ปากีสถาน ได้รับการจัดอันดับโดยธนาคารโลก ให้เป็นประเทศที่มีความสะดวกในด้านการค้าผ่านชายแดนในปี 2563 อันดับที่ 111 ของโลก ซึ่งถือเป็นการขยับขึ้น 31 อันดับ (ก่อนหน้านี้อันดับ 142) นอกจากนี้ ยังทําให้อันดับ Ease of Doing Business 2020 ในภาพรวมขยับสูงขึ้นจากอันดับ 136 เป็น 108 ของโลก ส่งผลให้ ปากีสถานเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่มีพัฒนาการโดยรวมดีขึ้นมากที่สุดในโลก ซึ่งพัฒนาการดังกล่าวเป็นผลลัพธ์จากการดําเนินนโยบาย 3 ข้อของหน่วยงานจัดเก็บภาษีของรัฐบาลกลาง (The Federal Board of Revenue – FBR) ดังนี้
.
- ส่งเสริมการบูรณาการการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านระบบออนไลน์WeBOC (Web-Based One Customs).
- ลดจํานวนเอกสารที่ไม่จําเป็นสําหรับการนําเข้า/ส่งออกสินค้า.
- ยกระดับการทํางานเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ศุลกากร (proactive role) มากยิ่งขึ้น
.
นอกจากนี้ พัฒนาการดังกล่าวยังแสดงให้เห็นว่าปากีสถานเริ่มมีนโยบายที่สอดคล้องกับความตกลงในการอํานวยความสะดวกด้านการค้า (Trade Facilitation Agreement) ภายใต้กรอบ WTO ที่ปากีสถานเป็นสมาชิกมากขึ้น และการอํานวยความสะดวกด้านการค้าผ่านชายแดนถือเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของรัฐบาลปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม FBR ยังคงต้องการยกระดับศักยภาพด้านการค้าผ่านชายแดนของปากีสถาน โดยรัฐบาลอยู่ระหว่างการเร่งดําเนินโครงการสําคัญ 2 โครงการ คือ
.
- โครงการRegional Improvement of Border Services (RIBS) ซึ่งเน้นการพัฒนาระบบการให้บริการที่ด่านชายแดนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันกําลังปรับใช้กับด่านชายแดนหลักที่สําคัญสําหรับการขนส่งสินค้า เช่น ด่าน Torkham และ Chaman (ติดกับอัฟกานิสถาน) และด่าน Wagah (ติดกับอินเดีย)
.
- โครงการPakistan Single Window ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาระบบ ICT เพื่อช่วยบูรณาการและเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการนําเข้า/ส่งออก โดยระบบดังกล่าวจะมี platform ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นเอกสารที่จําเป็นถึงหน่วยงานต่าง ๆ ได้เพียงครั้งเดียว (at a single-entry point)
.
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มี Ease of Doing Business ในภาพรวม อยู่ในอันดับที่ 21 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการส่งออกสินค้ามายังประเทศไทยนั้นง่ายดายกว่าการส่งออกสินค้าไปยังปากีสถานอยู่มาก นอกจากนี้การที่ปากีสถานได้รับการจัดอันดับ Ease of Doing Business 2020 ที่ดีขึ้นจากปีก่อนหน้า ก็ถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการที่ไทยที่ส่งออกสินค้าไปยังปากีสถานอยู่แล้ว หรือผู้ที่สนใจส่งออกสินค้าไปยังปากีสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการไทยที่ผลิตสินค้าฮาลาล เนื่องจากปากีสถานนั้นเป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก จึงถือเป็นตลาดสินค้าฮาลาลที่มีขนาดใหญ่ที่จะส่งสินค้าไป ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศ ผ่านการดำเนินงานของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด และสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมสินค้าและธุรกิจฮาลาลไทยในปากีสถานมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยที่ต้องการส่งออกสินค้าไปยังปากีสถาน รวมถึงผู้ประกอบการไทยในปากีสถานอีกด้วย
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด