Monday, May 19, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

เจาะลึกพัฒนาการล่าสุด โครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน – ปากีสถาน (CPEC)

26/07/2019
in ทันโลก, เอเชีย
0
เจาะลึกพัฒนาการล่าสุด โครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน – ปากีสถาน (CPEC)
0
SHARES
133
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

เจาะลึกพัฒนาการล่าสุด โครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน – ปากีสถาน (CPEC) 

นาย Minaj Gut Baloch ให้ความเห็นในบทความจากหนังสือพิมพ์ Balochistan Express ว่า โครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน – ปากีสถาน CPEC เมือง Gwadar แคว้นบาลูจิสถาน ยังไม่อาจนํามาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองแก่สาธารณชนในแคว้นบาลูจิสถาน เพราะแม้แต่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจุดศูนย์กลางของโครงการเช่นเมือง Gwadar ก็จะไม่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงจากโครงการฯ ปัญหาหลักที่เป็นอุปสรรคของโครงการ CPEC ในพื้นที่ คือการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้อย่างรุนแรงที่ยังคงไม่ได้รับการแก้ไขจากรัฐบาลปากีสถาน (ทางการเมือง Quetta ออกกฎระเบียบห้ามใช้น้ำล้างรถยนต์และรดน้ำต้นไม้ เนื่องจากกรณีเมือง Quetta ขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง) จึงเป็นเรื่องแปลก หากมีคนอ้างว่า โครงการ CPEC จะนําความเจริญรุ่งเรืองมาทั่วแคว้นบาลูจิสถาน จากสถิติที่ปรากฏ พบว่า ชาวบาลูจิสถานร้อยละ 62 ยังไม่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาด และพื้นที่ของแคว้นบาลูจิสถานร้อยละ 58 ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรมได้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนน้ำเนื่องจากความแห้งแล้ง แม้ว่ารัฐบาลปากีสถานมีแผนจะสร้างท่าเรือน้ำลึกเมือง Gwadar ให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล แต่น่าเสียดายที่ชาวบาลูจิสถานยังขาดแคลนปัจจัยหลักสําหรับการดํารงชีวิต

[su_spacer]

บทความข้างต้น กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า นาย Sun Weidong เอกอัครราชทูตจีนประจำปากีสถาน เคยกล่าวไว้ว่า โครงการ CPEC จะสามารถแก้ไขปัญหาการว่างงานในบาลูจิสถานได้ แต่นาย Munaj เห็นแย้งว่า แคว้นบาลูจิสถานซึ่งเป็นแคว้นที่ใหญ่ที่สุดของปากีสถาน (พื้นที่ร้อยละ 64 ของประเทศ) แต่เป็นแคว้นที่ยากจนที่สุด จํานวนประชาชนที่มีฐานะเศรษฐกิจต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน (below poverty line) สูงถึงร้อยละ 53 จํานวนผู้ว่างงานตามที่ปรากฏในสถิติของรัฐบาลแคว้นบาลูจิสถานมีอยู่ร้อยละ 32 โดยในแต่ละปี จะมีบัณฑิตจบใหม่ประมาณ 25,000 คน ในจํานวนดังกล่าว มีเพียง 2,000 คน เท่านั้น ที่หางานทําได้ ซึ่งนักวิชาการบางราย ให้ความเห็นว่า จํานวนผู้ว่างงานจริง น่าจะสูงกว่าสถิติทางการหลายเท่าตัว

[su_spacer]

นาย Kaiser Bengali นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส อดีตที่ปรึกษามุขมนตรีแคว้นบาลูจิสถาน กล่าวว่า โครงการ CPEC ไม่ใช่ game changer แต่เป็น game Over มากกว่า และอาจจะไม่ใช้โครงการที่สร้างสถานการณ์ win-win แก่ทั้งสองประเทศ นาย Bengali มองว่า โครงการ CPEC เป็นสัญญาณอันตรายสําหรับธุรกิจท้องถิ่น เช่น สมาคมผู้ประกอบการจําหน่ายสายเคเบิลในปากีสถาน ซึ่งเคยทํายอดขายสูง แต่ปัจจุบันกลับต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอด เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันสู้กับบริษัทจีนที่นําเข้าเคเบิลโดยไม่ต้องเสียภาษีได้อีกต่อไป ในส่วนที่เกี่ยวกับโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก Gwadar นาย Bengali กล่าวว่า ท่าเรือ Gwadar ไม่อาจเทียบเท่าท่าเรือดูไบ ตามที่รัฐบาลปากีสถานป่าวประกาศไว้ เนื่องจาก Gwadar เป็นท่าเรือที่สร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการพักสินค้าของจีนที่นําเข้าปากีสถานโดยทางบก ก่อนส่งออกต่อไปยังภูมิภาคอื่น (re-exporting) และเห็นว่ารัฐบาลปากีสถานไม่สามารถจะสร้างเมือง Gwadar ให้เป็นเมือง Mega City ได้ เนื่องจากปัญหาขาดแคลนน้ำในแคว้นบาลูจิสถานที่ยังไม่เห็นแนวโน้มว่าจะแก้ปัญหาได้ในเร็ววัน รัฐบาลปากีสถานเคยแสดงความเห็นว่าจะแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำด้วยการสร้างโรงกลั่นน้ำทะเล (Desalination Plants) แต่นาย Bengli เห็นว่า คงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากการสร้างโรงกลั่นน้ำทะเลต้องใช้งบประมาณและมีค่าใช้จ่าย ในการบํารุงรักษาที่สูง ซึ่งคาดว่า ต้องใช้งบประมาณจํานวน 750 ล้านรูปีฯต่อปี รัฐบาลจีนคงไม่ประสงค์จะให้ความช่วยเหลือด้านการเงินในเรื่องนี้ รัฐบาลปากีสถานจึงไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในส่วนนี้ได้ด้วยตนเอง เนื่องจากส่วนแบ่งของภาษีจากการบริหารท่าเรือ Gwadar ที่ปากีสถานจะได้รับมีเพียงร้อยละ 9 เท่านั้น ในขณะที่จีนจะได้ส่วนแบ่งถึงร้อยละ 91

[su_spacer]

บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Daily Times กล่าวสนับสนุนความเห็นดังกล่าวว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลปากีสถานพยายามโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชน เกิดความเข้าใจผิดคิดว่า โครงการท่าเรือ Gwadar จะเปลี่ยนโฉมหน้าปากีสถาน ไม่เฉพาะในพื้นที่ แต่รวมถึงในภูมิภาคด้วย แต่งบประมาณที่ได้รับมา ไม่ได้มีการจัดสรรเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างเป็นระบบ และยั่งยืน จึงเห็นว่า รัฐบาลปากีสถานกําลังทําสงครามจิตวิทยากับประชาชนด้วยการอ้างว่า โครงการท่าเรือ Gwadar คือ game changer สําหรับปากีสถาน

[su_spacer]

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลปากีสถาน กล่าวย้ำในหลายโอกาสว่า โครงการท่าเรือ Gwadar จะสามารถเปลี่ยนโฉมหน้าปากีสถาน ได้ในอนาคต โดยเฉพาะด้านการขนส่งสินค้าทางทะเลในภูมิภาคเอเชียใต้ เนื่องจากความสําคัญทางภูมิศาสตร์และเป็นหนึ่งในท่าเรือน้ำลึกนอกช่องแคบ Hormuz รวมทั้งการเชื่อมต่อกับภาคตะวันตกของจีนและประเทศในเอเชียกลางที่ไม่มีทางออกทางทะเล และโครงการต่าง ๆ ของ CPEC จะช่วย ปากีสถานหลุดพ้นจากภาวะวิกฤติด้านพลังงานไฟฟ้า และจะเป็น ตัวดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในปากีสถาน จึงเป็นโอกาสของปากีสถานที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

[su_spacer]

สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี

Tags: ความร่วมมือปากีสถาน
Previous Post

ติดตามงาน China (Baoji) International Industrial Products Purchasing Exhibition งานแสดงสินค้าและพบปะผู้ประกอบการทั่วโลกด้านอุตสาหกรรมปิโตรเลียม

Next Post

EU ร่วมมือสิงคโปร์จดทะเบียนสินค้า GIs เตรียมพร้อมก่อนข้อตกลงการค้า EUSFTA มีผลบังคับใช้

admin3

admin3

Next Post
เจาะลึกพัฒนาการล่าสุด โครงการระเบียงเศรษฐกิจจีน – ปากีสถาน (CPEC)

EU ร่วมมือสิงคโปร์จดทะเบียนสินค้า GIs เตรียมพร้อมก่อนข้อตกลงการค้า EUSFTA มีผลบังคับใช้

Post Views: 825

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X