เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท Messe Frankfurt ซึ่งเป็นบริษัทออแกไนซ์เซอร์ระดับโลก ได้จัดงานแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีชื่อว่า Heimtextil 2020 ระหว่างวันที่ 7-10 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในงานดังกล่าวมีผู้ประกอบการด้านสิ่งทอจากหลายประเทศเข้าร่วมจัดแสดงสินค้า รวมไปถึงผู้ประกอบการสิ่งทอจากปากีสถานเข้าร่วมด้วย ซึ่งผู้ซื้อจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปโดยเฉพาะที่เป็นกลุ่มค้าปลีกขนาดใหญ่ให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของปากีสถานอย่างมาก ตัวอย่างเช่น กลุ่มนักออกแบบจากปากีสถานนำเสนอผ้าและการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 50 ปีของการจัดนิทรรศการ โดยภายในงาน Heimtextil 2020 และสำนักงานพัฒนาการค้าของปากีสถาน ได้จัดพื้นที่สินค้าสำหรับชาวปากีสถาน โดยมีบริษัทในปากีสถานเข้าร่วมทั้งหมด 231 บริษัทและผู้ประกอบการ SMEs เข้าร่วมถึง 56 ราย
[su_spacer]
อีกทั้ง อุตสาหกรรมสิ่งทอของปากีสถานยังได้ถูกกล่าวถึงภายในงานนิทรรศการดังกล่าวว่า เป็นตัวอย่างของการปกป้องสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยนาง Lucie Brigham หัวหน้าสำนักงานความร่วมมือแห่งสหประชาชาติ (UNOP) กล่าวชื่นชมถึงการริเริ่มของอุตสาหกรรมสิ่งทอปากีสถาน โดยเฉพาะผู้ผลิตผ้าเดนิม (Denim) ที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในระหว่างการแถลงข่าวเปิดงาน Heimtextil 2020 อีกด้วย
[su_spacer]
นาง Lucie Brigham เน้นย้ำว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอมีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ และภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอของปากีสถานควรจะเดินหน้ากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของประเทศ ทั้งนี้ นาง Lucie กล่าวชื่นชมอุตสาหกรรมของปากีสถานกำลังก้าวไปสู่แนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม นาง Lucie ได้เรียกร้องให้มีการส่งเสริมและสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอของปากีสถาน และได้ย้ำว่า สหประชาชาติจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับประเทศสมาชิก ซึ่งรวมถึงปากีสถาน เพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศโดยรวม
[su_spacer]
ในขณะเดียวกัน นาย Olaf Schmidt รองประธานฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งทอและสิ่งทอแห่งบริษัท Messe Frankfurt Textiles and Textile Technologies บริษัทผู้จัดงาน Heimtextil 2020 กล่าวภายในงาน Heimtextil 2020 ว่า การเดินทางไปสู่การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นยังคงเป็นหนึ่งในประเด็นท้าทายมากที่สุดของอุตสาหกรรมสิ่งทอในหลายประเทศในขณะนี้ และยังกล่าวเสริมว่า เมื่อพูดถึงประเทศปากีสถาน ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอของปากีสถานจะขึ้นชื่อว่ามีความก้าวหน้าในการพัฒนาและอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ตัวแทนบริษัทส่งออกในปากีสถาน เน้นว่า การแข่งขันในตลาดโลกนั้นเริ่มมีความง่ายยิ่งขึ้นสำหรับผู้ประกอบการที่ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขายสินค้าได้ราคาที่ดี
[su_spacer]
โดยเห็นได้จากตัวอย่างของนาย Mohammad Asif ผู้อำนวยการฝ่ายแฟชั่นศิลปะกล่าวว่า บริษัทของเขาได้ผลิตผ้าเช็ดตัวและส่งออกมาประมาณ 20 ปี โดยมีผู้ซื้อรายใหญ่จากสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งอธิบายว่า ลูกค้าของบริษัทต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะทำให้กระบวนการของเราเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เขายังเสริมว่า บริษัทของเขาลงทุน 40 ล้านรูปีปากีสถานในช่วงสองปีที่ผ่านมาเพื่อทำให้กระบวนการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และได้รับใบรับรองผู้ผลิตอย่างยั่งยืนเมื่อปีที่ 2562 จาก Oeko-Tex ซึ่งเป็นสถาบันทดสอบสิ่งทอ (The International Association for Research and Testing in the Field of Textile Ecology: Oeko) จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ที่รับรองมาตรฐานฉลากสากลที่เป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงมาตรฐานสากลว่าการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะไม่มีอันตรายต่อผู้ซื้อ อีกทั้งเขาชี้ให้เห็นว่าความต้องการผลิตภัณฑ์“ Made in Green” เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยฉลาก Made in Green เป็นฉลากที่ออกโดย Oeko-Tex สำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าสิ่งที่ผ่านการรับรองได้รับการทดสอบปราศจากสารอันตราย
[su_spacer]
ทั้งนี้ นาย Mohammad Imroz Iqbal ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดของบริษัท Yunus Textile Director ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในอุตสาหกรรมสิ่งทอปากีสถาน กล่าวว่า ภายใต้ใบอนุญาตผลิตสีเขียว ผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product) หรือฉลาก Made in Green นั้น น้ำเสียที่มาจากกระบวนการผลิตจะต้องถูกกำจัดด้วยวิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยตั้งแต่เส้นด้าย ตลอดจนเส้นใย สีย้อม และเคมีภัณฑ์ จะต้องผ่านกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ นาย Iqbal กล่าวว่า การมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก และบริษัทที่ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นจะได้รับความนิยมมากกว่าบริษัทที่พึ่งพาวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม เนื่องจากบริษัทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเข้าถึงตลาดและพัฒนาสินค้าของตนอย่างต่อเนื่อง
[su_spacer]
นอกจากนี้ นาย Mehtabuddin Chawla ประธานอุตสาหกรรมของบริษัท Al-Karam Towel Industries ในปากีสถาน เสนอไว้ว่า กระบวนการและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะเป็นหนทางเดียวที่อุตสาหกรรมสิ่งทอของปากีสถานจะอยู่รอดในตลาดโลกได้ โดยผู้ซื้อจะบังคับให้ผู้ผลิตใช้กระบวนการและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่อยู่ในฟาร์มถึงชั้นวางสินค้า ทั้งนี้ เขาเผยว่า บริษัทฯ กำลังทำงานร่วมกับเกษตรกรปลูกฝ้าย เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม นาย Chawla เน้นว่าอุตสาหกรรมสิ่งทองตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ต้องเปลี่ยนไปสู่แนวคิด Made in Green และต้องได้สนับสนุนจากรัฐบาลซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการขับเคลื่อนการผลิตสีเขียวได้
[su_spacer]