ในภาพรวม ปากีสถานถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 อย่างรุนแรง ในปีงบประมาณ 63 การเติบโตของ GDP ติดลบที่ร้อยละ 0.38 โดยภาคการเกษตรเติบโตขึ้น ร้อยละ 2.67 แต่ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการหดตัวลงติดลบร้อยละ 2.64 และ 0.59 ตามลำดับ การส่งออกหดตัวลงอย่างหนักจากอานิสงค์ของอุปสงค์ที่ลดน้อยลงของตลาดโลก รัฐบาลต้องทุ่มเงินมหาศาล ในการต่อสู้กับโควิด-19 ในประเทศ ทั้งการสร้างสถานที่และการสั่งซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ การจัดตั้งศูนย์โควิด การเสริมสร้าง บุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงการให้เงินเยียวยาแก่ภาคสังคม โดยรัฐบาลได้ประกาศกองทุนเยียวยามูลค่า 1.24 ล้านล้านรูปีฯ
[su_spacer]
จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้รัฐบาลนำโดยนายกรัฐมนตรี Imran Khan ต้องผลักดันข้อริเริ่ม “Global Initiative on Debt Relief” ให้ประเทศร่ำรวยรวมถึงองค์การระหว่างประเทศ ผ่อนผันหนี้ให้แก่กลุ่มประเทศยากจนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รุนแรงมากกว่า ซึ่งภายหลัง กลุ่ม G20 มีมติพักชำระหนี้ให้กลุ่ม ประเทศกำลังพัฒนา 76 ประเทศ ซึ่งรวมถึงปากีสถานด้วย นอกจากนี้ปากีสถานยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ เพื่อปลดตนเองออกจากกลุ่ม Grey list ของกลุ่ม FATF โดยปากีสถานจะต้องเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบและแสดงถึงความโปร่งใสทาง การเงินให้สอดคล้องกับแนวทาง 27 ข้อที่กลุ่ม FATF กำหนด ก่อนที่คณะกรรมการจะประเมินผลงานและตัดสินใจในระหว่างการประชุมเต็มคณะ ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในช่วงเดือน ต.ค. 63 ว่าปากีสถานจะถูกปลดออกจาก Grey list หรือจะต้องถูกลดระดับให้ไปอยู่ในกลุ่มประเทศ Black list และจะต้องถูกคว่ำบาตรทางการเงินจากประชาคมโลก อนึ่ง ธนาคารโลกคาดการณ์เศรษฐกิจในแถบเอเชียใต้ ว่าผลกระทบจากโควิด-19 จะฉุดการเติบโตของภูมิภาคให้เลวร้ายที่สุดในรอบ 40 ปี โดยมีแนวโน้มการขยายตัวลดลงจากร้อยละ 6.3 จากการคาดการณ์เมื่อ 6 เดือนก่อนหน้า เหลืออยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.8 – 2.8 ในปีนี้
[su_spacer]
GDP คาดว่าในปีงบประมาณ 63 นี้จะหดตัวลงร้อยละ 0.4 จากที่ขยายตัวขึ้นร้อยละ 3.3 ในปีงบประมาณ 62 ภาคการเกษตร ขยายตัวขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 2.7 เทียบกับในปีที่แล้วที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 โดยมี ปัจจัยหลักจากพืชผลทางการเกษตร (ข้าวสาลี ข้าวสาร ข้าวโพด อ้อย ฝ้าย) ที่เติบโตขึ้นถึงร้อยละ 3 ภาคอุตสาหกรรม หดตัวลงร้อยละ 2.6 โดยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการ Lockdown ของรัฐบาล ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ภาคบริการ หดตัวลงอย่างมาก การค้าขายปลีก/ส่งและภาคการขนส่งหดตัวลงร้อยละ 3.4 และ 7.1 ตามลำดับ จากผลกระทบของการ Lockdown ทั้งนี้ รัฐบาลได้ออกประกาศนโยบายเยียวยา 1.2 ล้านล้านรูปีฯ เพื่อกระตุ้น การเติบโตของภาคบริการ ซึ่งรวมถึงการยกเว้นภาษีและการให้เงินเยียวยาให้แก่ผู้ประกอบการและ ประชาชน
[su_spacer]
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเดือน เม.ย. 63 มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์ฯ เทียบกับจำนวน 1 พันล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนของปีก่อน หรือมูลค่าการลงทุนในปีนี้มากขึ้นประมาณร้อยละ 127 โดยมีมูลค่า การลงทุนจากจีนมากที่สุดหรือร้อยละ 41 ของ FDI ทั้งหมด ตามด้วยนอรเวย์ที่ร้อยละ 13 ภาคพลังงานยังเป็นภาคส่วนที่ ลงทุนมากที่สุดร้อยละ 35 ตามด้วยภาคการสื่อสารร้อยละ 15 โดยที่ผ่านมา ปากีสถานได้ลงนามข้อตกลง MoU หลายฉบับกับซาอุดีอาระเบีย มูลค่า 20 พันล้านดอลลาร์ฯ และไม่นานมานี้ได้ลงนามข้อตกลงกับรัสเซียเกี่ยวกับโครงการท่อแก๊ส ทั้งนี้ การลงทุน FDI ที่ขยายตัวมากขึ้นสืบเนื่องมาจากการที่รัฐบาลออกนโยบายกระตุ้นการลงทุนในประเทศ โดยเฉพาะการยกเว้นภาษีและให้สิทธิพิเศษต่าง ๆ แก่นักลงทุนต่างชาติ
[su_spacer]
ภาวะเงินเฟ้อ ในปีงบประมาณปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อล่าสุดอยู่ที่ร้อยละ 11 ในเดือน พ.ค. 63 โดยมีอัตราเงินเฟ้อ สูงสุดที่ร้อยละ 14.6 ในเดือน ม.ค. 63 ซึ่งเป็นผลจากการปรับอัตราภาษีด้านพลังงานและการปรับใช้อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ตามราคาตลาด (market-based) ของรัฐบาล ค่าเงินรูปีฯ ในเดือน เม.ย. 63 ค่าเงินรูปีตกต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์หรือ 167.9 รูปีฯ ต่อ 1 ดอลลาร์ฯ ทุนสำรองระหว่างประเทศตกลงร้อยละ 10 อยู่ที่ 16.9 พันล้านดอลลาร์ฯ ในเดือน พ.ค. 63
[su_spacer]
Privatization ในปีงบประมาณ 63 รัฐบาลตัดสินใจประกาศการให้ประมูล 33 entities ของรัฐ รวมถึง 6 บริษัท ภาครัฐ อย่างไรก็ดี กำหนดการประมูลต่าง ๆ ถูกเลื่อนออกไปเป็นช่วงปีงบประมาณ 64 เนื่องจากวิกฤตโควิด ทั้งนี้ ปัจจุบัน บริษัท GPSC ของกลุ่ม ปตท. ก็อยู่ในระหว่างการร่วมประมูลโรงงานไฟฟ้าของปากีสถานด้วยเช่นกัน
[su_spacer]
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ภาวะการขาดดุลดีขึ้นอย่างมากจนถึงเดือน มี.ค. 63 โดยลดลงร้อยละ 73 หรือ 2.8 พันล้านดอลลาร์ฯ (ร้อยละ1 ของ GDP) จากการขาดดุลถึง 10.3 พันล้านดอลลาร์ฯ (ร้อยละ 4 ของ GDP) ในปีที่แล้ว สาเหตุหลักมาจากนโยบายรัฐบาลที่ลดการนำเข้า แต่เน้นการส่งออก ทำให้การขาดดุลทางการค้าลดลงถึงร้อยละ 31 หรือ 14.7 พันล้านดอลลาร์ฯ เทียบกับ 21.3 พันล้านดอลลาร์ฯ ในปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือน เม.ย. 63 การส่งออกมูลค่า 18.4 เทียบกับ 19.2 พันล้านดอลลาร์ในปีก่อน หรือส่งออกลดลงร้อยละ 4 เนื่องจากสถานการณ์โควิดที่กระทบต่ออุปสงค์ของตลาดโลก การนำเข้าในช่วงดังกล่าวลดลงเหลือ 38 จาก 45.4 พันล้านดอลลาร์ในปีก่อน ถือเป็นมูลค่าการนำเข้าที่ต่ำที่สุด ในรอบ 4 ปี การนำเข้าน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26 ของการนำเข้าทั้งหมด
[su_spacer]
การส่งเงินกลับบ้าน (Foreign Remittances) ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา การส่งเงินกลับบ้านของ แรงงานชาวปากีสถานทั่วโลกมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี โดยในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 63 ชาวปากีสถานในต่างประเทศส่งเงินเข้าประเทศมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีมูลค่า 23.12 พันล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวขึ้นร้อยละ 6.4 และขยายตัวขึ้นร้อยละ 7.8 ในช่วงเดือน มี.ค. – มิ.ย. 63 การส่งเงินในช่วงเดือน มิ.ย. 63 นั้นสูงกว่าช่วงเดียวกันในปีก่อนถึงร้อยละ 50 ที่มีจำนวน 1.64 พันล้านดอลลาร์ฯ ในเดือนเดียวกันเงินที่ส่งกลับประเทศจากซาอุดีอาระเบีย ถูกบันทึกไว้ที่ 610 ล้านดอลลาร์ฯ ในขณะที่จาก สหรัฐฯ ยูเออี และอังกฤษอยู่ที่ 450 430 และ 400 ล้านดอลลาร์ฯ ตามลำดับ ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา FR ของ ชาวปากีสถานมีส่วนช่วยคงอัตราการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของปากีสถานจากภาวะการขาดดุลทางการค้าได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ล่าสุด World Bank ได้คาดการณ์ว่า FR ของชาวปากีสถานจะลดลงร้อยละ 23 ในปีงบประมาณ 64 เนื่องจากประเทศในกลุ่ม GCC ที่ ชาวปากีสถานส่วนใหญ่ทำงานอยู่มีแนวโน้มจะลดการจ้างงานสาเหตุจากราคาน้ำมันโลกที่น่าจะตกต่ำ รวมถึงการที่เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอย
[su_spacer]
CPEC ในปีงบประมาณ 63 โครงการต่าง ๆ ภายใต้ CPEC ยังคงดำเนินการต่อไป มีบางโครงการที่ดำเนินการ แล้วเสร็จตามกำหนดการเช่น โครงการ Hubco & Engro Coal และโครงการก่อสร้างทางหลวง เช่น ถนน Peshawar Karachi Motorway อย่างไรก็ดี โครงการส่วนใหญ่ยังได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตโควิดทำให้ดำเนินการได้ล่าช้าและ อาจไม่เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ที่ผ่านมาปากีสถาน และจีนลงนามข้อตกลงในโครงการสร้างเขื่อน พลังงานน้ำที่เมือง Kohala บนแม่น้ำ helum ภายใต้โครงการ CPEC ที่จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1,124 เมกะวัตต์ ด้วยมูลค่า 2.4 พันล้านดอลลาร์ฯ
[su_spacer]