ธนาคารกลางรัสเซียและ World Bank ลดประมาณการอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของรัสเซียเป็น 1.-1.5% (เดิม 1.2-1.7%) สะท้อนมุมมองของนักวิชาการและภาคเอกชนรัสเซียว่าเศรษฐกิจรัสเซียกำลังหดตัว โดยไตรมาสที่ 1-2/2562 มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยประมาณ 0.5-1% เมื่อเทียบกับ 2.4% ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2561 สาเหตุสำคัญเนื่องจากการปฏิรูปเงินบำนาญและการเพิ่มภาษี VAT ทำให้ประชาชนใช้จ่ายน้อยลง ซึ่งส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงเล็กน้อยจากที่คาดการณ์ จากสภาพเศรษฐกิจดังกล่าว ธนาคารกลางรัสเซียพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการลดอัตราดอกเบี้ยเป็น 7.5% จาก 7.75% เพื่อกระตุ้นการบริโภค แต่คาดว่าไม่น่าจะได้ผลเท่าไรนัก ทั้งนี้ ยังมีรายงานจากสรรพากรรัสเซียว่า นับตั้งแต่ปี 2555 จำนวนบริษัทรัสเซียที่ต้องล้มเลิกกิจการเพิ่มขึ้น 41.5%
[su_spacer]
มากกว่านี้ การค้าไทย-รัสเซียในไตรมาสที่ 2/2562 มีมูลค่า 908.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยนำเข้า 661.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออก 247.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขาดดุล 413.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเมื่อรวมกับไตรมาสที่ 1/2562 ในครึ่งปีนี้ การค้าไทย-รัสเซียหดตัวลง -106.65% เมื่อเทียบกับ มกราคม-มิถุนายน 2561 (อย่างไรก็ดี ปี 2561 รัสเซียเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก ทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากกว่าปกติ) และสินค้าส่งออกของไทยหดตัวอย่างต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 (-02.62%) แม้ยอดการส่งออกของไทยในตลาดโลกจะหดตัวเช่นกัน แต่สินค้าส่งออกของไทยมารัสเซียหดตัวในอัตราที่มากกว่าอัตราเฉลี่ย ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจรัสเซียดังที่กล่าวในข้างต้น นอกจากนี้ ยังมีการรายงานว่า มูลค่าการส่งออกของรัสเซียหดตัวครั้งแรกนับแต่ปี 2558 โดยเฉพาะสินค้าเกษตร (ปี 2562 คาดว่าจะหดตัว 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการเก็บเกี่ยวไม่ดีนักประกอบกับราคาธัญพืชลดลงในตลาดโลก) อุตสาหกรรมเคมีและวิศวกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในสินค้า 15 ลำดับแรกที่ไทยนำเข้าจากรัสเซียอีกด้วย
[su_spacer]
นอกจากนี้ ในส่วนของเหตุการณ์ด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ รัสเซียจัดการประชุม St.Petersburg International Economic Forum ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 6-8 มิถุนายน 2562 โดยระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการด้านงบประมาณของรัฐสภาได้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายของประธานาธิบดี ปูติน ที่ต้องการกระตุ้นการพัฒนาด้วยโครงการขนาดใหญ่ National Projects อีกทั้ง ยังมีรายงานของคณะกรรมธิการฯ ว่ามีการใช้เงินในโครงการ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเพียงร้อยละ 12.8 ของประมาณที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งสะท้อนความกังวลของประชาชนรัสเซียต่อแหล่งที่มาของงบประมาณในการดำเนินโครงการและการทุจริตในโครงการฯ
[su_spacer]
ทั้งนี้ ท่ามกลางกระแสว่ารัฐสภาสหรัฐฯ อยู่ระหว่างพิจารณาขยายมาตรการคว่ำบาตรให้ครอบคลุม sovereign debt ของรัสเซีย ทำให้รัสเซียพยายามขยายพันธบัตรรัฐบาลในไตรมาสที่ 2/2562 จนจำนวนหนี้ต่างประเทศของรัฐขยายตัวถึง 1.5 เท่า (ขณะนี้ประมาณ 64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และมีข่าวลือว่า เวเนซูเอลาขายทองคำให้กับรัสเซียและกับพันธบัตรของรัฐบาล อันสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลรัสเซียในขณะนี้ที่เร่งสะสมทองคำให้สำรองและลดดอลลาร์สหรัฐ มากกว่านั่น รัฐบาลรัสเซียยังคงผลักดันการค้าด้วยเงินสกุลชาติอย่างแข็งขัน โดยจีนเป็นพันธมิตรของรัสเซียแล้ว กระทรวงการคลังของรัสเซียและEuropean Commission for the energy Uninon ยังเห็นพ้องที่จะตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาการชำระเงินด้วยเงินรูเบิลและยูโร
[su_spacer]
เศรษฐกิจรัสเซียมีแนวโน้มที่จะหดตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3/2562 เนื่องจาก ราคาน้ำมันในตบลาดรัสเซีย โดยนับตั้งแต่ปลายปี 2561 รัฐบาลรัสเซียและบริษัทน้ำมันมีข้อตกลงร่วมกันว่าบริษัทจะไม่ขึ้นราคาน้ำมันในประเทศเกินอัตราเงินเฟ้อ โดยข้อตกลงดังกล่าวหมดอายุเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 และยังไม่มีข้อตกลงอื่น ๆ ทดแทน ซึ่งหากบริษัทขึ้นราคาน้ำมันในอัตราที่สูง ซึ่งมีรายงานว่า แม้แต่ในช่วงที่มีข้อตกลงราคาน้ำมันค้าส่งก็เพิ่มขึ้น 17.5% จะส่งผลกับอัตราเงินเฟ้อและกำลังการจับจ่ายของประชาชนอย่างแน่นอน
[su_spacer]
แม้เศรษฐกิจรัสเซียจะสามารถปรับตัวรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ได้ค่อนข้างดีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาทิ การปรับตัวจากประเทศนำเข้าสินค้าเกษตรเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตร และการผลิตชิ้นส่วนไฮเทคเพื่อทดแทนการนำเข้า แต่นักวิชาการมองว่า โครงสร้างเศรษฐกิจยังมีปัญหาในการส่งเสริมการพัฒนาระยะยาว ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการหดตัวของ real income ที่ต่อเนื่องมาหลายปี อัตราความยากจน shadow economy และปัญหาอัตราการเกิดที่ลดลง โดยในปี 2562 คาดว่าจำนวนประชากรจะลดลง 150,000 คน และเหลือน้อยกว่า 100 ล้านคนในอีก 60 ปีข้างหน้า
[su_spacer]
นักวิเคราะห์รัสเซียมองว่า หากสหรัฐฯ ขยายมาตรการคว่ำบาตรครอบคลุม sovereign debt จะมีผลกับเงินรูเบิลค่อยข้างต่ำ มีเพียงความผันผวนจากการเก็งกำไรในตลาด forex ที่ธนาคารกลางสามารถมีมาตรการควบคุมได้มากกว่าระยะสั้นหรือระยะกลาง เนื่องจากขณะนี้ รัสเซียมีงบประมาณ ดุลบัญชีเดินสะพัด และมูลค่าการค้าเกินดุล และคาดว่ารัฐบาลรัสเซียจะพยายามรักษาให้เกินดุลต่อไปในช่วงที่ใกล้การเปลี่ยนผ่านอำนาจของประธานาธิบดี ปูติน
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก