เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังของเปรู และกระทรวงเกษตรเปรูได้ออกกฤษฎีกา ที่ 371-2017-EF เพื่อปรับการจัดเก็บภาษีพิเศษตามช่วงราคานำเข้า (Price Band System) สำหรับการนำเข้าข้าว โดยมีผลบังคับใช้ทันทีจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2561[su_spacer size=”20″]
ก่อนหน้านี้ กลุ่มผู้ผลิตท้องถิ่นชาวเปรู นำโดยสมาคมผู้ผลิตข้าวชาวเปรู (The Peruvian Association of Rice Producers – APEAR) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือผู้ผลิตข้าวท้องถิ่น โดยกำหนดภาษีนำเข้าข้าวจากต่างประเทศในอัตราคงที่ร้อยละ 46 แทนระบบปัจจุบันซึ่งจัดเก็บภาษีพิเศษตามช่วงราคานำเข้า โดยให้เหตุผลว่า อุตสาหกรรมการผลิตข้าวเปรูกำลังได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากการนำเข้าข้าวราคาถูก อย่างไรก็ดี ภายหลังการเจรจา ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงว่า จะยังคงใช้ระบบเดิมในการจัดเก็บภาษีข้าวนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 2 ประเด็น ได้แก่[su_spacer size=”20″]
- เปลี่ยนมาใช้ราคาข้าวขาวที่ผ่านการขัดสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จของอุรุกวัยเป็นราคากลางในการกำหนดตารางช่วงราคานำเข้าข้าว (จากเดิมที่เคยใช้ราคาข้าวไทยในการกำหนดราคากลาง) เนื่องจากปัจจุบัน เปรูนำเข้าข้าวจากอุรุกวัยในสัดส่วนร้อยละ 74 ของการนำเข้าข้าวทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้กรอบราคาการนำเข้าข้าวขั้นต่ำและเพดานใหม่อยู่ระหว่าง 599-669 ดอลลาร์สหรัฐต่อเมตริกตันของราคาFOB (จากเดิมซึ่งอยู่ระหว่าง 408-480 ดอลลาร์สหรัฐต่อเมตริกตันของราคา FOB ตามกฤษฎีกาที่ 286-2017-EF) ซึ่งมาตรการนี้จะส่งผลให้ราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น
- กำหนดเพดานการเก็บภาษีไม่ให้เกินร้อยละ 15 ของราคาCIF การนำเข้าข้าว (จากเดิมที่กำหนดการเก็บภาษีไม่ให้เกินร้อยละ 20 ของราคา CIF) ซึ่งมาตรการนี้จะส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดไม่พุ่งสูงเกินควร เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับผู้บริโภค[su_spacer size=”20″]
ในเบื้องต้น คาดการณ์ได้ว่า การปรับอัตราภาษีใหม่ดังกล่าวจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อผู้ประกอบการไทย เนื่องจากจะต้องเสียภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นตามราคากลางที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ในปี 2560 ไทยส่งออกข้าวไปยังเปรูจำนวน 6.5 หมื่นเมตริกตัน คิดเป็นร้อยละ 16 ของการนำเข้า โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ซึ่งส่งออกไปเพียง 3.2 หมื่นเมตริกตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 11 ของการนำเข้า[su_spacer size=”20″]