รายงานสภาวะด้านการคลังและงบประมาณของซาอุดีอาระเบียในครึ่งแรกของปี 2563 และดัชนีราคาผู้บริโภค เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2563 กระทรวงการคลังซาอุดีฯ ได้เผยแพร่แถลงการณ์ระบุว่า ในไตรมาส 2/2563 ซาอุดีฯ ขาดดุลงบประมาณกว่า 29.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลซาอุดีฯ ในไตรมาส 2/2563 อยู่ที่ประมาณ 35.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 49 จากช่วงเดียวกันของปี 2562 ในภาพรวม รายได้ของรัฐบาลซาอุดีฯ ครึ่งแรกของปี 2563 อยู่ที่ประมาณ 86.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 36 จากครึ่งแรกของปี 2562 โดยรายได้หลักจากอุตสาหกรรมน้ำมันลดลงร้อยละ 35 และรายได้จากอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ำมันลดลงร้อยละ 37 จากปี 2562
[su_spacer]
รายจ่ายของรัฐบาลซาอุดีฯ ในไตรมาส 2/2563 อยู่ที่ประมาณ 64.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 17 จากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยรัฐบาลซาอุดีฯ มีรายจ่ายในรูปแบบเงินอุดหนุนและเงินช่วยเหลือของรัฐบาล (subsidies & grants) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งน่าจะเป็นเพราะว่ารัฐบาลซาอุดีฯ ได้ให้ความช่วยเหลือเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการระบาดของ COVID-19 ในซาอุดีฯ ทั้งนี้ รายจ่ายของรัฐบาลซาอุดีฯ ในครั้งแรกของปี 2563 อยู่ที่ประมาณ 125.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 8 จากครึ่งแรกของปี 2562 โดยสัดส่วนรายจ่ายของรัฐบาลซาอุดีฯ ที่มีจํานวนมากที่สุด คือ ค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐของซาอุดีฯ ซึ่งอยู่ที่ 66.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 53 ของรายจ่ายของรัฐบาลซาอุดีฯ ทั้งหมด
[su_spacer]
ในครึ่งแรกของปี 2563 ซาอุดีฯ ขาดดุลงบประมาณจํานวนประมาณ 38.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเป็น 218.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากสถานะ ณ สิ้นปี 2562 ซึ่งซาอุดีฯ มีหนี้สาธารณะอยู่ที่ 180.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.93 ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2563 สํานักงานสถิติของซาอุดีฯ แถลงว่าการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 15 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2563 ของรัฐบาลซาอุดีฯ ทําให้ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของซาอุดีฯ ในเดือนก.ค. 2563 ขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีราคาที่เพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด คืออาหาร และเครื่องดื่ม ที่แพงขึ้นร้อยละ 14.3
[su_spacer]
สถานการณ์ด้านแรงงานในซาอุดีฯ เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2563 สื่อมวลชนซาอุดีฯ ได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และทรัพยากรเหมืองแร่ของซาอุดีฯ โดยระบุว่า ในเดือน ก.ค. 2563 ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในซาอุดีฯ สามารถจ้างงาน คนซาอุดีฯ ได้จํานวน 471 คน และปลดพนักงานชาวต่างชาติออกจํานวน 1,904 คน แม้ว่าจะมีความท้าทายจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็ตาม ซึ่งสะท้อนถึงพัฒนาการทางบวกและประสิทธิภาพของรัฐบาลซาอุดีฯ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศจากผลกระทบของ COVID-19 ข้อมูลจากกระทรวงพลังงานและทรัพยากรเหมืองแร่ซาอุดีฯ ระบุเพิ่มเติมว่านโยบาย ของรัฐบาลซาอุดีฯ มีส่วนช่วยดึงดูดการลงทุนด้านอุตสาหกรรม โดยในเดือน ก.ค. 2563 ได้มีการขึ้นทะเบียนอุตสาหกรรม รายใหม่ 86 ราย มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 1.15 พันล้านริยาล (ประมาณ 0.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และสร้างตําแหน่งงาน ให้แก่คนซาอุดีฯ จำนวน 471 ตําแหน่ง
[su_spacer]
การค้าระหว่างไทยกับซาอุดีฯ ตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์ไทยในครึ่งแรกของปี 2563 การค้าระหว่างไทยกับซาอุดีฯ มีมูลค่า 2,925.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 27.70 จากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมูลค่าการส่งออกจากไทยไปซาอุดีฯ อยู่ที่ 834.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 148) และมูลค่าการนําเข้าของไทยจากซาอุดีฯ อยู่ที่ 2,091.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 34.65) โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 1,256.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงร้อยละ 46.59 จากปี 2562) สินค้าส่งออกที่สําคัญของไทยไปยังซาอุดีฯ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (2) ไม้ และผลิตภัณฑ์ไม้ (3) อาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป (4) เครื่องปรับอากาศ และส่วนประกอบ และ (5) ผลิตภัณฑ์ยาง ในขณะที่สินค้านําเข้าสําคัญของไทยจากซาอุดีฯ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) น้ำมันดิบ (2) เคมีภัณฑ์ (3) ปุ๋ยและยากําจัดศัตรูพืชและสัตว์ (4) สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ และ (5) น้ำมันสําเร็จรูป
[su_spacer]
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 19 ก.ค. – 1 ส.ค. 2563 ห้างสรรพสินค้าในเครือ Lu Lu ของซาอุดีฯ ได้จัดกิจกรรม เทศกาลอาหาร (Food Festival) โดยการจัดแสดงสินค้าที่นําเข้าจากต่างประเทศและจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย (in-store promotion) ทั้งในรูปแบบ showcase และออนไลน์ โดยมีการจําหน่ายสินค้าอาหารของไทยด้วย อาทิ น้ำผลไม้ ผลไม้อบแห้ง บะหมี่กึ่งสําเร็จรูป และข้าวนึ่ง
[su_spacer]