ด้วยเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2562 หนังสือพิมพ์ The Straits Times ได้นําเสนอข่าวเรื่อง GYM-ON-WHEELS นายตัน ฮุย เลง (Mr. TAN Hui Leng Ace) ผู้ฝึกสอนมวยไทยชาวสิงคโปร์ดําเนินธุรกิจแบบ one-man-show ให้บริการ “มวยไทยเคลื่อนที่” ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วสิงคโปร์และได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนท้องถิ่น (เอกสารแนบ) สรุปสาระสําคัญ ดังนี้
[su_spacer]
ภูมิหลังของนายตันฯ อายุ 46 ปี เคยเรียนมวยไทยในสิงคโปร์ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว และเมื่อเดือนธันวาคม 2561 ได้เดินทาง มารับการอบรมหลักสูตรมวยไทยโบราณของสมาคมครูมวยไทย จนได้รับประกาศนียบัตรครูมวยไทย ระดับผู้ช่วยครู ชั้น 11 (Trainer) จากนายชินวุธ ศิริสัมพันธ์ นายกสมาคมครูมวยไทย
[su_spacer]
นายตันฯ เคยประกอบธุรกิจกล้องวงจรปิด CCTV แต่ด้วยอุปสงค์ที่ลดลงจึงเปลี่ยนมาทําธุรกิจ “Fitstop” ภายใต้แนวคิด “Gym-on-Wheels” หรือ ยิมมวยไทยเคลื่อนที่ โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 45,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 1 ล้านบาท) เป็นค่าซื้อและดัดแปลงรถบรรทุก 40,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ และค่าออกแบบโลโก้และอุปกรณ์กีฬา 5,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ โดยนายตันฯ ตั้งใจที่จะเปิดคลาสสอนมวยไทยเคลื่อนที่ที่เข้าถึงได้ง่ายและราคาย่อมเยา (accessible and affordable)
[su_spacer]
ลักษณะธุรกิจ Fitstop รูปแบบและสถานที่ ภาพหลังใช้เวลาหลายเดือนในการสํารวจสถานที่รอบเกาะสิงคโปร์ โดยสังเกต สภาพแวดล้อมที่จะไม่รบกวนการเรียนและการออกกําลังกาย นายตันได้เลือกเปิดให้บริการมวยไทยเคลื่อนที่แบบชั้นเรียนกลุ่ม ใน 5 สถานที่ทั่วสิงคโปร์ ทั้งในศูนย์กีฬาและในสวนสาธารณะ ได้แก่ Jurong West Stadium, Bishan Stadium, Khatib Court, East Cost Park และ Sengkang Riverside Park โดยเปิดคลาสเรียนช่วงเย็นของวันจันทร์ – เสาร์ และช่วงเช้า ของวันอาทิตย์ ทั้งนี้ นอกจากคลาสมวยไทยแล้ว Fitstop ยังเปิดสอนการออกกําลังกายแบบอื่นเสริมด้วย อาทิ shadow boxing, sandbag workouts, cross-fit bas circuit training
[su_spacer]
สำหรับค่าสมาชิกและค่าเรียน จากรายงานข่าว นายตันฯ ไม่คิดค่าสมาชิกผู้เข้าเรียนเหมือนศูนย์ฟิตเนส ทั่วไป และค่าเรียนแต่ละคลาสจะถูกกว่าศูนย์ฟิตเนสถึงครึ่งหนึ่ง ทําให้มีผู้สนใจเข้าเรียนจํานวนมาก ทั้งนี้ ความนิยม ปัจจุบัน Fitstop มีผู้เข้าเรียนกว่า 100 คน ตั้งแต่อายุ 6 – 50 ปี (ภาพประกอบ) 3. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อสังเกต
[su_spacer]
Fitstop / Gym-on-Wheels เป็นแนวคิดทางธุรกิจที่สร้างสรรค์และสะท้อนถึงความนิยมมวยไทย ในต่างประเทศ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตของประชาชนในเมือง (รวมทั้งกรุงเทพฯ) ซึ่งประสบปัญหาไม่มีเวลาไปออกกําลังกาย หรือการจราจรติดขัดจนไม่ต้องการเสียเวลาเดินทางไปศูนย์ฟิตเนสฯ และค่าสมาชิกศูนย์ฟิตเนสฯ ในเมืองมีราคาแพง
[su_spacer]
แนวคิดดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นักธุรกิจด้านมวยไทยของประเทศไทย สามารถขยายโอกาสในการเปิดสอนมวยไทยหรือฝึกสอนครูมวยไทยในต่างประเทศในลักษณะที่เข้าถึงชุมชน โดยอาจเริ่มจากการทดลองตัวแบบธุรกิจนี้ในกรุงเทพฯ หรือเขตเมืองในไทย (จากผลสํารวจของ ร้อยละ 52.8 ของประชากรกรุงเทพฯ ให้เหตุผลที่ไม่เล่นกีฬาหรือออกกําลังกายว่าไม่มีเวลา – จากผลสํารวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ปี 2554 และ 2558) ซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่พบการสอนมวยไทยแบบเคลื่อนที่ที่ครบวงจรในกรุงเทพฯ หรือในประเทศต่าง ๆ มากนัก
[su_spacer]