สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ไตรมาสที่ 2/2563
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ (Ministry of Trade and Industry : MTI) ได้ประกาศอัตราการหดตัวของเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 2/2563 ว่า GDP ของสิงคโปร์หดตัวร้อยละ 41.2 แบบ QoQ หรือร้อยละ 12.6 แบบ YoY ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการประกาศใช้มาตรการ Circuit Breaker (CB) เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระหว่าง วันที่ 7 เมษายน – 1 มิถุนายน 2563
[su_spacer]
ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือภาคการก่อสร้าง หดตัวร้อยละ 95.6 แบบ QoQ หรือติดลบร้อยละ 54.7 แบบ YoY ขณะที่ภาคบริการหดตัวร้อยละ 37.7 แบบ QoQ หรือร้อยละ 13.6 แบบ YoY และภาคการผลิตหดตัว ร้อยละ 23.1 แบบ QoQ แต่เติบโตร้อยละ 2.5 แบบ YoY ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเดียวที่เติบโตในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา
[su_spacer]
แม้ว่ากระทรวงแรงงานสิงคโปร์จะยังไม่รายงานอัตราว่างงานในไตรมาสที่ 2/2563 อย่างเป็นทางการ แต่ภาคธนาคาร อาทิ DBS ชี้ว่า สิงคโปร์มีอัตราว่างงานสูงขึ้น ร้อยละ 4.2 และคาดการณ์ว่าจะมีคนตกงานอีกกว่า 97,800 คน ภายในสิ้นปี 2563 นี้
[su_spacer]
นายแพทริก เทย์ (Patrick Tay) ผู้ช่วยเลขาธิการสภาแรงงานแห่งชาติ สิงคโปร์ (National Trade Union Council – NTUC) ให้ความเห็นว่า ตัวเลขการหดตัวทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในไตรมาสนี้ได้สร้างความวิตกกังวล (paints a Sombre and worrying outlook) แก่เศรษฐกิจสิงคโปร์ตลอดทั้งปี 2563 ซึ่งก่อนหน้านี้ MTI คาดการณ์ว่า GDP สิงคโปร์ในปีนี้จะหดตัวร้อยละ 4 ถึง 7 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ําที่สุดในประวัติศาสตร์สิงคโปร์
[su_spacer]
แนวโน้มทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2563
[su_spacer]
นายชาน ชุน ซิง (Chan Chun Sing) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม สิงคโปร์ ได้ให้ความเห็นใน Facebook ว่า หนทางสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในช่วงครึ่งปีหลังจะมีความท้าทายอย่างยิ่ง โดยรัฐบาลสิงคโปร์คาดการณ์ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะเป็นไปได้ช้าและไม่ราบรื่น (slow and uneven) เนื่องจากอุปสงค์จากต่างประเทศยังคงต่ําอยู่ และประเทศต่าง ๆ กําลังต่อสู้กับการแพร่ระบาดระลอกที่ 2 และ 3 ของ COVID-19 โดยหลายประเทศ/เขตบริหารพิเศษได้กลับมาใช้มาตรการ lockdown และมาตรการรักษาระยะห่างที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น
[su_spacer]
สําหรับการปรับทิศทางนโยบายทางการเงินของสิงคโปร์นั้น นักเศรษฐศาสตร์ภาคธนาคาร อาทิ Barclays ได้วิเคราะห์ว่า ธนาคารกลางสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore – MAS) จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง อัตราค่าเงินตราต่างประเทศของดอลลาร์สิงคโปร์ (ซึ่งปัจจุบันค่าเงินค่อนข้างอ่อน) ไปจนถึงอย่างน้อยเดือนตุลาคม 2563
[su_spacer]
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563 MAS ได้เปิดเผยผลสํารวจความคิดเห็นของภาคเอกชนในสิงคโปร์เกี่ยวกับการหดตัวของเศรษฐกิจสิงคโปร์ในปีนี้ โดยนักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า GDP ของสิงคโปร์จะเติบโตแบบหดตัวร้อยละ 5.8 ในปีนี้ (OCBC คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะหดตัวร้อยละ 5.5 และ DBS ร้อยละ 5.7)
[su_spacer]
ทั้งนี้ การหดตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2/2563 น่าจะเป็นการหดตัวที่รุนแรงที่สุดในรอบปีของ สป. หากไม่มีการระบาดในวงกว้างครั้งใหม่ และรัฐบาลสิงคโปร์ไม่ประกาศใช้มาตรการ Circuit Breaker อีกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 3 และ 4 มีแนวโน้มที่จะค่อย ๆ ฟื้นตัว จากการเปิดระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 63 ทําให้ภาคเอกชน และธุรกิจร้อยละ 90 สามารถกลับมาดําเนินกิจการได้แล้ว แม้จะยังคงมีข้อจํากัดตามมาตรการทางสาธารณสุข อาทิ การห้ามร่วมกลุ่มเกิน 5 คนในที่สาธารณะ/ในร้านอาหาร และการขอให้จัดเวรพนักงานทํางานที่บ้าน เป็นต้น
[su_spacer]
สาเหตุที่การหดตัวของภาคการก่อสร้างในสิงคโปร์สูงถึงร้อยละ 95.6 แบบ QoQ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ สถานการณ์การแพร่ระบาดในหอพักแรงงานต่างชาติ ทําให้ รง.สป. ต้องออกมาตรการกักกันตัวแรงงานต่างชาติภาคก่อสร้าง เกือบตลอดทั้งไตรมาสที่ 2/2563 โดยให้แรงงานในภาคก่อสร้างทั้งหมดหยุดงานและอยู่แต่ในหอพัก/สถานพยาบาล
[su_spacer]
กอปรกับการปิดพรมแดนสิงคโปร์ – มาเลเซีย ทําให้แรงงานภาคก่อสร้างบางส่วนจากมาเลเซียไม่สามารถเดินทางมาทํางานในสิงคโปร์ได้ นอกจากนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ยังประกาศระงับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ อาทิ โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหมายเลข (T5) ของท่าอากาศยานชางงี เป็นเวลา 2 ปี ดังนั้น ภาคการก่อสร้างของ สป. ในไตรมาสนี้จึงได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากที่สุด และเปรียบเสมือนตกอยู่ในสภาวะอัมพาตชั่วคราว แต่น่าจะสามารถค่อย ๆ ฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เนื่องจากจํานวนผู้ติดเชื้อฯ ในหอพักแรงงานที่ลดลง และรัฐบาลสิงคโปร์เริ่มผ่อนปรนให้แรงงานภาคก่อสร้างกลับมาทํางานได้บ้างแล้ว โดยวางแผนที่จะตรวจเชืhอฯ แรงงานในหอพักควบคุมทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2563
[su_spacer]
รัฐบาลสิงคโปร์พรรค PAP ถูกตั้งคําถามจากพรรคฝ่ายค้านเกี่ยวกับความโปร่งใสของการนําเงินทุนสํารองของประเทศ (Past Reserves) มาใช้ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และเยียวยาประชาชน โดยนําเงินทุนสํารองมาใช้มากถึง 52,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ จากงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งหมด 92,900 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งพรรคฝ่ายค้านขอให้รัฐบาลสิงคโปร์ชี้แจงการนําเงินทุนสํารองไปใช้อย่างละเอียดด้วย
[su_spacer]
สื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 ว่า รัฐบาลสิงคโปร์ทําได้ไม่ดีเท่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของประชาชนต่อพรรค PAP ที่ลดลง แม้ว่า PAP จะได้ที่นั่งในสภาจํานวนมากถึง 83 ที่นั่ง (และพรรค WP ได้เพียง 10 ที่นั่ง) แต่ผลการเลือกตั้งในหลายเขตฯ พบว่า พรรค PAP ชนะคะแนนเสียงพรรค WP แบบเสียงปริ่มน้ํา โดยเฉพาะเขต East Coast ซึ่งนาย Heng Swee Keat รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง (และ Candidate นรม.คน ต่อไป) ต้องเปลี่ยนมาลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตนี้ด้วยตนเอง แต่ก็ไม่ได้ชนะแบบขาดลอย
[su_spacer]