เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 63 นาย Heng Swee Kiat รองนายกรัฐมนตรีประเทศสิงคโปร์ ได้แถลงงบประมาณช่วยเหลือและเยียวยาประชาชนเพิ่มเติมเป็นครั้งที่ 3 (ในรอบ 48 วัน) โดยใช้ชื่อว่า Solidarity Budget สาระสําคัญ ดังนี้
[su_spacer]
เหตุผลและความจําเป็นที่ต้องออกมาตรการอย่างเร่งด่วน
[su_spacer]
- รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์. กล่าวต่อที่ประชุมรัฐสภาถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลก รัฐบาลสิงคโปร์ได้ออกมาตรการ Circuit Breaker เพื่อให้ภาคเอกชนทั้งหมดปิด สำนักงาน/ห้างร้าน และให้พนักงานทํางานที่บ้าน ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. – 4 พ.ค. 63 ยกเว้น หน่วยงานที่เป็น essential servicgหรือที่มี ความสําคัญต่อห่วงโซ่อุปทานโลก โดยรัฐบาลสิงคโปร์ขอให้ประชาชนทั้งหมดอยู่บ้านให้มากที่สุด
- มาตรการ Circuit Breaker ย่อมส่งผลโดยตรงต่อภาคเอกชนและประชาชนสิงคโปร์เป็นอย่างยิ่ง โดย นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์กล่าวว่า “ถือเป็นช่วงเวลาที่เจ็บปวดและทรมานของสิงคโปร์และชาวสิงคโปร์จะเริ่มตั้ง คําถามเกี่ยวกับความอยู่รอดและอนาคตของตนเอง ดังนั้นรัฐบาลสิงคโปร์จึงจําเป็นต้องออกมาตรการเยียวยาเพิ่มเติม เพื่อให้ (1) ประชาชนอยู่รอด (2) ภาคเอกชนไม่ไล่ พนักงานออก และ (3) ลดภาระด้านภาษีของเอกชนและประชาชน ในช่วง 1 เดือนของมาตรการนี้
- ประธานาธิบดีสิงคโปร์ นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์และรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์จึงได้หารือกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับความจําเป็นที่ ต้องออกงบประมาณช่วยเหลือเยียวยาประชาชนรอบที่ 3 (Solidarity Budget) จํานวน 5.1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์อย่างเร่งด่วน เพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่รอดได้ในช่วง 1 เดือนของ circuit breaker measures โดย งปม.ฯ แบ่งเป็น (1) เงินช่วยเหลือ ภาคเอกชน 4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งจะมาจากเงินสดสํารองของประเทศและ (2) เงินช่วยเหลือประชาชนแบบให้เปล่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งจะมาจากการผันงบประมาณประจําปีของรัฐบาลสิงคโปร์
[su_spacer]
สาระสําคัญของงบประมาณ Solidarity Budget แบ่งเป็นมาตรการสําคัญ 2 ด้าน ได้แก่ (1) การช่วยเหลือ/เยียวยาประชาชนเพิ่มเติม และ (2) การช่วยเหลือภาคเอกชนและแรงงาน
[su_spacer]
1.มาตรการช่วยเหลือ/เยียวยาประชาชน จํานวน 1.1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
[su_spacer]
- รัฐบาลสิงคโปร์จะจ่ายเงินแบบให้เปล่า 1 ครั้ง จํานวน 600 ดอลลาร์สิงคโปร์/คน แก่คนชาติสิงคโปร์ทุกคนที่มีอายุ 21 ปีหรือมากกว่า โดยจะโอนเงินเข้าบัญชีภายในวันที่ 14 เม.ย. 63 หรือจ่ายเช็คภายในวันที่ 30 เม.ย. 63 ซึ่ง รองนายกรัฐมนตรีเรียกเงินช่วยเหลือนี้ในภาษาจีนว่า เงินสดช่วยเหลือแก่ “ผู้ร่วมฝ่าวิกฤตบนเรือลําเดียวกัน”
- Permanent Residents ในสิงคโปร์ที่มีผู้ปกครอง คู่สมรส หรือบุตรสัญชาติสิงคโปร์และผู้ถือ long-term visit pass ที่มีคู่สมรสเป็นชาวสิงคโปร์สามารถยื่นขอเงินช่วยเหลือ Solidarity Payment จํานวน 300 ดอลลาร์สิงคโปร์/คน ในเดือน เม.ย. 63
[su_spacer]
2.มาตรการช่วยเหลือภาคเอกชนและแรงงาน จํานวน 4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ได้แก่
[su_spacer]
- การอุดหนุนเงินเดือนร้อยละ 25 – 75 ของเงินเดือน 4,600 ดอลลาร์สิงคโปร์แรก สําหรับ ลูกจ้าง ชาวสิงคโปร์ทุกคนในเดือน เม.ย. 63 เป็นเวลา 1 เดือนเต็ม แบ่งเป็น (แรงงานในธุรกิจการบิน โรงแรม และการท่องเที่ยว ได้รับร้อยละ 75 ของเงินเดือน แรงงานในธุรกิจอาหารได้รับร้อยละ 50 ของเงินเดือน และแรงงานในภาคอื่น ๆ ได้รับร้อยละ 25 ของเงินเดือน)
- การยกเว้นภาษีแก่นายจ้างที่จ้างแรงงานต่างชาติ (Foreign Worker Levy ในเดือน เม.ย. 63 เป็นเงิน 750 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อลูกจ้าง 1 คน (Work Permits/S Pass)
- การอุดหนุนผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่มีรายได้น้อยกว่า 21,000 ดอลลาร์สิงคโปร์/ปี ให้ได้รับ เงินอุดหนุน เดือนละ 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ เป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ได้รับเงินอุดหนุนนี้กว่า 100,000 คน (เพิ่มขึ้น จากเดิมที่กําหนดให้ผู้มีรายได้น้อยกว่า 13,000 ดอลลาร์สิงคโปร์/ปี ถึงจะได้รับเงินอุดหนุนนี้) โดย รบ. สิงคโปร์จะจ่ายเป็น รายไตรมาส ในเดือน พ.ค. ก.ค. และ ต.ค. 63 (ไตรมาสละ 3,000 ดอลลาร์สิงคโปร์/คน)
- รบ.สป.จะรับภาระความเสียงของเงินกู้ ในอัตราร้อยละ 90 ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ ที่ปล่อยเงินกู้ให้ภาคเอกชน (Government’s Risk Share for Loan) ระหว่างวันที่ 8 เม.ย. 63 – 31 มี.ค. 64 ใน 3 โครงการ ได้แก่ (1) Temporary Bridging Loan Programme (2) Enterprise Financing Scheme (EFS) Working Capital Loan Programme และ (3) EFS-Trade Loan (เพิ่มจากเดิมที่จะรับความเสียงร่วมที่ร้อยละ 80)
- การยกเว้นค่าเช่าสํานักงานสําหรับภาคเอกชน อุตสากรรม และเกษตรกรรมบนพื้นที่ ของรัฐ 1 เดือนเต็ม (เพิ่มจากเดิมที่จะยกเว้นค่าเช่าเพียงครึ่งเดือน)
- การจ่ายคืนภาษีที่ดินร้อยละ 100 สําหรับการเช่าพื้นที่ที่ไม่ใช่เคหสถาน/ที่พักอาศัย ประจําปี 2563 โดย รบ.สป.นํา กฎหมาย COVID-19 (Temporary Measures) Bi ผ่านรัฐสภาเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 53
[su_spacer]
การดําเนินการของหน่วยงานด้าน ศก. หลังการประกาศมาตรการ Circuit Breaker
[su_spacer]
นาย Chan Chun Sing รมว.การค้า/อุตสาหกรรมสิงคโปร์ได้ประชาสัมพันธ์ ผ่าน Facebook ส่วนตัวให้ประชาชน ไปรับหน้ากากผ้า (reusable mask) ตามศูนย์บริการชุมชนต่าง ๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คนละ 1 ผืน ระหว่างวันที่ 5-12 เม.ย. 63) (https://www.maskgowhere.gov.sg/) ทั้งนี้ รมว.การค้า/อุตสาหกรรมสิงคโปร์ ให้เหตุผลที่ไม่ส่งหน้ากากให้ประชาชนทาง ไปรษณีย์แทนการเดินทางออกมาที่ศูนย์ฯ เพราะว่าไม่ใช่ประชาชนทุกคนที่ประสงค์ขอรับหน้ากากผ้า จากสถิติการแจก หน้ากากอนามัย (Surgical mask) เมื่อเดือน ก.พ. 63 พบว่า มีประชาชนกว่าร้อยละ 30 ไม่เดินทางมารับหน้ากากอนามัย ดังนั้น การแจกหน้ากากผ้าทางไปรษณีย์จะเป็นการแจกจ่ายทรัพยากรที่มีค่าอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
[su_spacer]
นอกจากนี้ รมว.การค้า/อุตสาหกรรมสิงคโปร์ ได้นําร่างกฎหมายเตรียมการเลือกตั้งทั่วไปในช่วงการ ระบาดของ COVID-19 (COVID-19 Special Arrangements Bin) เสนอให้ที่ประชุมรัฐสภาสิงคโปร์พิจารณา เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 63 โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับแนวปฏิบัติด้านการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในช่วงที่ยังมีการระบาดของ COVID-19 เช่น ผู้ถูกสั่งให้ State Quarantine จะต้องไม่ไปเขตเลือกตั้ง แต่จะไม่เสียสิทธิทางการเมือง หรือการจัดสถานที่สําหรับผู้ถูก สั่ง Stay-Home Notice นอกเขตเลือกตั้ง และการกําหนดให้ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งต้องถอดหน้ากากในเขตเลือกตั้ง เพื่อพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล เป็นต้น ทั้งนี้ กม.ดังกล่าวระบุชัดเจนว่าสิงคโปร์ จะต้องจัดการเลือกตั้งก่อนวันที่ 14 เม.ย. 64 โดย นักวิชาการและสื่อมวลชนหลายสํานักเห็นว่า รบ.สิงคโปร์ น่าจะจัดการเลือกตั้งในปลายปีนี้ (อย่างเร็วที่สุดในเดือน มิ.ย. 63 หลังการถือศีลอดประจําปี) ซึ่งที่ประชุมรัฐสภาฯ จะหารือเพื่อแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าวในการประชุมครั้งต่อไป
[su_spacer]
องค์กรการเงินแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore) หรือ ธนาคารกลางของสิงคโปร์ ได้เริ่มปรับลดเงื่อนไขการปล่อยเงินกู้แก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการช่วยเหลือของ รบ. ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. 53
[su_spacer]
รมว. แรงงานสิงคโปร์ อยู่ระหว่างการเร่งแก้ไขปัญหาการติดเชื้อ COVID-19 ในหอพักแรงงานขนาดใหญ่ (จากสถิติวันที่ 8 เม.ย. 63 มีแรงงานต่างชาติติดโรค COVID-19 จํานวน 40 คนในวันเดียว) ซึ่งมีแรงงานติดเชื้อ COVID-19 3 ใน 3 หอพักแรงงาน ทั้งนี้ มีแรงงานไทยติดเชื้อ 1 ราย และ สอท.ฯ โดย สิงคโปร์ติดตามให้ความ ช่วยเหลือแรงงานไทยอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อชาวไทยรายที่ 3 ที่ถือใบอนุญาตทํางานในสิงคโปร์ และเป็นคนแรกที่พัก ในหอพักแรงงานและเข้ารับการรักษาตัวที่ รพ. กลางสิงคโปร์ (Singapore General Hospital)
[su_spacer]
Enterprise Singapore (ESG) และการท่องเที่ยวแห่งสิงคโปร์(STB) ได้ตรวจสอบการปฏิบัติตาม มาตรการ Circuit Breaker ของภาคเอกเชนกว่า 10,700 แห่งในสิงคโปร์ โดยธุรกิจ 10 ประเภทที่ต้องหยุดให้บริการ/ปิดร้าน เช่น ร้านค้าปลีกทั่วไป ร้านรับแลกเงิน ร้านขายโทรศัพท์มือถือ ร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ร้านขายเครื่องครัว และร้าน ขายเครื่องเขียน ESG และ STB จะส่ง “safe distancing ambassadors 200 คน ไปตรวจสอบห้างสรรพสินค้า 67 แห่ง และร้านอาหาร 9,700 แห่งด้วย ทั้งนี้ ตามกฎหมาย COVID-19 (Temporary Measures) Act (7 เม.ย. 63) ธุรกิจที่ฝ่าฝืน มาตรการ Circuit Breaker ครั้งแรกจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจําทั้งปรับ และการฝ่าฝืนครั้งต่อ ๆ ไปจะมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์หรือจําคุกไม่เกิน 12 เดือน หรือทั้งจําทั้งปรับ
[su_spacer]
ในด้านสังคม กรม ประชาสัมพันธ์สิงคโปร์ (IMDA) ได้จัดมาตรการรองรับการอยู่บ้านของประชาชนและเด็กนักเรียน อาทิ การเปิดช่องรายการโทรทัศน์ฟรีเพิ่มขึ้นทั้งสําหรับเด็กและผู้ใหญ่ และการส่งเสริม digital Connectivity ในรูปแบบต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ออก application ตรวจสอบความหนาแน่นของประชาชนในทุกพื้นที่ (https://www.spaceout.gov.sg/)
[su_spacer]
ข้อมูลเพิ่มเติม
[su_spacer]
- เมื่อนํางบประมาณ Solidarity Budget จํานวน 5.1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์มารวมกับ Unity Budget (18 ก.พ. 63) จํานวน 6.4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์และ Resilience Budget (26 มี.ค. 63) จํานวน 48.4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์วมเป็น 60 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์คิดเป็นร้อยละ 12 ของ GDP สิงคโปร์โดยจะนําเงินทุนสํารองของประเทศ มาใช้ทั้งสิ้น 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์สิงคโปร์ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ของสิงคโปร์
- เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 63 รอง นรม./รมว.คลัง ได้แถลงเพิ่มเติมต่อรัฐสภาสิงคโปร์เกี่ยวกับงบประมาณ ช่วยเหลือเยียวทั้งหมด โดยขอความร่วมมือนายจ้างให้คงการจ้างงานไว้ และให้ประชาชนทุกคนทําหน้าที่ของตนเอง ให้ดีที่สุด (คือการอยู่บ้านให้มากที่สุดเป็นเวลา 1 เดือน) พร้อมทั้งให้ความเห็นว่า ในที่สุดสถานการณ์นี้จะผ่านพ้นไป โดยอาจใช้เวลา 1 – 2 ปีสิงคโปร์ควรจะเริ่มวิเคราะห์สถานการณ์ของโลกหลังการแพร่ระบาดฯ เตรียมความพร้อมของประเทศ ที่จะมุ่งไปข้างหน้า และเตรียมการรับมือกับวิกฤติการณ์ในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ
- นาย Ronald Ng ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมจีน/สิงคโปร์ (SCCCI) เห็นว่า งปม. Solidarity Fund เป็นมาตรการเยียวยาอย่างทันท่วงที เนื่องจากในช่วง 1 เดือนต่อจากนี้จะเป็นช่วงเวลาที่เจ็บปวดต่อ ศก. สิงคโปร์และ กระทบต่อการใช้ชีวิตของคนสิงคโปร์อย่างมาก ขณะที่นาย Ho Meng Kit, CEO ของ สภาธุรกิจสิงคโปร์(SBF) สนับสนุนการ ออกมาตรการเยียวยาดังกล่าว โดยเห็นว่าเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดของภาคเอกชนและประชาชนสิงคโปร์เพื่อให้ รอดพ้นวิกฤตในช่วง Circuit Breaker Measures ไปด้วยกัน
[su_spacer]
ทั้งนี้ มาตรการต่าง ๆ ของสิงคโปร์ทั้งด้านสาธารณรสุขและด้าน ศก. เป็นการดําเนินการที่ใกล้เคียงกับ แนวทางที่ธนาคารโลกเสนอแนะให้ภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกพิจารณาดําเนินการ (World Bank East Asia and Pacific Update April 2020: East Asia Pacific in the Time of COVID-19) โดยให้ใช้ combination ของ public heath, fiscal, monetary and other financial measures เพื่อ flatten ทั้ง pandemic Curve และ recession Curve ควบคู่กันไป แต่ในลักษณะที่ “non-Compartmentalized” (ดังกราฟตามเอกสารแนบ) เนื่องจากทั้ง 2 curves (และมาตรการที่เกี่ยวข้อง) จะมีผลกระทบซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ แนวทางการดําเนินการของสิงคโปร์และมาตรการต่าง ๆ ที่นํามาปฏิบัติในการนี้มีเป้าหมายสําคัญอีก 2 เป้าหมาย คือ (1) การรักษา business Continuity ของเอกชนสิงคโปร์พร้อมกับการใช้วิกฤตินี้เป็นโอกาส โดยการ re-train และ upgrade Competitiveness ของเอกชนสิงคโปร์ เพื่อให้สามารถ ฟื้นตัวได้เร็วที่สุดในช่วง Post-COVID-19 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค และ (2) การเสริมสร้าง grass roots Support ให้กับรัฐบาลในช่วงที่อาจมี social discontent ต่อมาตรการด้านสาธารณสุขที่เข้มงวด โดยมีมาตรการเยียวยา ด้านเศรษฐกิจจํานวนมาก ทั้งนี้ เพื่อหาประโยชน์ในการเตรียมการสําหรับการเลือกตั้งทั่วไป
[su_spacer]
ในช่วงที่ผ่านมา นรม.สิงคโปร์ และ รอง นรม./รมว.คลังสิงคโปร์ได้กล่าวในการให้สัมภาษณ์และ ในโพสต์บน Facebook ส่วนตัวหลายครั้งว่าการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ประเทศต่าง ๆ ยังคงต้องใช้เวลา อีกนานนับปี ดังนั้น รบ. สิงคโปร์จึงเริ่มเตรียมการการเลือกตั้งทั่วไปในช่วงการระบาดของ COVID-19 ซึ่งน่าจะมีการยุบสภา เพื่อจัดการเลือกตั้งในช่วงกลาง – ปลายปีนี้ แต่จะมีการเปลี่ยนผ่านอํานาจอย่างแท้จริงในช่วงกลาง – ปลายปีหน้า ซึ่ง กกต.สิงคโปร์(Elections Department – ELD) ชี้แจงว่า การนําร่างกฎหมายฯ ดังกล่าวให้ ทปช. รัฐสภาสิงคโปร์ ก็เพื่อ เป็นการเตรียมการแต่เนิ่น ๆ แต่มิได้เป็นการส่งสัญญาณว่าจะมีการเลือกตั้งในเร็ว ๆ นี้ โดยอํานาจการกําหนดวันเลือกตั้ง ทั่วไปเป็นของ นรม. สิงคโปร์ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสิงคโปร์จะต้องวางแผนและเตรียมแนวปฏิบัติให้พร้อมไว้ในทุกสถานการณ์
[su_spacer]
การที่นาย Chan Chun Sing เป็นผู้นําร่างกฎหมายการเตรียมการเลือกตั้งในช่วง COVID-19 แม้ว่าจะไม่ใช่ภารกิจของกระทรวงการค้า/อุตสาหกรรมสิงคโปร์โดยตรง สะท้อนให้เห็นถึงความสําคัญของนาย Chan ในฐานะผู้นํา ใน รบ. สิงคโปร์ใหม่ โดยนาย Chan มีบทบาทนําในการแก้ไขปัญหาทาง ศก.และธุรกิจของสิงคโปร์ และมักปรากฏตัวร่วมกับนาย Heng Swee Keat รอง นรม./รมว.คลังสิงคโปร์ในการประชุมหารือกับภาคธนาคารและภาคเอกชนที่สําคัญ ซึ่งนักวิชาการสิงคโปร์หลายรายเห็นว่า นาย Chan มีโอกาสที่จะดํารงตําแหน่งระดับสูงใน รบ. ใหม่ เนื่องจากมีประสบการณ์ทั้งในด้านความมั่นคงและ ศก. เช่นเดียวกับ นรม.สิงคโปร์ที่เคยดํารงตําแหน่ง รมว.กห. รมว.การค้า/อุตสาหกรรมก่อนที่จะขึ้นดํารง ตําแหน่งรอง นรม. ผู้ว่าการ MAS และ รมว.คลัง ตามลําดับ
[su_spacer]