เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2563 กระทรวงการคลังซาอุดีฯ ได้เผยแพร่รายงานสถานะผลการดําเนินงาน ด้านการคลังและงบประมาณของซาอุดีฯ ในไตรมาส 3/2563 ว่า ซาอุดีฯ ขาดดุลงบประมาณจํานวน 40.76 พันล้านริยาล (ประมาณ 10.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งขาดดุลลดลงจากไตรมาส 2/2563 ร้อยละ 62 อันเป็นผลจากการผ่อนปรนมาตรการ lockdown เพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในซาอุดีฯ ในไตรมาส 3/2563 รัฐบาลซาอุดีฯ จัดเก็บรายได้จํานวน 215 พันล้านริยาล (ประมาณ 57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ 207 พันล้านริยาล (ประมาณ 55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ปัจจัยหลักที่ทําให้รัฐบาลซาอุดีฯ สามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ คือ การขึ้นอัตรา ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ถึง 3 เท่า (จากเดิมที่ร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 15 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2563) โดยทําให้รัฐบาล ซาอุดีฯ สามารถจัดเก็บรายได้จากอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ํามัน (Non-oil revenues) เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในไตรมาส 3/2563 ซึ่งอยู่ที่ 122.99 พันล้านริยาล (ประมาณ 32.79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 63 จากไตรมาสเดียวกัน ของปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ 75.36 พันล้านริยาล (ประมาณ 20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
.
รัฐบาลซาอุดีฯ สามารถจัดเก็บรายได้จากอุตสาหกรรมน้ํามันในไตรมาส 3/2563 ได้จํานวน 92.58 พันล้านริยาล (ประมาณ 24.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงร้อยละ 30 จากไตรมาสเดียวกันของ ปี 2562 รายจ่ายของรัฐบาลซาอุดีฯ ในไตรมาส 3/2563 อยู่ที่ 256.34 พันล้านริยาล (ประมาณ 68.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 รายจ่ายของรัฐบาลซาอุดีฯ ที่มีจํานวนมากที่สุด คือ การจ่ายเงินชดเชยแก่พนักงานชาวซาอุดีฯ (Compensation of Employees) ภายใต้มาตรการของรัฐบาลซาอุดีฯ ที่สนับสนุนเงินชดเชยจํานวนร้อยละ 60 ของเงินค่าจ้างให้แก่พนักงานเอกชนชาวซาอุดีฯ เพื่อเยียวยาผลกระทบจาก COVID-19 ซึ่งอยู่ที่ 120.26 พันล้านริยาล (ประมาณ 32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.91 ของรายจ่ายรัฐบาลซาอุดีฯ ทั้งหมด ณ สิ้นไตรมาส 3/2563 ซาอุดีฯ มีหนี้สาธารณะสะสมจํานวน 847.75 พันล้านริยาล (ประมาณ 226 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากสถานะคงเหลือเมื่อสิ้นปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ 677.92 พันล้านริยาล (ประมาณ 180 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
.
รายงานของสถาบันด้านการลงทุนของซาอุดีฯ (Jadwa Investment) ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2563 ได้ประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจซาอุดีฯ ( Real GDP Growth) ในปี 2563 อยู่ที่ 3.7% โดยมีการขาดดุลงบประมาณร้อยละ 13.4 ของ GDP และมีหนี้สาธารณะสะสมที่ร้อยละ 31.4 ของ GDP รายงานอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจซาอุดีฯ ในไตรมาส 3/2563 ที่จัดทําโดยสํานักงานสถิติแห่งชาติ ซาอุดีฯ ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2563 ระบุว่า อัตราการขยายตัวของ GDP ซาอุดีฯ ในไตรมาส 3/2563 อยู่ที่ 4.2 % รายงานพัฒนาการทางเศรษฐกิจของชาอุดีฯ ซึ่งจัดทําโดยธนาคารโลกและเผยแพร่เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2563 ได้ประเมินทิศทางการขยายตัวทางเศรษฐกิจของซาอุดีฯ และประเด็นความเสี่ยง/ท้าทายทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง สรุปสาระสําคัญ ดังนี้ ธนาคารโลกประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP ซาอุดีฯ (Real GDP Growth) ในปี 2563 อยู่ที่ -5.4 % โดยประเมินจากสภาวะการผลิตน้ํามันที่ยังคงจํากัดปริมาณการผลิตภายใต้ข้อตกลงฉันทามติของ OPEC+ ในขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของซาอุดีฯ ในสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมน้ํามันมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจาก การลดการลงทุนในโครงการต่างๆ การบังคับใช้มาตรการควบคุมทางสังคมเพื่อป้องกัน COVID-19 และการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือนในซาอุดีฯ เนื่องจากการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
.
ในระยะกลางภายหลังเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว และสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 บรรเทาลง ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจซาอุดีฯ จะขับเคลื่อนและขยายตัวในอัตราที่ร้อยละ 2 และร้อยละ 2.2 ในปี 2564 และ 2565 ตามลําดับ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตพลังงานจาก hydrocarbon และการขับเคลื่อนการลงทุนในโครงการต่างๆ ที่ได้ชะลอไว้ก่อนหน้านี้ ธนาคารโลกคาดการณ์อัตราการขาดดุลงบประมาณของซาอุดีฯ ในปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 10 ของ GDP โดยซาอุดีฯ ยังคงไม่สามารถจัดทํางบประมาณสมดุลได้ภายในปี 2566 ปัจจัยที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจของซาอุดีฯ ในอนาคต คือ ความเสี่ยงจากการแพร่ระบาด ของ COVID-19 ระลอกสอง ซึ่งจะทําให้รัฐบาลซาอุดีฯ กลับมาบังคับใช้มาตรการควบคุมทางสังคมอีกครั้ง และความผันผวน ของราคาน้ํามันในตลาดโลก ซึ่งซาอุดีฯ ยังคงวิตกกังวลว่าบางประเทศในภาคี OPEC+ จะไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ ตามข้อตกลงในการจํากัดปริมาณการผลิตน้ํามันตามโควตาที่ได้รับจัดสรรของแต่ละประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบ ต่อเสถียรภาพของราคาน้ำมันในตลาดโลก
.
เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563 สอท. สิงคโปร์ประจําซาอุดีฯ ในฐานะประธาน ASEAN Riyadh Committee (ARC) ได้เป็นเจ้าภาพจัดการบรรยายสรุป โดยเชิญนาย Khalid Sulaiman Al Saeed (สัญชาติซาอุดีฯ) เศรษฐกรอาวุโส จาก IMF เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “KSA Economy: The Anchor of Stability in a Turbulent Region” ซึ่งอุปทูตได้เข้าร่วม สรุปสาระที่น่าสนใจ ดังนี้ IMF ประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจซาอุดีฯ (Real GDP Growth) ในปี 2563 อยู่ที่ 5.4% และจะกลับมาขยายตัวที่ 3.1% ในปี 2564 ในขณะเดียวกัน IMF ประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (MENA) ในปี 2563 อยู่ที่ 4.1% และจะกลับมาขยายตัวที่ 3% ในปี 2564 อัตราการว่างงานของซาอุดีฯ อยู่ในระดับสูง ในขณะที่ความต้องการแรงงานในซาอุดีฯ มีจํานวนมาก เพราะว่าชาวซาอุดีฯ ส่วนใหญ่สําเร็จการศึกษาในสาขาที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานซาอุดีฯ โดยซาอุดีฯ ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM)
.
นาย AI Saeed วิเคราะห์ว่าทางการซาอุดีฯ ตัดสินใจได้ดีเรื่องการขึ้นภาษี VAT เป็น 3 เท่า อย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับปัญหาหนี้สินของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากมาตรการเยียวยาผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 (เช่น มาตรการผ่อนผันการชําระภาษี/ค่าธรรมเนียมของรัฐ และการจ่ายเงินชดเชย แก่พนักงานเอกชนซาอุดีฯ) ซึ่งเป็นเหตุให้รัฐบาลซาอุดีฯ มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ในขณะที่การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลซาอุดีฯ ลดลง เนื่องจากราคาน้ํามันและความต้องการน้ํามันในตลาดโลกที่ตกต่ํา โดยจะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณ ของซาอุดีฯ อีกด้วย นาย AI Saeed เห็นว่า รัฐบาลซาอุดีฯ สามารถรับมือทางเศรษฐกิจจากปัญหา COVID-19 ได้ในระดับดี โดยตนเชื่อว่าเศรษฐกิจของซาอุดีฯ เป็นรากฐานสําคัญของเสถียรภาพในภูมิภาคนี้ เนื่องจากปัจจัย ดังนี้ (1) ซาอุดีฯ เป็นประเทศที่มีการส่งเงินกลับประเทศของแรงงานต่างชาติ (remittances) มาก เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศสหรัฐฯ (2) มีกําลังการผลิตน้ํามันส่วนเกิน (oil spare capacity) ในการรักษาเสถียรภาพ ความมั่นคงของตลาดน้ํามันมากที่สุดในโลก (3) ซาอุดีฯ เป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดกับทุกประเทศในภูมิภาค MENA (4) ซาอุดีฯ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเข้าไปลงทุนในประเทศต่างๆ (FDI) ในภูมิภาคเป็นจํานวนมาก (5) ซาวซาอุดีฯ เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวเป็นจํานวนมากที่สุดในภูมิภาค โดยนักท่องเที่ยวชาวซาอุดีฯ มีศักยภาพในการใช้จ่ายที่สูง (6) ซาอุดีฯ เป็นประเทศที่ให้เงินสนับสนุนและช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆ มากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง
.
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาด