ถึงแม้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียดนาม ไทย อินโดนีเซีย จะได้เปรียบจาก ผลกระทบของสงครามการค้าฯ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตต่ำโดยเฉพาะด้านแรงงาน ทําให้จีนเริ่มย้ายฐานการผลิตไปประเทศเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์กลับได้รับผลกระทบจากสงครามครั้งนี้เป็นอย่างมากอันเป็นผลมาจาก สิงคโปร์เป็นห่วงโซ่อุปทานที่สําคัญของจีนและเป็นจุดพักเปลี่ยนถ่ายสินค้าแห่งสําคัญสําหรับผลิตภัณฑ์ที่กําลังมุ่งหน้าไปยังตลาดโลกตะวันตกและที่ออกมาจากตลาดเหล่านั้น รวมทั้ง ยังเป็นฐานในเอเชียสําหรับโรงงานอุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงบางประเภทอีกด้วย ผลกระทบจากการทําสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ – จีนต่อสิงคโปร์ทําให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในไตรมาสที่ 1 ของปี 2562 ชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.3 เนื่องจากอุตสาหกรรมภาคการผลิต ปรับตัวลง ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงปี 2552 ที่เศรษฐกิจของสิงคโปร์ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลก
[su_spacer]
เมื่อเดือนมิถุนายน 2562 การส่งออกของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 17.3 จากเมื่อ 2561 นับเป็นอัตราติดลบที่แรงที่สุดในรอบกว่า 6 ปี โดยเฉพาะการลดลงในการส่งออกชิปคอมพิวเตอร์ซึ่งการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ถือเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสิงคโปร์เป็นอย่างมาก การส่งสินค้าทางเรือไปจีนลดลงมากที่สุดในรอบ 3ปี จากการเพิ่มอัตราภาษีศุลกากรนั้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นนําไปสู่การเคลื่อนย้ายการผลิตของจีนจากสิงคโปร์และการเปลี่ยนคู่ค้าห่วงโซ่อุปทานของจีน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 ในด้านตลาดแรงงานมีการปรับลดการจ้างงานถึงร้อยละ 40 โดยเฉพาะในภาคการผลิตและอัตราการเติบโตอยู่ที่ 0.1% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ1.1 อีกทั้ง ยังมีนักเศรษฐศาสตร์บางรายกําลังพยากรณ์ว่า เศรษฐกิจของประเทศนี้อาจร่วงลงเข้าสู่ภาวะถดถอยด้วยซ้ำในปีหน้า
[su_spacer]
จากผลกระทบข้างต้นการปรับตัวของสิงคโปร์ต่อสงครามการค้าฯ ในด้านนโยบายและแนวทางการรับมือของสิงคโปร์ นาย Chan Chun Sing รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (MT) กล่าวว่า สิงคโปร์จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับพื้นฐานที่ประเทศสิงคโปร์มีความได้เปรียบอยู่แล้ว เช่น การเมืองที่มีเสถียรภาพ และการเชื่อมต่อในห่วงโซ่อุปทานและเครือข่ายการกระจายสินค้า ซึ่งรวมถึงด้านการเงินและข้อมูล สิงคโปร์กําลังพยายามขยายเครือข่ายการลงทุนผ่านการทําข้อตกลงการค้าเสรี เช่น ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-สิงคโปร์ (EUSFTA) กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก ตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่างในอเมริกาใต้ มีการเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพสูงและการหาคู่ค้าทางเศรษฐกิจดิจิตัลที่สําคัญซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสสําหรับธุรกิจในประเทศ
[su_spacer]
สําหรับชาวสิงคโปร์ นอกเหนือจากการทําการค้าระหว่างประเทศ สิงคโปร์จะต้องให้ความสําคัญกับ GNP กล่าวคือ มูลค่าของสินค้าและบริการที่ผลิตโดยชาวสิงคโปร์ทั่วโลกเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ต่อจากนี้ไป และจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อสิงคโปร์จะต้องมีบริษัทขนาดใหญ่ที่ดําเนินธุรกิจอยู่นอกประเทศ แต่ยังคงสนับสนุนเศรษฐกิจในประเทศไปพร้อมกัน เพื่อให้สภาพแวดล้อมของธุรกิจและทักษะแรงงานชาวสิงคโปร์มีความสามารถในการแข่งขันได้มากขึ้น อีกทั้งสนับสนุนภาคธุรกิจ SMEs ให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) จะเสนอการใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัวในการประชุมครั้งต่อไปในเดือน ต.ค. 2562
[su_spacer]
นอกจากนี้ ในส่วนของภาคธุรกิจที่พึ่งพาโรงงานการผลิตเพียงประเทศเดียว ควรพิจารณาการขยายฐานการผลิตไปในประเทศอื่น ๆ เพื่อเพิ่มตัวเลือกของห่วงโซ่อุปทาน อีกทั้ง หาแนวทางการลงทุนในตลาดใหม่ ผ่านกลุ่มเศรษฐกิจ เช่น อาเซียน โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน และโอกาสการค้าภายใต้แผนกลยุทธ์ อินโดแปซิฟิก ซึ่งกลุ่มเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมธุรกิจในประเทศได้ และให้มีการดําเนินการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (FDI) อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สิงคโปร์จะทํางานร่วมกับพันธมิตรที่มีเป้าหมายเดียวกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาระบบ การค้าพหุภาคี และทํางานเพื่อพัฒนาในระดับภูมิภาคมากขึ้น ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มโอกาสให้กับบริษัทในสิงคโปร์ และสนับสนุนการสร้างงาน รวมถึงสิงคโปร์ต้องคอยเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลมีความสามารถในการทํางานอย่างใกล้ชิดร่วมกันกับภาคธุรกิจและแรงงานเพื่อให้สิงคโปร์สามารถผ่านพ้นความท้าทายในปัจจุบันได้
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์