บริษัท Price Waterhouse Coopers รายงานว่า โรมาเนียเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในสหภาพยุโรป อันเนื่องมาจากการขาดแรงงานที่มีทักษะ ซึ่งส่งผลต่อการขาดดุลทางเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ส่วนประเทศอื่นๆ ในกลุ่มสหภาพยุโรปที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ได้แก่ บัลแกเรีย (ร้อยละ 13.2) โปแลนด์ (ร้อยละ 5.7) มอลตา (ร้อยละ 5.6) และฮังการี (ร้อยละ5.2) โดยห้าประเทศดังกล่าว เมื่อคิดเป็นมูลค่าการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจแล้ว อยู่ที่ 46.4 พันล้านยูโรต่อปี [su_spacer size=”20″]
โดยรายงานดังกล่าวให้ความเห็นว่า การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะนั้น เกิดจากภาวะที่แรงงานสามารถเดินทางได้อย่างอิสระภายในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป ประกอบกับการออกใบอนุญาตทํางานให้กับผู้ที่ไม่ใช่ประชาชนกลุ่มสหภาพยุโรปได้อย่างง่ายดาย และระบบการศึกษาที่ไม่เอื้อต่อการหางานของบัณฑิตจบใหม่ [su_spacer size=”20″]
สำหรับในภาพรวม สํานักงานสถิติแห่งชาติ (INS) ของโรมาเนียรายงานว่า อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ย. อยู่ที่ร้อยละ 5.03 ซึ่งลดลดจากเดือนสิงหาคมเล็กน้อย (ร้อยละ 5.1) อย่างไรก็ตาม ราคาอาหารได้ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 4.44 ราคาสินค้าอุปโภคสูงขึ้นร้อยละ 6.55 และราคาการบริการสูงขึ้นร้อยละ 2.54 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า โดยธนาคารแห่งชาติโรมาเนียได้คาดการณ์ว่า ภายในสิ้นปีนี้ อัตราเงินเฟ้อจะลดลงเป็นร้อยละ 3.5 อนึ่ง อัตราเงินเฟ้อสูงสุดของโรมาเนียในปีนี้คือเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ร้อยละ 5.41 [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบูคาเรสต์