วงจรชีวิตในธรรมชาติล้วนเป็นรูปแบบหมุนเวียน (Circular) หรือ Cradle to Cradle มีการเกิด การพัฒนา และการหมุนเวียนกลับไปในธรรมชาติอย่างไม่รู้จบ เช่น วงจรน้ำฝนในธรรมชาติ แต่วงจรผลผลิตของมนุษย์โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคกลับเป็นเส้นตรง (Linear) หรือ Cradle to Grave ที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติประหนึ่งว่าโลกมีทรัพยากรไม่จำกัด และยังใช้ในอัตราที่เกินจะฟื้นฟูทัน ก่อให้เกิดขยะปริมาณมหาศาล
จะดีกว่าหรือไม่หากมนุษย์สามารถบริโภคสินค้าโดยทำลายสิ่งแวดล้อมลดลง?
อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากจากการผลิตและการบริโภคที่เกินจำเป็น โดยการผลิตเสื้อผ้าเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งยังไม่มีวิธีการจัดการสินค้าเพื่อไม่ให้กลายเป็นขยะ
ในการผลิตเสื้อ 1 ตัว ต้องใช้น้ำเฉลี่ย 2,700 ลิตร ซึ่งมากพอ ๆ กับน้ำที่คน ๆ หนึ่งดื่มในระยะเวลาถึง 2 ปีครึ่ง และกระบวนการผลิตยังเป็นที่มาของกว่า 20% ของน้ำเสียบนโลก ตลอดจนปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 1.2 พันล้านตัน/ปี ซึ่งมากกว่าก๊าซที่ถูกปล่อยจากเครื่องบินและการขนส่งทางเรือทั่วโลกรวมกัน โดยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก 50% ภายในปี 2573 แต่เสื้อผ้าที่ถูกผลิตขึ้นกว่า 30% กลับไม่เคยถูกขาย และเศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บด้วยเครื่องจักรถูกทิ้งเป็นขยะเพราะประหยัดกว่าการนำเศษผ้านั้นไปใช้ต่อ
สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://rinap.me/inter-econ/#p=8 (หน้า 06-07)