เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2563 เอกอัครราชทูตได้หารือทางโทรศัพท์กับนาย Alessandro Perrotta CEO ของ บจก. Interplex Holdings ซึ่งดําเนินธุรกิจด้านอุปกรณ์การแพทย์ เวชภัณฑ์และอิเล็กทรอนิกส์ และมีฐานการผลิตในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันตก และมีบริษัทคู่ค้าทั่วโลก โดยได้หารือในประเด็นเกี่ยวกับมุมมองของภาคเอกชนในสิงคโปร์เกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และการเตรียมการเข้าสู่ช่วงหลัง COVID-19 ว่า การปรับตัวของภาคเอกชนภายใต้สถานการณ์ใหม่จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดย บ. Interplex Holdings ในฐานะภาคเอกชนผู้ดําเนินธุรกิจด้านอุปกรณ์การแพทย์และอิเล็กทรอนิกส์กับหลายประเทศทั่วโลก เห็นว่าสถานการณ์การระบาดฯ ทั่วโลก น่าจะดําเนินไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นเดือน ก.ย. 2563 ซึ่งปัจจุบันภาคเอกชนในหลายประเทศสูญเสียความเชื่อมั่นในรัฐบาลและนโยบายการแก้ไขปัญหาและการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยภาคเอกชนเริ่มวางแผนการ renegotiation และแสวงหาทรัพยากรและเงินทุนสํารองเพื่อความอยู่รอดของตนเอง ทั้งนี้ ในปี 2564 ตลอดทั้งปีจะเป็นปีแห่งการฟื้นฟูและปรับตัวเข้ากับระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศใหม่ ซึ่งรวมถึงการกระจายฐานการผลิตตลาด และห่วงโซ่อุปทานไม่ให้ผูกยึดกับประเทศใดประเทศหนึ่งมากจนเกินไป และในปี 2565 ภาคธุรกิจเริ่มกลับสู่ภาวะปกติในบรรทัดฐานใหม่ (Post COVID-19 Standards)
[su_spacer]
ในเวลานี้ ความท้าทายที่สําคัญที่สุดของมนุษยชาติ คือ “ความหวาดกลัว” ตราบใดที่ประชาคมโลก ยังไม่สามารถผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อ COVID-19 ได้ ผู้คนก็จะยังคงกลัวการใช้ชีวิตตามปกติและการเดินทาง CEO Perrotta เห็นว่า การฟื้นตัวของภาคการบินจะเป็นตัวชี้วัดหนึ่งว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวหรือไม่ ไม่มีนักธุรกิจต่างชาติที่สามารถเดินทางไปเจรจาธุรกิจที่สหรัฐฯ ได้ในช่วงนี้ ขณะที่ในยุโรปที่ประเทศส่วนใหญ่ยังคง lockdown และปิดพรมแดน และถึงแม้ว่าในช่วง 2 – 3 เดือน ต่อจากนี้ หลายประเทศจะเริ่มควบคุมสถานการณ์ได้บ้างแล้ว แต่การสัญจรข้ามชาติอย่างเสรีตามปกติจะเป็นไปได้ยาก คําถามจึงไม่ใช่แค่ว่าเศรษฐกิจโลกและการดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศจะกลับมาเป็นปกติเมื่อใด แต่จะทําอย่างไรให้คนไม่หวาดกลัวในการเดินทางและกลับไปใช้ชีวิตตามปกติด้วย
[su_spacer]
สำหรับมุมมองในประเด็นโลกาภิวัตน์ถูกท้าทายและการปรับนโยบายห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) การกระจายความเสี่ยงและไม่พึ่งพา Supply Chain ประเทศใดประเทศหนึ่งมากเกินไป จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกอย่างมากในช่วง Post COVID-19 ตัวอย่างเช่น ธุรกิจยานยนต์ระดับสูงที่มีห่วงโซ่อุปทานที่ยาวและหลากหลายมาก เนื่องจากรถยนต์ 1 คันมีส่วนประกอบมากถึง 69,000 ชิ้น แต่เมื่อประเทศ ทั้งในยุโรป จีน อินเดีย เม็กซิโก ปิดประเทศ ในปีนี้การผลิตรถยนต์ย่อมหยุดชะงักตามไปด้วย ประเทศที่ทั่วโลกให้ความสนใจ คือ จีน และอินเดีย ซึ่งเป็นฐานการผลิตและตลาดขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยเฉพาะตลาดยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ยา และเวชภัณฑ์ ทั้งนี้ โลกาภิวัตน์กําลังถูกท้าทายอย่างยิ่ง โดยเริ่มเห็นกระแส Localization ของภาคอุปทานในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวกับอาหาร การแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ โดยบริษัทอาหารและอุปกรณ์การแพทย์ส่วนใหญ่ถูกรัฐบาลสั่งการให้ระงับการส่งออกไปต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลสหรัฐฯ สั่งห้าม 3M ขายหน้ากากอนามัยให้ต่างประเทศ
[su_spacer]
CEO Perrotta เน้นย้ำถึงปัญหาที่รัฐบาลมักไม่ให้ความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายดําเนินธุรกิจแก่ภาคเอกชนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ โดยเฉพาะความช่วยเหลือในการขยาย Supply Chain สิ่งที่รัฐบาลต่าง ๆ สั่งการคือขอให้ภาคเอกชนหยุดดําเนินกิจการชั่วคราวหรือให้พนักงานหยุดงานแต่ได้รับเงินเดือน และรักษาการจ้างงานไว้ ซึ่งทําให้ภาคเอกชนต้องรับภาระและความเสี่ยงอย่างยิ่ง และต้องเริ่มพัฒนาแหล่งเงินทุนทรัพยากรและช่องทางการค้าขายของตนเอง ทั้งนี้ CEO Perrotta เห็นพ้องกับเอกอัครราชทูต ว่า ไทยและประเทศในอาเซียนจะต้องรู้ว่าจะวางตัวอย่างไร และน่าจะได้ประโยชน์จากการปรับแผนห่วงโซ่อุปทานของภาคเอกชนทั่วโลก โดยเฉพาะในช่วง Post COVID-19 เนื่องจาก (1) ภาคธุรกิจในอาเซียนน่าจะหันมาใช้ ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงใน Supply Chain มากขึ้น จากเดิมที่พึ่งพาแต่จีนหรืออินเดีย และ (2) ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ยุโรป และประเทศมหาอํานาจในภูมิภาคอื่น ๆ ก็น่าจะหาทางเลือกในการเป็นฐานการผลิตเพิ่มเติมจากจีนและอินเดียเพื่อกระจายความเสียง ซึ่งประเทศในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันตกก็มีจุดแข็งและมีความพร้อมในการดึงดูดการค้า การลงทุนจากต่างประเทศได้ และต้องอาศัยจังหวะนี้ในการสร้างคน (talent) ในขณะที่จีนเองก็ไม่สามารถผูกขาดห่วงโซ่อุปทาน และต้องร่วมมือกับประเทศอื่น เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงการระบาดของ COVID-19 นี้ ทุกประเทศอยู่ในสภาวะต้องดูแลตัวเอง ไม่มีประเทศใดออกมาเป็นผู้นําในการแก้ไขปัญหาสําคัญของโลกเหมือนวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในอดีตที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน ความเป็นหนึ่งเดียวของภูมิภาคต่าง ๆ (Regional Integrity) รวมทั้งบทบาทขององค์การระหว่างประเทศก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่ากําลังเลือนหายไปในช่วงการระบาดของโลก โดย CEO Perrotta มองว่า แม้แต่ในอาเซียนเองความเชื่อมโยง และปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็เบาบางลงจากกระแสโลกาภิวัตน์หวนกลับและ localization ในทุกประเทศด้วย
[su_spacer]
นอกจากนี้ ในประเด็นแรงงานต่างชาติและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในสิงคโปร์ เอกอัครราชทูตไทยกล่าวถึงเป้าหมายของรัฐบาลสิงคโปร์ในการลดจํานวนแรงงานต่างชาติจากร้อยละ 40 เหลือร้อยละ 30 ของแรงงานทั้งหมดในสิงคโปร์ภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030) และขอทราบความเห็นของภาคเอกชนว่า แรงงานต่างชาติยังคงเป็นประโยชน์หรือเป็นภาระต่อสิงคโปร์ รวมทั้งจะมีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจของสิงคโปร์ สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแรงงานหรือไม่ ซึ่ง CEO Perrotta เห็นว่า แรงงานต่างชาติเป็นปัจจัยสําคัญต่อการเจริญติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ไม่ใช่เฉพาะแรงงาน blue collar แต่ยังรวมถึงแรงงานระดับ white collar เช่น นักธุรกิจ อาจารย์ และวิศวกรด้วย ซึ่งมีจํานวนกว่า 1.4 ล้านคน โดยที่ผ่านมา อุตสาหกรรม labour intensive ของสิงคโปร์ได้รับประโยชน์อย่างยิ่งจากการใช้แรงงานต่างชาติค่าแรงถูก 3.2 เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในสิงคโปร์นั้น CEO Perrotta เห็นว่า รัฐบาลสิงคโปร์จะลงทุนเพื่อพัฒนานวัตกรรม ระบบ automation และเทคโนโลยี เพื่อลดการพึ่งพาแรงงานต่างชาติ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสิงคโปร์จะต้องหาทางแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุ โดยการสร้างงานให้กับผู้สูงอายุมากขึ้นด้วย ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลสิงคโปร์กําหนดให้คนสิงคโปร์เกษียณอายุราชการเมื่ออายุ 62 ปี แต่สามารถขอต่อขยายเวลาการทํางานได้ถึงอายุ 67 ปี หากมีคุณสมบัติครบถ้วน
[su_spacer]
อนึ่ง ทัศนะเกี่ยวกับประเทศไทยในความเห็นของ CEO Perotta ประเทศไทยยังคงมีความสําคัญในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศและเป็นส่วนสําคัญในห่วงโซ่อุปทานโลก โดยมีทรัพยากรที่สมบูรณ์และข้อได้เปรียบในอุตสาหกรรมพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาของประเทศไทยคือขาดความชัดเจนในด้านนโยบาย เศรษฐกิจและการเมืองที่ไม่มีความต่อเนื่อง
[su_spacer]