ด้วยรัสเซียเป็นเจ้าภาพจัดงาน Eastern Economic Forum 2019 ระหว่างวันที่ 4-6 ก.ย. 2562 ที่ผ่านมา
[su_spacer]
ซึ่งการประชุม EEF ยังคงเป็น Forum ทางเศรษฐกิจที่รัสเซียผลักดันอย่างต่อเนื่อง และมีจํานวนผู้เข้าร่วม/สัญญา ที่ได้รับการลงนามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (270 ฉบับ ประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท)โดยภาคเอกชนที่เข้าร่วมส่วนมากมาจาก เอเชียตะวันออก ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ มองโกเลีย และเกาหลีเหนือ ซึ่ง สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของรัสเซีย และเป็นไปตามนโยบายหันหาตะวันออกของรัสเซีย โดยภาคอุตสาหกรรมที่มี การเจรจาส่วนมาก ได้แก่ เหมืองแร่ พลังงาน และปุ๋ย
[su_spacer]
นอกจากกลุ่มประเทศตะวันออกเฉียงเหนือ ทางประเทศอินเดีย สหรัฐฯ สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และ สหราชอาณาจักร(UK) ก็มีผู้แทน จํานวนมากเข้าร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเดีย ซึ่งมีการเยือนของ นายกรัฐมนตรี โมดี ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อเป็นอย่างมาก และแสดงให้เห็นว่า แม้ว่ารัสเซียกับสหรัฐฯ และพันธมิตรจะมีความขัดแย้งกัน แต่ภาคเอกชนของทั้งสองฝ่ายก็มี การเจรจาธุรกิจกันอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า การหารือทวิภาคีระหว่างการประชุม EEF ในปีนี้ไม่มีผลลัพธ์ อย่างเป็นรูปธรรมเท่าใดนัก เป็นเพียงการหารือในประเด็นที่มีการหารืออยู่ก่อนแล้ว และไม่มีลักษณะ break through
[su_spacer]
ประธานาธิบดี ปูติน และ นายกรัฐมนตรี โมดีได้ตั้งเป้าจะขยายมูลค่าการค้าจาก 11 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 30 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ ขยายการลงทุนระหว่างกันอีก 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีการลงนามความตกลงการค้าต่างๆ รวมทั้งในการร่วมกันผลิตอาวุธ การซื้อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย การพัฒนาความร่วมมือด้าน maritime communication ระหว่างเวลาดิวอสต็อกและ เจนไน อีกทั้ง นายกรัฐมนตรี โมดียังได้ประกาศให้เงินกู้ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อพัฒนาภูมิภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย สะท้อนให้ เห็นความพยายามของรัสเซียและอินเดียที่ต้องการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยรัสเซียต้องการพันธมิตรเพิ่มขึ้น เพื่อรับมือกับแนวคิดอินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ และพันธมิตร ขณะที่อินเดียก็ต้องการพันธมิตร ซึ่งรัสเซียก็มี ความสัมพันธ์ที่ดีทั้งกับปากีสถานและรัสเซีย
[su_spacer]
ทั้งนี้ พบว่า ในกลุ่มประเทศอาเซียน มีเพียงมาเลเซีย และเวียดนาม เท่านั้น ที่ส่งผู้แทนระดับสูงเข้าร่วม แต่ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี มหาธีร์ก็ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่ได้มีการลงนามสัญญาใดใดระหว่าง การเยือน เป็นเพียงการหารือด้านเศรษฐกิจกับประธานาธิบดี ปูติน เท่านั้น การส่งผู้แทนเข้าร่วม EEF ของ มาเลเซียและเวียดนามนอกจากจะเป็นการพยายามสร้างโอกาสในการลงทุน แต่ยังเป็นการสร้างความใกล้ชิดกับ ประธานาธิบดี ปูตินด้วย ซึ่งสําหรับเวียดนามคงไม่เป็นที่น่าแปลกใจ เพราะเป็นประเทศที่ใกล้ชิดกับรัสเซียที่สุดในอาเซียน และ สําหรับมาเลเซียน่าจะเป็นการเยือนแถบตะวันออกไกลเป็นครั้งแรกของนายกรัฐมนตรี มหาธีร์ฯ นับตั้งแต่เข้ารับตําแหน่ง
[su_spacer]
ประเด็นอื่นๆ มีการรายงานว่าภาคธุรกิจ/รัฐวิชาการบางส่วนของรัสเซียเห็นว่าภูมิภาคตะวันออกไกลของ รัสเซียเป็น “ตัวถ่วง” ที่ต้องการงบประมาณสนับสนุน ซึ่ง ประธานาธิบดี ปูตินได้ประกาศยืนยันอย่างแข็งกร้าวว่าไม่เป็นความจริง แต่เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยภาคอุตสาหกรรมในภูมิภาคตะวันออกไกลมีการขยายตัวมากถึง 23% สร้างงานมากกว่า 39,000 นับแต่ปี 2557 อย่างไรก็ดี ภาคส่วนต่างๆ กังวลการใช้งบประมาณของรัฐบาลในพื้นที่ดังกล่าว และที่ทําใน กรอบของโครงการ National Projects ซึ่งรัฐบาลรัสเซียได้ปรับปรุงนโยบายด้านอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย ล่าสุด ได้ออก นโยบายลด mortgage rate ในตะวันออกไกลที่อัตรา 2% ในระยะเวลา 5 ปีเพื่อดึงดูดแรงงานให้มาทํางานในพื้นที่ รวมทั้งทุ่มเงินงบประมาณเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แต่นักวิเคราะห์มองว่า น่าจะช่วยได้เพียงการรักษาจํานวน แรงงานมากกว่าดึงดูดแรงงานใหม่ๆ เข้ามาในพื้นที่
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก