เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 The Business Times ได้เผยแพร่บทความของ นาย Rod Bristow CEO บริษัท Investible เกี่ยวกับ การผลักดันนวัตกรรมด้าน climate-tech ของสิงคโปร์ โดยสรุปสาระสําคัญ ดังนี้
1. ปัจจัยภายในที่ทําให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลาง climate-tech ประกอบด้วย 5 ปัจจัยสําคัญ ได้แก่ (1) นโยบายเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘Singapore Green Plan 2030’ ซึ่งมีแผนดําเนินงานในการส่งเสริมการลดปริมาณขยะและการปล่อยก๊าซคาร์บอนอย่างเป็นรูปธรรม (2) มีสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีสภาพภูมิอากาศ เช่น GetSolar (บริษัทผู้พัฒนาระบบพลังงานแสงอาทิตย์) TeOra (บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพ) และ WasteX (บริษัทด้านถ่าน ชีวภาพ) (3) การจัดหาแหล่งเงินเพื่อการพัฒนา โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2566 สตาร์ทอัพด้าน climate-tech ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถระดมทุนได้ถึง 685 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยร้อยละ 58 ของมูลค่าการระดมทุนดังกล่าวอยู่ในสิงคโปร์ (4) ระบบนิเวศที่สนับสนุนนวัตกรรมและสตาร์ทอัพ ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์มีบทบาทนําในการดึงดูดผู้มีความรู้ความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากต่างประเทศโดยมีโครงการวีซ่า TechPass รวมถึงมีกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดที่สุดในโลก ซึ่งช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันและดึงดูดนักลงทุน และ(5) สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการค้าที่มีทําเลที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์ที่มีศักยภาพสูงจึงมีฐานลูกค้าที่มีศักยภาพสําหรับ climate-tech และเป็นสะพานเชื่อมไปยังตลาดสําคัญอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. ปัจจัยภายนอกที่ส่งเสริมโอกาสให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลาง climate-tech ได้แก่ (1) แนวโน้มและความต้องการของโลกต่อการลดคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทาน โดยสิงคโปร์เข้าใจถึงความเปราะบางของห่วงโซ่อุปทานต่อภาษี คาร์บอนและข้อบังคับ จึงเป็นโอกาสสําหรับ climate-tech ในการทําให้ห่วงโซ่อุปทานมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับกฎระเบียบ (2) ทางเลือกแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งสิงคโปร์มีเป้าหมายว่าจะไปสู่จุดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงที่สุด ระหว่างปี 2568 – 2571 ก่อนที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซลงจนสามารถบรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2593 (3) การสร้างพันธมิตรเพื่อความร่วมมือ โดยสิงคโปร์กับออสเตรเลียมีระบบนิเวศที่คล้ายคลึงกัน ทั้งสองประเทศจึงได้หารือถึงความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม
3. ขั้นตอนสู่การเป็นศูนย์กลาง climate-tech ของสิงคโปร์ โดยวางแผนและดําเนินการในภูมิภาค 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การสรรหาและพัฒนาบุคลากร แก้ไขการขาดแคลนบุคลากรที่สําคัญโดยดึงดูดและสร้างทักษะเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการยกระดับหลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรม (2) การปรับนโยบายให้สอดคล้องกับมาตรฐานโลกเพื่อสร้างโอกาสในการสร้างนวัตกรรมที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยร่วมมือกับพันธมิตรระหว่างประเทศเพื่อสร้างกรอบการทํางานที่สอดคล้องและส่งเสริมซึ่งกันและกัน (3) การสร้างความร่วมมือภายในประเทศเพื่อส่งเสริมการลงทุนในสตาร์ทอัพผ่านโครงการระดมทุนและสิ่งจูงใจที่มีเป้าหมายเฉพาะ (4) การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น ออสเตรเลียที่กําลังพัฒนาโซลูชันเทคโนโลยีด้านสภาพภูมิอากาศ การอํานวยความสะดวก ในการแลกเปลี่ยนความรู้และโครงการความร่วมมือเพื่อเร่งการสร้างนวัตกรรม (5) การสร้างระบบนิเวศที่สนับสนุนและเพิ่มเครือข่ายระหว่างหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ ตัวเร่งธุรกิจ และสถาบันวิจัยเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสตาร์ทอัพกับบริษัทที่มี ชื่อเสียงและสถาบันการศึกษา
4. ความท้าทายของสิงคโปร์ในการเป็นศูนย์กลาง climate-tech มาจากการที่สิงคโปร์มีทรัพยากรธรรมชาติที่จํากัดและตลาดภายในประเทศมีขนาดเล็ก ซึ่งส่งผลให้ (1) ขาดแคลนบุคลากร แม้จะมีโครงการวีซ่า TechPass แต่ สิงคโปร์ยังคงเผชิญกับการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญและสตาร์ทอัพด้าน climate-tech ที่ต้องการทักษะเฉพาะทางสูง (2) ต้นทุนการดําเนินงานสูง ผลสํารวจของสมาพันธ์ธุรกิจสิงคโปร์ พบว่าร้อยละ 58 ของธุรกิจเห็นว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในการดําเนินงานเป็นความท้าทายอันดับหนึ่ง โดยกว่าร้อยละ 53 การจัดหาบุคลากรเป็นปัญหาสําคัญของการพัฒนา climate-tech (3) โอกาสในการสร้างนวัตกรรมที่ไม่ชัดเจน ซึ่งนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศทั่วโลกเป็นอุปสรรคต่อสตาร์ทอัพด้าน climate-tech ของสิงคโปร์ ในการวางแผนดําเนินธุรกิจที่ชัดเจนเพื่อขยายธุรกิจไปสู่ระดับโลกและทําให้การคิดค้นนวัตกรรมทําได้ยากมากขึ้น นอกจากนี้ ความพร้อมของระบบนิเวศทางเทคโนโลยีของสิงคโปร์จําเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มเติมด้วย โดยปัจจุบันเงินลงทุนในธุรกิจด้าน climate-tech ยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับภาคส่วนอื่น
ข้อมูล : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสิงคโปร์