ด้วยเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ได้ปรากฏข่าวตามสื่อหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ในเมืองการาจีว่าหน่วยงานจัดเก็บภาษีของปากีสถาน (Federal Board of Revenue – FBR) ได้ออกประกาศเวียนเกี่ยวกับการกําหนดเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีสําหรับชาวปากีสถานที่พํานักอยู่ในต่างประเทศ (Pakistani Non-Resident) และมาตรการป้องกันการเลี่ยงภาษีด้วยการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
[su_spacer]
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2562 ทาง FBR ได้ออกหนังสือเวียนชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมของกฎหมายภาษีปี 2001 (Tax Ordinance 2001) ตามพระราชบัญญัติการเงินปากีสถาน ปี 2019 (Finance Act 2019) โดยประเด็นหลักของการแก้ไขดังกล่าว คือ การกําหนดระยะเวลาของชาวปากีสถานที่พํานักอยู่ในต่างประเทศที่เข้าข่ายเป็นผู้ต้องเสียภาษีรายได้ (Income Tax) ให้แก่รัฐ โดยระบุว่าหากชาวปากีสถานกลับเข้ามาพํานักในปากีสถานระยะเวลาเกิน 119 วัน (4 เดือน) จะถือว่าเป็น Non-Resident Pakistani ที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีรายได้ให้แก่รัฐทันที ซึ่งก่อนการแก้ไขระเบียบดังกล่าว ระยะเวลาการพํานักที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีรายได้ให้แก่รัฐคือ 183 วัน (5 เดือน) นอกจากนั้นกฎหมายดังกล่าวระบุด้วยว่าหาก Pakistani Non-Resident พํานักในปากีสถานรวมกันเป็นเวลา 365 วันขึ้นไป ภายในระยะลา 4 ปีงบประมาณ (ตั้งแต่ ปี 2558) ก็จะถือเป็น Pakistani Non-Resident ที่ต้องเสียภาษีรายได้ให้แก่รัฐด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ โดยให้กฎหมายดังกล่าว มีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่ปีงบประมาณ 2019 (สิ้นสุดเมื่อเดือนมิถุนายน) ที่ผ่านมา
[su_spacer]
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีของปากีสถาน ระบุว่า การที่ FBR ระบุผลการบังคับใช้ย้อนหลัง (ปีงบประมาณ 2019) ดังกล่าว อาจทําให้เกิดแรงต้านและคัดค้านในวงกว้างจากชาวปากีสถานที่พํานักหรือทํางานในต่างประเทศ และอาจนําไปสู่การฟ้องร้องบนชั้นศาลก็ได้ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อชาวปากีสถานกลุ่มดังกล่าวจํานวนมากซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ FBR มุ่งจะขยายฐานการจัดเก็บภาษี และมักถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่เลี่ยงภาษีด้วยการครอบครองทรัพย์สินในต่างประเทศ
[su_spacer]
นอกจากนั้น FBR ยังได้ออกกฏที่เข้มงวดเพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีของชาวปากีสถานที่มีทรัพย์สินในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ หรือรายได้จากเงินปันผลหรือการลงทุนในต่างประเทศ โดยบังคับให้แจ้งการครอบครองทรัพย์สินต่อ FBR ซึ่งตามพระราชบัญญัติการเงินปี 2019 ระบุว่าผู้ใดไม่แจ้งรายละเอียดการถือครองทรัพย์สินในต่างประเทศหรือให้ข้อมูลการถือครองทรัพย์สินที่เป็นเท็จ ต้องระวางโทษจําคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนรูปีฯ หรือทั้งจําและปรับ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาสถิติการจัดเก็บภาษีจากชาวปากีสถานที่พํานักอยู่ในต่างประเทศของ FBR ไม่ค่อยดีนัก และยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้มาจากประเทศสมาชิกในองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development – OECD) อย่างเต็มรูปแบบได้
[su_spacer]
ในส่วนของข้อมูลเพิ่มเติม ระบุว่า เดือนกันยายน 2559 ปากีสถานได้เข้าร่วมสนธิสัญญาพหุภาคีให้ความช่วยเหลือกันเพื่อต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษี (Multilateral Convention on Mutual Administrative Assistance on Tax Matters) เพื่อเป็นการเปิดช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินกับประเทศสมาชิก รวมทั้งได้ลงนามความตกลงในลักษณะทวิภาคีกับบางประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงิน ซึ่งต่อมาเมื่อเดือนกันยายน ปี2561 ปากีสถานได้รับข้อมูลชุดแรกจากประเทศสมาชิก OECD เกี่ยวกับการทําธุรกรรมทางการเงินในต่างประเทศของชาวปากีสถานที่พํานักในต่างประเทศและข้อมูลการถือครองทรัพย์สินในต่างประเทศ ซึ่งพบว่ามีมูลค่าประมาณ1.15 พันล้านรูปีฯ ต่อมาในปี 2562 พบข้อมูลบัญชีธนาคารต่างประเทศที่ชาวปากีสถานเป็นเจ้าของ จํานวนกว่า50,000 บัญชี และถือครองอสังหาริมทรัพย์อีกจํานวนมาก ปัจจุบัน มีประเทศที่ลงนามความตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินกับปากีสถานแล้ว 28 ประเทศ ซึ่งตามข้อมูลที่ปรากฏยังมีอีกหลายประเทศที่ปากีสถานอยู่ในระหว่างเจรจา แต่ส่วนใหญ่ยังไม่มีการตอบรับ
[su_spacer]
อีกทั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 รัฐบาลปากีสถานประกาศโครงการนิรโทษกรรมทางภาษี (Amnesty Scheme) เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวปากีสถานที่มีทรัพย์สินในต่างประเทศแสดงรายการครอบครอง (Assets Declaration Scheme) โดยกําหนด ระยะเวลาให้มีการแสดงรายการฯ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม ถึง 3 กรกฎาคม2561 ซึ่งมีผู้แสดงรายการจํานวน 900,000 คน ทั้ง ชาวปากีสถานที่พํานักในประเทศและต่างประเทศ ซึ่ง FBR ระบุว่า เมื่อพ้นกําหนดดังกล่าวแล้วรัฐบาลจะเริ่มดําเนินการอย่างจริงจังต่อกรณีผู้กระทําผิดกฎหมาย ผู้บริหารระดับสูงของ FBR กล่าวว่า โครงการ Assets Declaration Scheme มุ่งบริหารจัดการด้าน เอกสารของผู้เสียภาษีให้ถูกต้องมากกว่าการเป็นเครื่องมือเพื่อขยายฐานภาษี
[su_spacer]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี