Thursday, May 29, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

กลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในสิงคโปร์และเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ

15/02/2022
in ทันโลก, เอเชีย
0
กลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในสิงคโปร์และเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ
1
SHARES
370
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ภาคการผลิตเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เผชิญกับความท้าทายมากที่สุด โดยเฉพาะปัญหาการหยุดชะงักของวงจรการผลิตและการขาดช่วงของห่วงโซ่อุปทานแบบเฉียบพลัน (supply shock) นาย Amitabh Sarkar รองประธานและหัวหน้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท Tata Communications สำนักงานสิงคโปร์ จึงเสนอการปฏิรูปกลยุทธ์ดิจิทัลเพื่อให้ธุรกิจคล่องตัวยิ่งขึ้น ตามรายละเอียดดังนี้
.
การจัดลำดับความสำคัญในการผลิตและความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น
ประเด็นแรก คือ การเสริมสร้างความยืดหยุ่นของห่วงโซ่การผลิตและห่วงโซ่อุปทานยังคงมีความสำคัญลำดับต้นสำหรับผู้ผลิต โดยจะต้องมองภาพระยะยาวไปถึงช่วงหลังยุคโควิด-19 ซึ่งผู้ผลิตต้องกระจายความหลากหลายของกระบวนการผลิต (operations) และซัพพลายเออร์ (supplier portfolio) มากขึ้น
.
ประเด็นต่อมา คือ พัฒนาผลิตภัณฑ์และกระจายอำนาจการตัดสินใจ โดยหากผู้ประกอบการสามารถเพิ่มความยืดหยุ่นของกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทานได้แล้ว ก็จะช่วยให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายขึ้น ทั้งยังสามารถกระจายอำนาจในการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนทำงานเฉพาะทางบางอย่าง เช่น วิศวกรออกแบบอาจเผชิญกับความท้าทายจากการต้องสื่อสารและประสานงานทางไกลกับทีมงานที่ประจำอยู่คนละพื้นที่
.
ประเด็นสุดท้าย คือ การเสริมสร้างระบบการรักษาความปลอดภัย ทั้งทางกายภาพและไซเบอร์เพื่อป้องกันความเสียหายร้ายแรงต่อกระบวนการผลิต เช่น การโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญาผ่านระบบไซเบอร์ การเรียกค่าไถ่ทางไซเบอร์ (Ransomware) เป็นต้น ซึ่งเมื่อภาคการผลิตเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัลมากขึ้น จึงกลายเป็นเป้าหมายการโจมตีของอาชญากรไซเบอร์ซึ่งขยายตัวขึ้นเช่นกัน
.
การทบทวนและปฏิรูปกลยุทธ์ดิจิทัล
ผู้ผลิตสามารถพิจารณาเพื่อปรับปรุงระบบนิเวศดิจิทัล (digital ecosystem) และโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีขีดความสามารถพร้อมสำหรับอนาคตตาม “กลยุทธ์ดิจิทัล 4 ประการ” ดังนี้
.
1.การสร้างรากฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่ง
ผู้ผลิตควรปรับปรุงระบบห่วงโซ่คุณค่า (value chains) ทั้งหมดให้เป็นดิจิทัลเพื่อความสะดวกและคล่องตัว ตั้งแต่ห่วงโซ่อุปทานไปจนถึงโรงงาน การจัดหาลูกค้า และการบริการลูกค้า ผู้ผลิตต้องวางแผนก่อนว่าจะวางรากฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่งเพื่อรองรับเทคโนโลยีในปัจจุบันและความคิดริเริ่มด้านดิจิทัลในอนาคตได้อย่างไร ซึ่งรวมถึงการสร้างสถาปัตยกรรมไฮบริดเพื่อเพิ่มศักยภาพของเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น AI และ IoT และการผสมผสานระบบดิจิทัลใหม่เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิม
.
2.การใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ภาคการผลิตสามารถใช้ประโยชน์จากระบบอัจฉริยะในการแปลงข้อมูลเชิงลึกให้เป็นข้อมูลนำไปใช้ปรับปรุงทุกแง่มุมของธุรกิจ เช่น 1) ระบบการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากแบบทันทีในกระบวนการผลิต โดยใช้ IoT ผสมผสานกับคลาวด์ 2) ระบบการแยกแยะปัญหาในสายพานการผลิตได้อย่างรวดเร็ว 3) ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพเครื่องจักรอย่างทันท่วงทีเพื่อวางแผนการบำรุงรักษาตามกำหนดการผลิต และป้องกันการหยุดชะงักโดยไม่คาดคิด
.
3.การใช้แพลตฟอร์มการสื่อสารและการทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ
การทำงานผ่านระบบทางไกลจะยังคงอยู่ต่อไปในระยะยาวในช่วงหลังโควิด-19 ผู้ผลิตจึงควรมีแพลตฟอร์มศูนย์กลางการทำงานผ่านระบบทางไกลร่วมกันที่มีฟังก์ชันหลากหลาย ทั้งการส่งข้อความ ข้อความเสียง และวีดิทัศน์ เพื่อให้พนักงานและคู่ค้าทำงานได้อย่างราบรื่นในทุกขั้นตอน เวลา และสถานที่ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการกระจายผลิตภัณฑ์สู่ตลาด
.
4.การสร้างระบบการรักษาความปลอดภัยในทุกสถานที่
เป็นแนวคิดด้านความมั่นคงปลอดภัยรูปแบบใหม่ เพื่อให้พนักงานเข้าถึงแอปพลิเคชันและข้อมูลของบริษัทได้อย่างปลอดภัย โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ อุปกรณ์ หรือการเชื่อมต่อเครือข่ายบรอดแบนด์ ผู้ผลิตควรจะมีระบบปฏิบัติการเชิงรุกในการติดตามและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัย ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถตรวจสอบกิจกรรมที่ผิดปกติในระบบได้อย่างต่อเนื่องทั่วถึง และลดเวลาในการตอบสนองเมื่อเกิดการโจมตีระบบ
.
โอกาสของผู้ประกอบการไทย
ผู้ประกอบการภาคการผลิตในประเทศไทยสามารถปรับใช้แนวคิดและกลยุทธ์ดังกล่าวในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ความคล่องตัว และประสิทธิภาพการทำงานในบริษัทตามความเหมาะสมของเงื่อนไขและขนาดของบริษัท การดำเนินการตามกลยุทธ์ดังกล่าวสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลไทยว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 และเป้าหมายการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจจากการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation Drive Economy) ต่อไป
.
 

ข้อมูล: สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์

เรียบเรียง :  ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์

.
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.businesstimes.com.sg/asean-business/readying-manufacturers%E2%80%99-digital-ecosystem-for-the-disrupted-future

Previous Post

สถานการณ์เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 2564 และแผนการผลักดันเศรษฐกิจในปี 2565

Next Post

The heart of Nintendo’s new console isn’t the Switch

Tanakorn

Tanakorn

Glob Thailand Administrator

Next Post

The heart of Nintendo's new console isn't the Switch

Post Views: 1,633

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

กว่างซีจ้วงเร่งเครื่องเศรษฐกิจสีน้ำเงิน โอกาสใหม่ของไทยในยุทธศาสตร์ทะเลจีน

กว่างซีจ้วงเร่งเครื่องเศรษฐกิจสีน้ำเงิน โอกาสใหม่ของไทยในยุทธศาสตร์ทะเลจีน

23/05/2025
เขต YRD ทะยานสู่ผู้นำโลกหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ และโอกาสความร่วมมือกับไทย ตอนที่ 3

เขต YRD ทะยานสู่ผู้นำโลกหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ และโอกาสความร่วมมือกับไทย ตอนที่ 3

22/05/2025
เจาะตัวเลขการค้าหูหนาน ไตรมาสแรก 2568

เจาะตัวเลขการค้าหูหนาน ไตรมาสแรก 2568

22/05/2025
ทิศทางความเคลื่อนไหวด้านพลังงานนิวเคลียร์ของไต้หวัน

ทิศทางความเคลื่อนไหวด้านพลังงานนิวเคลียร์ของไต้หวัน

22/05/2025
“โปรตีนทางเลือก” โอกาสสำหรับธุรกิจอาหารเพื่อความยั่งยืนในสิงคโปร์

“โปรตีนทางเลือก” โอกาสสำหรับธุรกิจอาหารเพื่อความยั่งยืนในสิงคโปร์

22/05/2025
สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาเดิน-เวือรืทเทิมแบร์ค

สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาเดิน-เวือรืทเทิมแบร์ค

22/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X