เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563 นายเฮงซวีเกียต (Heng Swee Keat) รอง นรม./รมว.คลัง และ รมว.ประสานงานด้านเศรษฐกิจสิงคโปร์ ได้กล่าวถ้อยแถลง (National Broadcast) เรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาประชาชนเพิ่มเติม เป็นเงินประมาณ 8,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์สรุปได้ดังนี้
[su_spacer]
1. พัฒนาการของผลกระทบจาก COVID-19
[su_spacer]
ตั้งแต่ที่รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศงบประมาณ Fortitude Budget เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั่วโลกทวีความรุนแรงขึ้นกว่า 3 เท่า โดยมีผู้ติดเชื้อรวม 21 ล้านคน และเสียชีวิต 750,000 คน เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบ อย่างรุนแรงและน่าจะหดตัวร้อยละ 5 ในปีนี้ โดยเศรษฐกิจสิงคโปร์หดตัวแล้วร้อยละ 13.2 ในไตรมาสที่ 2/2563 แบบ Year-on-Year
[su_spacer]
คณะทํางานเฉพาะกิจระหว่างกระทรวงฯ (Multi-Ministry Task Force) ของสิงคโปร์สามารถควบคุม การแพร่ระบาดในสิงคโปร์ได้แล้ว อย่างไรก็ตาม หลายประเทศที่เริ่มทําการเปิดประเทศต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ดังนั้นสิงคโปร์จึงยังคงต้องใช้ระมัดระวังอย่างสูงในการเปิดประเทศและดําเนินมาตรการทางสาธารณสุขที่เข้มงวด โดยเฉพาะ มาตรการต่อการเดินทางระหว่างประเทศ (ปัจจุบันสิงคโปร์มีผู้ติดเชื้อสะสม ประมาณ 56,000 ราย ยังอยู่ระหว่างการรักษา จํานวน 3,194 คน ผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อฯ จํานวน 27 ราย โดยมีคนไทยในสิงคโปร์ติดเชื้อประมาณ 650 ราย ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในหอพักฯ)
[su_spacer]
การประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาประชาชนเพิ่มเติมในครั้งนี้ (17 ส.ค. 63) ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์สําคัญ 3 ประการ ได้แก่ (1) การสนับสนุนการจ้างงานและสร้างงาน (2) การสนับสนุนภาคเอกชนที่ได้รับ ผลกระทบมากที่สุด และ (3) เตรียมความพร้อมให้สิงคโปร์สามารถคว้าโอกาสในการเติบโตได้มากที่สุดในโลกหลัง COVID-19
[su_spacer]
2. งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาประชาชนเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563
[su_spacer]
ยุทธศาสตร์ที่ 1: การสนับสนุนการจ้างงานและการสร้างงาน
[su_spacer]
รัฐบาลสิงคโปร์จะขยายโครงการ Jobs Support Scheme (USS) ออกไปอีก 7 เดือน เพื่อสนับสนุนภาคเอกชนในการจ่ายเงินเดือนพนักงาน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสิงคโปร์จะลดการสนับสนุนจากร้อยละ 25 ถึงร้อยละ 100 เหลือร้อยละ 10 (สําหรับภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบบางส่วน) ถึงร้อยละ 50 (สําหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ อย่างหนัก เช่น การท่องเที่ยว โรงแรม และการบิน) ส่วนภาคธุรกิจที่ฟื้นตัวแล้ว อาทิ ชีวการแพทย์ การเงิน และ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม นั้นรัฐบาลสิงคโปร์จะสนับสนุนเงินเดือนพนักงานอัตราร้อยละ 10 ต่อไปอีก 4 เดือน
[su_spacer]
ดังนั้น ในภาพรวมรัฐบาลสิงคโปร์จะจ่ายเงินสนับสนุนเงินเดือนพนักงานแก่บริษัทต่าง ๆ รวม 17 เดือน เพื่อรักษาการจ้างงานของคนท้องถิ่น โดยรอง นรม. เฮงฯ ให้ข้อมูลว่า จนถึงปัจจุบันรัฐบาลสิงคโปร์ได้จ่ายเงินสนับสนุน JSS แล้ว จํานวน 16,000 ล้านดอลลาร์ สป. แก่บริษัท 150,000 ราย ในจํานวนนี้มีบริษัทที่ฟื้นตัวแล้วและไม่ต้องการรับเงินช่วยเหลือ จํานวน 600 รายที่ประสงค์จะบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือบริษัทอื่น ๆ แทน
[su_spacer]
รัฐบาลสิงคโปร์มีแผนจะจัดทําโครงการ Jobs Growth incentive (US) เพื่อสร้างงานใหม่ โดยอัดฉีดงบประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์แก่บริษัทต่าง ๆ เพื่อเพิ่มการจ้างงานของคนชาติสิงคโปร์ในช่วง 6 เดือนจากนี้ และจะช่วยบริษัท จ่ายเงินเดือนพนักงานที่จ้างใหม่ ร้อยละ 25 เป็นเวลา 1 ปี หากเป็นลูกจ้างจ้างใหม่ที่อายุเกิน 40 ปี รัฐบาลสิงคโปร์จะช่วยจ่ายค่าจ้าง สูงสุดร้อยละ 50 ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์จะแจ้งรายละเอียดต่อไป นอกจากนี้ รัฐบาลสิงคโปร์จะจัดตั้งศูนย์ SGUnited Jobs and Skills Centres ในพื้นที่ชุมชน จํานวน 24 แห่ง เพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนที่ประสงค์จะหางานหรือเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะ
[su_spacer]
หุ้นส่วนไตรภาคี (tripartite partners) ได้แก่ กระทรวงแรงงานสิงคโปร์ (Ministry of Manpower) สภาแรงงานแห่งชาติ (NTUC) และ สมาพันธ์นายจ้างแห่งชาติ (SNEF)] จะทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อสนับสนุนแรงงานให้มีงานทํา โดยรัฐบาลสิงคโปร์จะขยาย ระยะเวลากองทุน COVID-19 Support Grant (CSG) ไปจนถึงเดือน ธันวาคม 2563 เพื่อให้เงินช่วยเหลือแก่คนตกงาน/ว่างงาน และจะจ่ายเงิน Workfare Special Payment แบบให้เปล่า จํานวน 3,000 ดอลลาร์สิงคโปร์/คน แก่ผู้ตกงานที่เดือดร้อน
[su_spacer]
รัฐบาลสิงคโปร์ประเมินว่าตลาดแรงงานในสิงคโปร์จะยังคงหดตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 โดยรัฐบาลสิงคโปร์จะพยายามออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือพนักงานและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักต่อไป (สิงคโปร์มีการเลิกจ้าง 147,500 อัตรา ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 คิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 2.9)
[su_spacer]
ยุทธศาสตร์ที่ 2: การรักษาศักยภาพในการแข่งขัน
[su_spacer]
เมื่อคํานึงว่าอุตสาหกรรมอวกาศ การบิน และการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบมากที่สุด รัฐบาลสิงคโปร์จะเพิ่มเงินช่วยเหลือแก่ 3 อุตสาหกรรมนี้เป็นการเฉพาะ สําหรับธุรกิจการบิน รัฐบาลสิงคโปร์จะอัดฉีดเงิน 187 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ภายใต้ Enhanced Aviation Support Package ภายใน มี.ค. 64 เพื่อให้ฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ยังคงให้ ความสําคัญกับการเป็นศูนย์กลางความเชื่อมโยงทางอากาศในภูมิภาคของสิงคโปร์(ธุรกิจการบิน Changi Air Hub ทํารายได้ คิดเป็น ร้อยละ 5 ของ GDP สิงคโปร์และมีพนักงานกว่า 190,000 คน)
[su_spacer]
สําหรับ พนักงานสายการบินที่ยังไม่สามารถกลับไปทํางานได้ อาทิ พนักงานต้อนรับกว่า 500 คน ของ สายการบินแห่งชาติ (SIA) รัฐบาลสิงคโปร์ได้โยกย้าย (redeploy) ให้ไปทํางานในภาคสาธารณสุข อาทิ Care Ambassadors ใน รพ. และจะสร้างงานใหม่อีก 4,000 อัตราต่อจากนี้
[su_spacer]
ด้านการท่องเที่ยว รัฐบาลสิงคโปร์จะกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศเพื่อช่วยเหลือธุรกิจ การท่องเที่ยว โดยแจกจ่ายเครดิตการท่องเที่ยวแก่ประชาชนเป็นเงิน 320 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์และแจกจ่ายบัตรกํานัล SingapoRediscovers Vouchers เป็นมูลค่ารวม 45 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ให้ประชาชนด้วย อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ การท่องเที่ยวบางประเภทจะยังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดทําการได้ เช่น สถานบันเทิง (nightlife industry)
[su_spacer]
ยุทธศาสตร์ที่ 3: การปรับรูปแบบเศรษฐกิจสู่โลกหลัง COVID-19
[su_spacer]
ตั้งแต่ปี 2558 รัฐบาลสิงคโปร์ ได้จัดทําแผนการปรับรูปแบบอุตสาหกรรม (Industry Transformation Maps for 23 sectors) แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 กอปรกับปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจทําให้สิงคโปร์ต้องเร่ง ปรับรูปแบบของเศรษฐกิจให้เร็วและมีทิศทางมากยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลสิงคโปร์จะสนับสนุนเงินจํานวน 150 ล้านดออลาร์สิงคโปร์เพื่อจัดทํา โครงการ Startup SG Founder เพื่อส่งเสริมธุรกิจ Startup ซึ่ง กระทรวงการค้าและ กระทรวงอุตสาหกรรมสิงคโปร์ (MT) จะเปิดเผยรายละเอียดต่อไป
[su_spacer]
รัฐบาลสิงคโปร์จะทํางานอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนและแรงงานในคณะทํางานเฉพาะกิจ Emerging Stronger Taskforce เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจและภาคเอกชนของสิงคโปร์ให้มีความพร้อมมากที่สุดและแสวงหา ประโยชน์ได้มากที่สุดในโลกยุคหลัง COVID-19
[su_spacer]
3. ความคืบหน้าการจัดทําและการใช้ความตกลงช่องทางพิเศษ
[su_spacer]
3.1 การจัดทําความตกลง Green Lane สิงคโปร์ – ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563 Mr.Toshimitsu Motegi รมว.กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเดินทางเยือนสิงคโปร์ และได้เข้าเยี่ยมคารวะ นรม. สิงคโปร์ และพบหารือกับ รมว.กระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ ซึ่งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะเจรจาการจัดทําความตกลง Green Lane ให้แล้วเสร็จภายในต้นเดือนกันยายน 2563
[su_spacer]
3.2 ความตกลง Reciprocal Green Lane (RGL) bla: Periodic Commuting Arrangement (PCA) สิงคโปร์-มาเลเซีย เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 63 เวลา 10.00 น. สิงคโปร์และมาเลเซียเริ่มเปิดให้ประชาชน/ผู้ถือบัตรพํานักหรือบัตรทํางานระยะยาว เดินทางข้ามแดนโดยใช้ความตกลงพิเศษแล้ว โดยมีผู้เดินทางประมาณ 300 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เดินทางเพื่อการทํางาน โดยใช้ PCA และเดินทางข้าม Singapore-Johor Causeway ทั้งนี้ ก่อนการระบาดของ COVID-19 มีผู้สัญจรข้ามแดน บริเวณด่าน Causeway ดังกล่าว ประมาณ 300,000 คนต่อวัน โดยเป็นชาวมาเลเซีย ที่เดินทางมาทํางานในสิงคโปร์ ประมาณ 100,000 คน
[su_spacer]
ทั้งนี้ การแถลงมาตรการเพิ่มเติมของรอง นรม. เฮงฯ สอดคล้องกับการแถลงของนายชาน ชุนซึ่ง (Chan Chun Sing) รมว.การค้า/อุตสาหกรรมสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 ซึ่งเน้นความจําเป็นที่สิงคโปร์จะต้องเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจและรูปแบบธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับโลกหลัง COVID-19 โดยกล่าวว่าเศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่สภาวะปกติใหม่แล้ว และโลกจะไม่กลับไปสู่สถานการณ์ ก่อน COVID-19 การฟื้นตัวอย่างเต็มที่ของเศรษฐกิจจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งและจะไม่ราบรื่นนัก โดยธุรกิจบางประเภทอาจ ฟื้นตัวได้ แต่ธุรกิจบางประเภทก็จะต้องเปลี่ยนรูปแบบไปอย่างถาวร ดังนั้นรัฐบาลสิงคโปร์ จึงจําเป็นต้องสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ และ สร้างงานรูปแบบใหม่เพื่อประชาชน
[su_spacer]
การแถลงมาตรการในครั้งนี้ ได้รับการตอบรับที่ดีจากภาคเอกชนและธนาคารสิงคโปร์ดังเช่นที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ประธานสมาคมธุรกิจสถานบันเทิงแสดงความผิดหวังที่รัฐบาลสิงคโปร์ยังไม่อนุญาตให้สถานบันเทิงเปิดกิจการได้ แต่ก็ขอบคุณรัฐบาลสิงคโปร์ที่ให้คําตอบเรื่องนี้อย่างชัดเจน เพื่อให้ธุรกิจสถาบันเทิงในสิงคโปร์วางแผนได้อย่างถูกต้องต่อไป
[su_spacer]
การแถลงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในครั้งนี้ ไม่ครอบคลุมถึงการช่วยเหลือแรงงานต่างชาติในสิงคโปร์ ซึ่งใน งบประมาณ Fortitude รัฐบาลสิงคโปร์เคยได้ยกเว้นภาษีการจ้างแรงงานต่างชาติเพียง 2 เดือน และไม่มีนโยบายช่วยเหลือทาง ภาษีอื่น ๆ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการที่รัฐบาลสิงคโปร์ใช้งบประมาณแบบขาดดุลตลอดปี 2563 นี้ โดยคาดว่าจะขาดดุลทั้งสิ้น 10,900 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์แม้ว่าการชะลอตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้าง (เนื่องจากมาตรการกักตัวแรงงานต่างชาติในหอพัก) จะทํา ให้การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของรัฐบาลสิงคโปร์ ในวงเงิน 6,900 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ล่าช้าออกไปบ้างก็ตาม
[su_spacer]
ความนัยต่อประเทศไทย
[su_spacer]
การที่รัฐบาลสิงคโปร์ยังคงให้ความสําคัญกับนโยบายการเป็นศูนย์กลางความเชื่อมโยงทางอากาศในภูมิภาค และได้ให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมแต่ภาคธุรกิจการบินเป็นการเฉพาะ เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในการเชิญชวนให้สิงคโปร์ขยาย การลงทุนด้านการซ่อมบํารุงอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul: MRO) ใน ประเทศไทยโดยเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ออท.ฯ ได้หารือผ่านระบบทางไกลกับรองเลขาธิการ สกพอ. (รสธ. สัษมนฯ) ประเมินว่าสิงคโปร์ จะยังคงแสวงหาสถานที่ลงทุน เพื่อจัดตั้ง/ขยายศูนย์ซ่อมบํารุงอากาศยาน ทั้งนี้ ในการประชุม STEER ครั้งที่ 5 เมื่อ 24 สิงหาคม 2560 บ. ST Engineering ของสิงคโปร์เคยแสดงความสนใจที่จะลงทุนในโครงการ MRO อู่ตะเภา ในเขต EEC แต่รอให้ฝ่ายไทยแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ ภาคเอกชนสิงคโปร์ถือหุ้นได้ร้อยละ 100 ซึ่งล่าสุด กรมการบินพลเรือนไทยได้แก้ไข พรบ. การเดินอากาศ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2562 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2562 แล้ว
[su_spacer]
ในช่วงต้นเดือน กันยายน 2563 ออท.ฯ มีกําหนดจะพบหารือกับรองเลขาธิการ สกพอ. ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน (รสธ.โชคชัยฯ) เพื่อขอทราบประเด็นที่ สกพอ. ประสงค์ให้ สอท.ฯ ผลักดันกับ บ. ST Engineering ในรายละเอียด และจะทาบทามการพบหารือกับ CEO ของ บ. ST Engineering เพื่อผลักดันประเด็นนี้ต่อไป
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์