สถาบัน Milken Institute ได้จัดอันดับดัชนีโอกาสด้านการลงทุนระดับโลก 2024 (Global Opportunity Index – GOI) ให้ สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 1 ในทวีปเอเชียในปี 2566 และอันดับที่ 14 จาก 130 ประเทศทั่วโลก โดยสูงขึ้น 4 อันดับจากปี 2565 จากการประเมินวัดผลประกอบด้วยตัวชี้วัด 5 หมวด ได้แก่ (1) มุมมองทางธุรกิจ (business perception) (2) ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (economic fundamentals) (3) บริการทางการเงิน (financial services) (4) กฎระเบียบ ภาคบริการ (institutional framework) และ (5) มาตรฐานและนโยบายระหว่างประเทศ (international standards and policy)
โดยสิงคโปร์มีผลการประเมินที่โดดเด่นใน 2 หมวด ได้แก่ 1) มุมมองทางธุรกิจ (Business Perception) ประเมินจากข้อจํากัดทางธุรกิจ (Business Constraint) การฟื้นฟูและการแก้ปัญหา (Recovery and Resolution) ซึ่งสิงคโปร์ได้รับการประเมินสูงเป็นอันดับที่ 6 และ 2) กฎระเบียบภาคบริการ (Institutional Framework) ประเมินจากสิทธิของนักลงทุน (Investors Rights) นวัตกรรม (Innovation) การจัดการปกครองสาธารณะ (Public Governance) และความโปร่งใส (Transparency) ซึ่งสิงคโปร์ได้รับการประเมินสูงเป็นอันดับที่ 3
สถาบัน Milken ระบุว่า การที่สิงคโปร์มีอันดับที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ความสะดวกในการทําธุรกิจ และการอํานวยความสะดวกในการบังคับใช้สัญญาและการแก้ไขข้อพิพาท ซึ่งเป็นการประเมินความสามารถในการปกป้องสิทธิของนักลงทุนและความปลอดภัยของสินทรัพย์ของประเทศ โดย สิงคโปร์เป็นผู้นําในหมวดหมู่ย่อยทางด้านสิทธิของนักลงทุนและความโปร่งใส ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเงื่อนไขการลงทุนโดยรวมยังคงแข็งแกร่ง เห็นได้จากกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าสิงคโปร์ อีกทั้ง นโยบายที่สนับสนุนสิทธิของนักลงทุนและข้อจํากัดทางธุรกิจที่ค่อนข้างต่ํา ที่น่าจะส่งผลให้นักลงทุนรู้สึกสบายใจในการดําเนินธุรกิจในสิงคโปร์
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขั้นสูงแล้ว สิงคโปร์มีคะแนนต่ํากว่าค่าเฉลี่ยในหมวดปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Economic Fundamentals) อยู่ที่อันดับ 37 โดยได้คะแนนต่ําในตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการรวมกลุ่มทางสังคม เห็นได้จากอันดับที่ค่อนข้างต่ําในด้านสภาพแวดล้อมในอนาคตสําหรับการเติบโต (Future Environment of Growth) ซึ่งประเมินจากผลการดําเนินงานด้านเศรษฐกิจมหภาค ความสามารถของแรงงาน และความพยายามในการสร้างเศรษฐกิจและสังคมที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน ซึ่งเป็นผลจากมาตรการต่าง ๆ เช่น มลพิษทางอากาศ และสัดส่วนของสตรีในตําแหน่งบริหาร
นับว่าประเทศสิงคโปร์เป็นจุดหมายปลายทางด้านการลงทุนของสตาร์ทอัพชั้นนําในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปี 2566 มีสตาร์ทอัพที่มีฐานธุรกิจอยู่ในสิงคโปร์คิดเป็นร้อยละ 63.7 ของกลุ่มประเทศอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซ๊ย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สเปน ไทย และเวียดนาม โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 56.7 ในปี 2565 ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงาน Enterprise Singapore ซึ่งทําหน้าที่ส่งเสริมการลงทุนของธุรกิจสิงคโปร์ในต่างประเทศ ได้ระบุว่าผลประกอบการของสิงคโปร์นั้นเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่านักลงทุนยังคงเชื่อมั่นในสิงคโปร์ที่จะให้เป็นจุดหมายปลายทางสําหรับการระดมทุนและการพัฒนาสตาร์ทอัพของภูมิภาค
ข้อมูล : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสิงคโปร์
เรียบเรียง : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์