ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจเกี่ยวกับโครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน – ปากีสถาน (China-Pakistan Economic Corridor – CPEC) ในระยะที่ผ่านมา ปากีสถานได้มีความสนใจดึงบริษัทจีนเข้าร่วมลงทุนเพื่อเพิ่มฐานอุตสาหกรรม โดยนาย Abdul Razak Dawood ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีปากีสถานด้านการพาณิชย์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ การผลิตและการลงทุน กล่าวระหว่างการประชุมสมาคมผู้ส่งออกข้าวปากีสถาน (Rice Exporters Association of Pakistan – REAP) ที่เมืองการาจีว่าภายใต้ CPEC รัฐบาลปากีสถานสนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนกับบริษัทเอกชนจีนในลักษณะกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ซึ่งรัฐบาลปากีสถานอยู่ในระหว่างเจรจากับฝ่ายจีน เพื่อนําเข้าเทคโนโลยีที่ทันสมัยของจีนมาปรับใช้ในปากีสถาน และเพื่อพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรของปากีสถานที่ค่อนข้างตกต่ำ [su_spacer size=”20″]
นาย Abdul Razak Dawood ยังกล่าวด้วยว่า นักธุรกิจญี่ปุ่นก็ได้แสดงความสนใจที่จะให้ความช่วยเหลือปากีสถานในการพัฒนาฟาร์มข้าว ด้วยการนําเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อพัฒนาผลผลิตและคุณภาพของข้าวมาใช้ในปากีสถาน [su_spacer size=”20″]
สำหรับสถานการณ์ของโครงการ CPEC ในรัฐบาโลจิสถาน นาย Lijian Zhao รองหัวหน้าสำนักงานสถานเอกอัครราชทูตจีน ณ กรุงอิสลามาบัด กล่าวระหว่างการสัมมนาหัวข้อ “Belt and Road Initiative and China – Pakistan Economic Corridor: Impact on Developments in South West Asia” ว่า นับตั้งแต่มีการเปิดตัวโครงการ Belt and Road Initiative เมื่อ 6 ปีที่แล้ว จีนได้มีการลงทุนจํานวน 2.89 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเขตเศรษฐกิจทั้งหมดจํานวน 82 แห่งทั่วโลก ในส่วนของปากีสถาน โครงการหลักภายใต้ CPEC ที่มีกําหนดแล้วเสร็จอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าคือโรงไฟฟ้าถ่านหิน (แม่ข่าย) กําลัง 1,320 เมกะวัตต์ ในรัฐบาโลจิสถานจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค. 2562 โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [su_spacer size=”20″]
ในส่วนของโครงการท่าเรือน้ำลึก Gwadar ในรัฐบาโลจิสถาน มีบริษัท China Overseas Ports Holding Company (COPHC) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ด้วยงบลงทุนจํานวน 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อปรับปรุงท่าเรือฯ ด้วยการติดตั้งเครนยกตู้ (Quay Crane) เพิ่มจํานวน 5 ตัว สร้างพื้นที่จัดเก็บสินค้า 100,000 ตร.ม. สร้างโรงกลั่นน้ำทะเลกําลังผลิต 220,000 แกลลอนต่อวัน ระบบกําจัดน้ำเสีย ระบบขนถ่ายสินค้า และสร้างพื้นที่สีเขียว 80,000 ตร.ม. [su_spacer size=”20″]
เขตเศรษฐกิจพิเศษ Gwadar ตั้งอยู่ตอนเหนือของเมือง Gwadar ระยะเวลาการพัฒนาตามแผนคือจากปี 2558 จนถึง 2573 (15 ปี) แบ่งระยะเวลาการดําเนินการเป็น 4 ระยะ จนถึงขณะนี้มีบริษัทเข้าร่วมลงทุนประมาณ 30 บริษัทโดยการลงทุนตรง (Direct Investment) ใช้งบลงทุนแล้วจํานวน 474 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จเขตเศรษฐกิจพิเศษ Gwadar จะกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าในภูมิภาคในอนาคต [su_spacer size=”20″]
ในขณะที่ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม รัฐบาลปากีสถานได้เสนอให้จีนพิจารณาการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone – SEZ) จํานวน 9 แห่ง ซึ่งขณะนี้จีนอยู่ในระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ ในจํานวน 9 แห่ง มี SEZ ที่ตั้งอยู่ในรัฐซินด์และรัฐบาโลจิสถานจํานวน 3 แห่ง คือ (1) China Special Economic Zone Dhabeji รัฐซินด์ ห่างจากเมืองการาจี 58 กม. (2) Development of Industrial Park on Pakistan Steel Mills Land, Port Bin Qasim เมืองการาจี และ (3) Bostan Industrial Zone รัฐบาโลจิสถาน ส่วนอีก 6 แห่ง อยู่ทางตอนเหนือของปากีสถาน [su_spacer size=”20″]
จากข้อมูลที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ ในปากีสถานตั้งแต่เริ่มโครงการ CPEC จนถึง ธ.ค. 2562 โครงการพัฒนาภายใต้ CPEC ที่ดําเนินการเรียบร้อยแล้วมีจํานวน 11 โครงการ ใช้งบลงทุนทั้งสิ้น 1.89 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สร้างงานให้ชาวปากีสถานจํานวน 75,000 งาน และยังเหลือโครงการขนาดใหญ่อีก 20 โครงการที่อยู่ในระหว่างดําเนินการ นาย Lijian Zhao กล่าวด้วยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ปากีสถานในปัจจุบันแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน ปัจจุบันมีนักศึกษาปากีสถานที่ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในจีนกว่า 22,000 คน ซึ่งมีมากกว่านักศึกษาปากีสถานที่เรียนอยู่ในอังกฤษและสหรัฐฯ รวมกัน [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี