่างมีศักยภาพ
.
หากประเทศไทยสามารถยกระดับระบบการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถจัดเก็บและรวบรวมขยะจากชุมชนเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ราวร้อยละ 20.0 ของปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากชุมชนทั้งหมด ในระยะอีก 4 ปี ข้างหน้า รวมถึงมีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการสกัดโลหะมีค่าหายากที่หลากหลายชนิดขึ้น ตามที่กล่าวมาข้างต้น น่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ตลาดรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในไทยสามารถขยายตัวได้อย่างมีศักยภาพ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หากสถานการณ์เป็นไปตามเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น ตลาดรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ไทยในปี 2564 น่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 10,290 – 11,420 ล้านบาท ขยายตัวกว่าร้อยละ 109.1 – 128.3 จากปี 2560
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์