ภาวะเศรษฐกิจประเทศโรมาเนีย
.
GDP โรมาเนียประจําปี 2563 ได้หดตัวลงร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่ง น้อยกว่าที่รัฐบาลโรมาเนียคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.2-4.4 ในภาพรวม กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะงักลงในปลายไตรมาสที่ 1 หดตัวร้อยละ 11.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ก่อนจะค่อยฟื้นตัวในในไตรมาสถัดไป อัตราการเติบโต GDP ประจําไตรมาสที่ 2 เติบโตร้อยละ 5.6 ส่วนไตรมาสที่ 4 เติบโตร้อยละ 4.8 และคาดว่าในปี 2564 และ 2565 การขยายตัวเศรษฐกิจที่แท้จริง (Real GDP) จะเติบโตที่อัตราร้อยละ 5.1 และ 4.9 ตามลําดับ คาดการณ์ว่าปรับตัวดีขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจโลก
.
ด้านธนาคารโลก คาดการณ์ว่า GDP โรมาเนียในปี 2564 จะเติบโตที่ร้อยละ 6 โดยมองว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคยุโรปกลางเริ่มปรับตัวดีขึ้นในปีนี้ ส่วนรัฐบาลโรมาเนียคาดการณ์ GDP ปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 4.3-5
.
การใช้จ่าย: ในปี 2563 การบริโภคภาคเอกชนหดตัวลงร้อยละ 5.2 ส่วนการบริโภคภาครัฐหดตัวลงร้อยละ 2 เนื่องจากต้องออกนโยบายช่วยเหลือภาคธุรกิจและประชาชน ในขณะที่ยังดําเนินมาตรการรัดเข็มขัด คณะกรรมาธิการยุโรปคาดว่า ปี 2564 การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 6.1 ตามปัจจัยฐานต่ำ และคาดการณ์ว่าเมื่อประชาชนจํานวนมากได้รับวัคซีนแล้วและรัฐบาลยกเลิกมาตรการป้องกันโรคระบาด จะกลับมาบริโภคในอัตราใกล้เคียงก่อนวิกฤตโรคโควิด-19 ส่งผลให้นําเข้าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ส่วนการบริโภคภาครัฐจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เนื่องจากต้องใช้งบประมาณในการฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อเนื่อง
.
ตลาดแรงงาน: ในปี 2563 อัตราการจ้างงานลดลงร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่จะกลับมาขยายตัวเพียงเล็กน้อยในปี 2564 ที่ร้อยละ 0.2 และในปี 2565 ที่ร้อยละ 0.7 โดยคาดการณ์ว่าตลาดแรงงาน ค่อนข้างคงที่ ด้านอัตราการว่างงานตามนิยามของ Eurostat ที่นับจากประชากรช่วงอายุ 15 ถึง 74 ปี ใน ปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา คาดวาจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นร้อยละ 5.2 ในปี 2564 และปรับตัวลงเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 4.8 ในปี 2565
.
สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP: เมื่อสิ้นปี 2563 อยู่ที่ 4,983 แสนล้านลิว หรือประมาณ 3.848 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 47.3 ของ GDP คาดว่าในปี 2564 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จะปรับลดลงเหลือร้อยละ 49.7 และร้อยละ 52.7 ในปี 2565 ตามการขาดดุลการคลังเบื้องต้นของภาคสาธารณะ (Primary Deficit) ที่ไม่รวมรายจ่ายที่เกี่ยวกับภาระหนี้
.
สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศโรมาเนีย: ปี 2563 มีจํานวนยอดสะสม 6.335 ล้านราย ลดลงร้อยละ 52.3 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดงไปมากถึงร้อยละ 83 เหลือเพียง 453,300 คน นอกจากนี้ จํานวนนักท่องเที่ยวที่ค้างคืน (Overnight Stays) ในปี 2563 ยังลดลงไปร้อยละ 51.6 จากปีก่อนหน้า รัฐบาลโรมาเนียคาดการณ์ว่าฤดูร้อนปีนี้การท่องเที่ยวโรมาเนียจะ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้บ้าง โดยพิจารณาจากสถิติจํานวนนักท่องเที่ยวล่าสุด จํานวน นักท่องเที่ยวช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2560 อยู่ที่ 2.47 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า
.
มูลค่าการส่งออกสินค้า: ในปี 2563 หดตัวลงถึงร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ปี 2564 จะเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 9.8 จากผลของฐานต่ำในปีก่อนหน้า และในปี 2565 จะขยายตัวร้อยละ 8.7 ในปี 2565
.
มูลค่าการนําเข้าสินค้า: ในปี 2563 หดตัวลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ปี 2564 จะเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 11.4 และในปี 2565 จะขยายตัวร้อยละ 10.1 ตามอัตราการบริโภคที่เพิ่มขึ้น
.
โดยโรมาเนียถือเป็นประเทศคู่ค้าหลักของไทย โดยการค้าของไทยกับโรมาเนียระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2564 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 4.47 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 32.36 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า คิดเป็นการส่งออก 2.8 พันล้านบาท และนําเข้า 1.6 พันล้านบาท จะเห็นได้ว่า ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าถึง 1.2 พันล้านบาท ถึงแม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้า การส่งออกไทยน่าจะมีแนวโน้มไปในทางที่ดีต่อไป เนื่องจากโรมาเนียมีหลากหลายปัจจัยสําคัญที่จะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นแผนการเปิดประเทศสําหรับนักท่องเที่ยวจากภายในสหภาพยุโรปที่ฉีดวัคซีนแล้ว หรือกองทุนจัดสรรงบประมาณภายใต้นโยบาย Next Generation EU Recovery and Resilience Facility (RRF) สนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจสําหรับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจากคณะกรรมาธิการยุโรป (COVID-19 EU Recovery Package) ในวงเงินถึง 7.5 แสนล้านยูโร โดยสินค้าส่งออกหลักของไทยไปยังโรมาเนีย 5 อันดับแรกในเดือน มกราคม – พฤษภาคม 2564 ได้แก่ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ ยางพารา รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ