นับเป็นเวลาหลายทศวรรษตั้งแต่ที่กษัตริย์อับดุลอาซิสได้ริเริ่มโครงการโรงกลั่นน้ำทะเล ในปี พ.ศ. 2471 เพื่อกลั่นน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดสําหรับการอุปโภคบริโภคของผู้อยู่อาศัยในเมืองเจดดาห์ รวมถึงผู้แสวงบุญฮัจย์และอุมเราะห์ที่เดินทางมายังเมืองเจดดาห์โดยทางทะเลและนับจากนั้นเป็นต้นมา อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำทะเลในซาอุดีอาระเบียได้มีการพัฒนาอย่างมีนัยสําคัญสามารถสร้างรายได้และผลประโยชน์จากโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้กับบริษัทเอกชนซาอุดีฯและบริษัทพันธกิจ/หุ้นส่วนของซาอุดีฯ ทั่วโลกที่ดําเนินกิจการในภาคอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำทะเลการบําบัดน้ำเสีย และพลังงานทดแทน ซึ่งในอนาคตการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น [su_spacer size=”20″]
ซาอุดีอาระเบียจัดอยู่ในประเทศ 5อันดับแรกของโลกที่มีความขาดแคลนน้ำ ดังนั้น เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายนี้จึงได้มีการลงทุนอย่างมหาศาลในภาคอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำทะเลทำให้ปัจจุบันประมาณร้อยละ 50 ของน้ำดื่มภายในประเทศมาจากการกลั่นน้ำทะเลอีกร้อยละ 40 มาจากน้ำบาดาล และเพียงร้อยละ 10 มาจากน้ำบนผิวดินในพื้นที่ที่เป็นภูเขาโดยเฉพาะทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ [su_spacer size=”20″]
จากการที่มีการลงทุนอย่างมหาศาลในภาคอุตสาหกรรมนี้ทําให้ซาอุดีฯ ถูกจัดเป็นประเทศชั้นนําของโลกที่ผลิตและบริโภคน้ำที่กลั่นจากน้ำทะเลจะเห็นได้จากการที่มีโรงกลั่นน้ำทะเลถึง 31 แห่งใน 17 พื้นที่ โดยมีพนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงกลั่นน้ำทะเลมากกว่า 10,000 คน และยังมีโรงกลั่นน้ำทะเลอีกหลายแห่งที่กําลังอยู่ในระหว่างการดําเนินการก่อสร้างโดยมีงบประมาณถึง 24.3 พันล้านเหรียญสหรัฐไปจนถึงปี 2563 [su_spacer size=”20″]
โดยในปี พ.ศ. 2560 บรรษัทแปรรูปน้ำเค็ม (TheSaline Water Conversion Corp – SWCC) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือรัฐบาลซาอุดีฯที่รับผิดชอบดูแลการกลั่นน้ำทะเลได้ผลิตน้ำประปาในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นโดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มได้ถึง1.4 ล้านลูกบาศก์เมตรในระยะเวลา 13 เดือนหรือเกือบจะเทียบเท่าได้กับการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำทะเลแห่งใหม่ที่มีมูลค่าถึง 13 พันล้านริยาลซาอุดีฯ ได้รับการบันทึกจาก Guinness Book of World Records จัดให้เป็นบริษัทกลั่นน้ำทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีกําลังการผลิตวันละ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์