Wednesday, May 21, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

ธนาคารกลางสิงคโปร์เผยแพร่รายงานความยั่งยืนฉบับแรก

02/07/2021
in ทันโลก, เอเชีย
0
1
SHARES
321
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 นาย Ravi Menon ผู้ว่าการธนาคารกลางสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore – MAS) ได้รายงานความยั่งยืนปี ค.ศ. 2020/2021 (Sustainability Report) โดย MAS ของสิงคโปร์เป็นธนาคารกลางแห่งแรกในอาเซียน และเป็นแห่งที่สองของโลกที่เผยแพร่รายงานความยั่งยืนประจำปี (ต่อจาก Bank of England ของสหราชอาณาจักร) ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นของสิงคโปร์ที่จะส่งเสริมระบบการเงินสีเขียว และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนโดยลดการใช้คาร์บอน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

.

โดยการเผยแพร่รายงานความยั่งยืนนี้สืบเนื่องมาจากการตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ (1) ความเสี่ยงทางกายภาพ (Physical Risks) คือ ผลกระทบทางตรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม (2) ความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลง (Transition Risks) ซึ่งเกิดจากกระบวนการปรับตัวสู่เศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเทคโนโลยีเมื่อเผชิญอุปสรรค และการเปลี่ยนแปลงในความชอบของผู้บริโภคและนักลงทุน

.

ภาคการเงินมีบทบาทสำคัญในการรับมือและแก้ไขปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งยังเป็นกุญแจสำคัญสำหรับอนาคตที่ยั่งยืนด้วยระบบเศรษฐกิจที่ใช้คาร์บอนน้อยลง และเป็นช่องทางเงินทุนสู่เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น MAS จึงจัดตั้งนโยบายเพื่อความยั่งยืน 4 ด้าน ดังนี้

.

1.การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคการเงินของสิงคโปร์เพื่อรับมือกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

.

1.1  ออกแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมแก่สถาบันการเงินทุกแห่งในสิงคโปร์ ทั้งด้านการธนาคาร การประกันภัย และการจัดการสินทรัพย์ ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมลพิษ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน โดย MAS จะเผยแพร่เอกสารข้อมูลเพื่อแบ่งปันแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศและสิ่งที่ควรปรับปรุงในด้านนี้ ให้กับสถาบันการเงินต่าง ๆ ในสิงคโปร์ และจะมีส่วนร่วมในการจัดวางกรอบการจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมกับเครือข่ายระหว่างประเทศ เช่น Micro Prudential Supervision ภายใต้เครือข่าย Network for Greening the Financial System (NGFS)

.

1.2  จัดการทดสอบความเข้มแข็ง (Stress Testing) ในอุตสาหกรรมการเงินภายในสิ้นปี 2565 ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย ที่พัฒนาโดย NGFS

.

1.3  จัดทำแนวทางเพื่อปรับปรุงคุณภาพการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (Climate Related Disclosures) ที่เชื่อถือได้และเปรียบเทียบได้ โดย MAS และตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) จะร่วมกันกำหนดแผนงานในด้านนี้ โดยให้สถาบันการเงินและนิติบุคคลที่จดทะเบียนใน SGX มีส่วนร่วมด้วย หลังจากนั้น SGX จะปรึกษากับภาคอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำรายงานฯ ตามคำแนะนำของ Task Force on Climate-Related Financial Disclosures (TCFD) ทั้งนี้ MAS หวังว่าทุกธนาคาร บริษัทประกันภัย และผู้จัดการสินทรัพย์ จะเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565

.

1.4  มุ่งสู่มาตรฐานการจัดทำรายงานความยั่งยืนระดับโลก เช่น การกำหนดมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศตามกลุ่ม G7 การดำเนินการตามข้อแนะนำของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ (IOSCO) และมูลนิธิมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (IFRS) ซึ่งมีแผนที่จะจัดตั้งคณะกรรมการมาตรฐานความยั่งยืนสากล (International Sustainability Standards Board – ISSB) เพื่อกำหนดมาตรฐานระดับโลกภายในสิ้นปี 2564

.

2. พัฒนาระบบนิเวศทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ

.

2.1  พัฒนาอนุกรมวิธานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Taxonomies) หรือการจำแนกหมวดหมู่สำหรับกิจกรรมสีเขียว คำนิยามที่ชัดเจนของกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยสำคัญในการเคลื่อนย้ายเงินทุนข้ามพรมแดนและนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน

.

2.2  ร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการเงินสีเขียว เช่น แนะนำโครงการเงินช่วยเหลือเพื่อชดใช้ค่าใช้จ่ายในการออกพันบัตรสีเขียว และเงินกู้สีเขียวซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล

.

2.3  สนับสนุนการค้า carbon credit และสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมให้สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีสภาพคล่องและมีความโปร่งใสสำหรับตลาด carbon credit โดยเฉพาะในเอเชีย ทั้งนี้ DBS Bank, SGX, Temasek และ Standard Chartered ไต้ประกาศแผนปิดตัวตลาดการแลกเปลี่ยนและซื้อขายคาร์บอน Climate Impact X (CVX) ในอาเซียน

.

2.4  จัดสรรงบประมาณ 50 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์เพื่อสนับสนุนนวัตกรรม Green FinTech เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและเชื่อถือได้เกี่ยวกับการปล่อยคาร์บอนของโครงการ เช่น Application Programming Interfaces (AP) และ Internet of Things (IoT)

.

2.5  จัดทำโครงการ Greenprint ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริม Climate-friendly Ecosystem

.

3.สนับสนุนโครงการลงทุนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและโครงการลงทุนสีเขียว

.

3.1  MAS จัดสรรเงินสำรองต่างประเทศจำนวน 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate-related investment) และสิ่งแวดล้อมในภาคการเงินสิงคโปร์โดยแต่งตั้งผู้จัดการสินทรัพย์ 5 ราย เพื่อจัดการตราสารทุนและตราสารหนี้ฉบับใหม่ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ การจัดสรรเงินสำรองต่างประเทศ นี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการลงทุนสีเขียว Green Investment Program (GIP) ซึ่งจัดตั้งเมื่อปี 2562 ด้วยเงินงบประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อส่งเสริมการเติบโตของ ecosystem ต้นการเงินสีเขียวในสิงคโปร์ให้แข็งแกร่งและหลากหลาย รวมถึงปกป้องภาคการเงินจากความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

.

3.2  MAS รายงานเพิ่มเติมถึงความพยายามของสิงคโปร์ในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยตั้งแต่ปี 2560 ได้มีการออกพันธบัตรเพื่อสิ่งแวดล้อม สังคม และความยั่งยืนมูลค่ากว่า 11 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และมีการออกเงินกู้ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนกว่า 22.5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2563

.

4. การเป็นองค์กรยั่งยืน

.

4.1  ลดระดับของเสีย เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและน้ำ โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การติดตั้งระบบไฟที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมี Sensor ตรวจจับความเคลื่อนไหว การติดตั้งแผง Solar cells เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า และการเพิ่มอุณหภูมิในห้องปรับอากาศให้อยู่ที่ระดับ 25 องศาเซลเซียส

.

4.2  ลดระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในองค์กร โดยการลดการเดินทางทางอากาศ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในปีงบประมาณที่ผ่านมา อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในองค์กร MAS ได้ลดลงกว่า 47% เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 ทำให้ไม่มีการเดินทางทางอากาศ

.

4.3  สนับสนุนการลดพิมพ์เขียวสิ่งแวดล้อม (Environmental Footprint) และพัฒนาแผนงานเชิงกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง โดยในรายงานความยั่งยืนของ MAS ฉบับต่อไปจะกำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยมลพิษสำหรับปี 2568 (ค.ศ. 2025) และ 2573 (ค.ศ. 2030) และตั้งเป้าหมายระยะเวลาเร็วที่สุดที่เป็นไปได้ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตาม Paris Agreement รวมทั้งพัฒนากลยุทธ์เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และส่งเสริมการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการพิมพ์ธนบัตรและผลิตเหรียญกษาปณ์

.

4.4  ส่งเสริมด้านความยั่งยืนให้เป็นวัฒนธรรมอีกประเภทหนึ่ง

.

สำหรับประเทศไทย จากการที่รัฐบาลได้มีการประกาศให้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) เป็นวาระแห่งชาติ องค์กรด้านการเงินภายในประเทศได้เห็นความสำคัญในของสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเช่นเดียวกัน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน Bangkok Sustainable Banking Forum เป็นครั้งแรกในปี 2561 และสมาชิกของ ธปท. ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงด้านการธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking Guidelines) ในด้านการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Lending) อีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยยังสามารถใช้โอกาสนี้ในการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้สอดคล้องกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การสนับสนุนการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ การพัฒนากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet)

.

สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์

Previous Post

กานาเปิดโรงงานประกอบรถยนต์ Toyota และ Suzuki

Next Post

ธุรกิจสวนผักไทยในตลาดยุโรป โอกาสผักไทยไปไกลสู่สากล

Tanakorn

Tanakorn

Glob Thailand Administrator

Next Post

ธุรกิจสวนผักไทยในตลาดยุโรป โอกาสผักไทยไปไกลสู่สากล

Post Views: 1,048

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X