เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 สื่อท้องถิ่นของสิงคโปร์รายงานเรื่องความร่วมมือระหว่างบริษัท อสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์กับบริษัทเทคโนโลยีในสิงคโปร์ และรัฐบาลสิงคโปร์ ในการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ ทันสมัยมาใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ เพื่อส่งเสริมดิจิทัลภิวัฒน์ (digitalization) และการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
.
ภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (Built Environment) คือ สิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้นให้มีความเหมาะสมกับการดําเนินชีวิตของมนุษย์ เช่น การก่อสร้างที่คํานึงถึงความปลอดภัย การบริการด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น เป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงการใช้แรงงานสูง ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานอย่างมากจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 บริษัทต่าง ๆ จึงพยายามแก้ไขปัญหาโดยใช้นโยบาย digitalization เชิงรุกและนําโซลูซันเทคโนโลยีมาใช้ในการก่อสร้างและบํารุงรักษาอาคารมากขึ้นทั้งภาครัฐและเอกชน
.
ล่าสุด บริษัท GuOCOLand บริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในสิงคโปร์ ได้ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ กับบริษัทเทคโนโลยีท้องถิ่น โดยมีแผนเปิดตัวโครงการดิจิทัลในอุตสาหกรรมการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์มากกว่า 20 โครงการ ภายใน 2 ปี ซึ่งหน่วยงาน Enterprise Singapore (ภายใต้ MT สิงคโปร์) ได้สนับสนุนโครงการดังกล่าว พร้อมทั้งร่วมมือกับ SMEs และสตาร์ทอัพท้องถิ่นหลายแห่ง เพื่อในการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในอุตสาหกรรมดังกล่าว
.
เทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุดในอุตสาหกรรมการก่อสร้างและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
.
1. การควบคุมและตรวจสอบคุณภาพ (ร่วมมือกับสตาร์ทอัพ OpenVa Al) ในการนําโดรนพร้อมเครื่องสแกน ความร้อนแบบอินฟราเรดมาใช้ตรวจสอบการรั่วไหลของอากาศและน้ำในโครงสร้างภายนอกของอาคาร รวมถึงข้อบกพร่องอื่น ๆ จึงเป็นระบบที่ช่วยรับประกันคุณภาพสําหรับการก่อสร้างอาคารใหม่และการบํารุงรักษาอาคารเก่าเชิงรุก รวมทั้งนําเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้เพื่อระบุปัญหาโดยอัตโนมัติและดําเนินการตรวจสอบซ้ำ ๆ ซึ่งจะทําให้กระบวนการตรวจสอบมีความ คล่องตัวและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า
.
2. การจัดการการก่อสร้าง (ร่วมมือกับสตาร์ทอัพ Airsquire) ในการนํา AI มาใช้เพื่อรวมภาพที่ถ่ายในไซต์งาน ก่อสร้างโดยคนงานที่ใช้กล้อง 360 องศาให้เป็นแบบจําลองเสมือนจริงของไซต์งาน และผู้กํากับดูแลโครงการสามารถตรวจสอบเสมือนจริงจากระยะไกลและเปรียบเทียบความคืบหน้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการช่วยลดความแออัดในไซต์งาน
.
3. การจัดซื้อและการชําระเงิน (ร่วมมือกับ Fintech Doxa) ในการศึกษาโซลูชันการจัดซื้อแบบ end-to-end ตลอดจนแอปพลิเคชันเพื่อปรับปรุงการจัดการสิ่งอํานวยความสะดวก แพลตฟอร์มเหล่านี้จะช่วยขจัดข้อผิดพลาดของมนุษย์ และปรับปรุงประสิทธิภาพการทํางาน
.
4. การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน (ร่วมมือกับสตาร์ทอัพ SpaceAge Lobs) ในการนําเครื่องตรวจจับอัจฉริยะ (smart sensor) ระบบ Internet-of-Things (IoT) มาใช้เพื่อตรวจสอบไฟและมาตรวัดน้ำในบริเวณที่เข้าถึงยาก ระบบ AI และ sensor จะบันทึกรูปแบบการบริโภคตามปกติ และแจ้งเตือนผู้จัดการเมื่อเกิดความผิดปกติ เช่น การรั่วไหลของน้ำหรือโหลดไฟฟ้าที่ผิดปกติ ผู้จัดการยังสามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้งานซึ่งอัปเดตทุกชั่วโมงได้ด้วยตนเอง
.
5. การตรวจจับการล้มในบ้าน (ร่วมมือกับ บริษัท Groundup.ai) ติดตั้งกล้องในบ้านเพื่อจับภาพกิจกรรมในชีวิตประจําวันของผู้สูงอายุ จากนั้นระบบ AI จะสามารถคาดการณ์การหกล้มที่อาจเกิดขึ้นหรือตรวจจับอันตราย และรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปยังสมาชิกในครอบครัวได้ทันที
.
ภาครัฐกับการนําเทคโนโลยีมาใช้ในภาคอสังหาริมทรัพย์
.
หน่วยงานภาครัฐสิงคโปร์ เช่น Housing Board และ JTC ซึ่งดูแลที่ดิน อุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน ได้ใช้ภาพถ่ายจากโดรนและ AI ช่วยตรวจสอบอาคารและการบํารุงรักษาเชิงคาดการณ์ โดย JTC รายงานเมื่อปี 2563 ว่า เทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยลดระยะเวลาในการตรวจสอบอาคาร JTC Summit (ในย่าน Jurong) ที่มีความสูง 31 ชั้น หรือ 128 เมตร จากประมาณ 4 สัปดาห์เหลือแค่ 4 วัน ระหว่างการดําเนินการนําร่องร่วมกับ บริษัท H3 Zoom.AI
.
สํานักงานน้ำแห่งชาติสิงคโปร์ (Public Utilities Board – PUB) ประกาศเมื่อต้นปี 2564 ว่าจะติดตั้งมาตรวัดน้ำอัจฉริยะระบบ IoT จํานวน 300,000 ชิ้น ในที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรมใน 7 พื้นที่ทั่ว สิงคโปร์ ได้แก่ Tampines North, Tengan, Bukit Batok, Hoggang, Jurong West, Tampines และ Tuas
.
ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อสังเกต
.
AI ถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่สําคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21 และมีการแข่งขันสูงทั้งความสามารถและการ วิจัยทั้งในภาครัฐและเอกชน สิงคโปร์ได้กําหนดวาระแห่งชาติสําหรับ AI โดยการเผยแพร่ยุทธศาสตร์ AI แห่งชาติในปี 2562 (National AI Strategy 2019) และจัดตั้งสํานักงาน AI แห่งชาติ (National Al Office) ภายใต้สํานักงาน Smart Nation และรัฐบาลดิจิทัล (SNDG) อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการวิจัย นวัตกรรมและองค์กร (Research, Innovation and Enterprise – RIE2025)
.
สภาการวิจัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NRF) จะสนับสนุนเงินทุน 150 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ในระยะเวลา 5 ปี ในโครงการ AI Singapore ซึ่งมีสถาบันวิจัย สตาร์ทอัพ และภาคเอกชนด้าน AI ในสิงคโปร์เข้าร่วม เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ สร้างเครือข่ายในการผลิตนวัตกรรม AI ใหม่ ๆ และพัฒนาศักยภาพด้าน AI ของสิงคโปร์ในทุกด้าน ทั้งนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสําคัญกับโครงการดังกล่าวอย่างยิ่ง โดยนอกจาก NRF แล้ว ยังมีหน่วยงานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอีกจํานวนมาก เช่น SNDG EDB IMDA SGInnovate และ Integrated Health Information Systems ร่วม สนับสนุนและขับเคลื่อนโครงการด้วย
.
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าประเทศสิงคโปร์หันมาพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มากขึ้น โดยมุ่งเน้นการทดแทนแรงงานคนที่ขาดแคลนและการปฏิบัติการที่แม่นยำ ประเทศไทยที่มีศักยภาพเรื่องการส่งออกชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาจใช้โอกาสนี้เพิ่มมูลค่าส่งออกให้กับประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสของบริษัทสตาร์ทอัพด้านซอฟท์แวร์ในไทย ในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่กำลังเป็นที่ต้องการในธุรกิจเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในประเทศสิงคโปร์
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์