ด้วยเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ได้ปรากฏข่าวตามสื่อหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์ในเมืองการาจีเกี่ยวกับภาวะ วิกฤตที่ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในปากีสถานกําลังประสบอยู่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อโรงงานผลิต/ประกอบรถยนต์ในเมืองการาจี ส่งผลให้สถิติการขายรถยนต์ในปากีสถานลดลง
[su_spacer]
ก่อนหน้านี้ ทาง Federal Board of Revenue (FBR) จัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ (Federal Excise Duty – FED) สําหรับรถยนต์นําเข้า ขนาดเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1,800 ซีซี ขึ้นไป เท่ากับร้อยละ 20 และขนาด 3,000 ซีซี ขึ้นไป เท่ากับร้อยละ 30 รวมทั้งเรียกเก็บภาษี FED สําหรับรถยนต์ผลิต/ประกอบในประเทศ ขนาดเครื่องยนต์ ตั้งแต่ 1,700 ซีซี ขึ้นไป เป็นร้อยละ 10เท่านั้น แต่เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2562 FBR ปากีสถานได้ออกประกาศแก้ไขตารางการจัดเก็บภาษี FED รถยนต์ใหม่ ซึ่งออกตาม พรบ.การเงิน ปี ค.ศ. 2019 เพิ่มเติม โดยกําหนดจัดเก็บภาษี FED สําหรับรถยนต์ที่ผลิต/ประกอบใน ปท. และรถยนต์นําเข้าทุกขนาดเครื่องยนต์ (across the board) และปรับขึ้นอัตราภาษี FED สําหรับรถยนต์ที่ผลิต/ ประกอบภายในประเทศ อัตราภาษี FED ร้อยละ 2.5 – 7.5 (ร้อยละ 2.5 สําหรับเครื่องยนต์ขนาด 0-1,000 ซีซี ร้อยละ 5 สําหรับเครื่องยนต์ขนาด 1001-2000 ซีซี และร้อยละ 7.5 สําหรับเครื่องยนต์ขนาด 2001 ซีซี ขึ้นไป) และสําหรับ รถยนต์หรูนําเข้า (ร้อยละ 25 – 30)
[su_spacer]
ทางผู้บริหาร บริษัท Honda Atlas Cars Pakistan (HACP) กล่าวว่า ด้วยปัจจัยหลายอย่างในปัจจุบัน ทําให้ส่งผลกระทบและเป็นสัญญาณเชิงลบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในปากีสถาน เช่น การปรับขึ้นของราคารถยนต์อันเนื่องมาจากการลดค่าเงินรูปีฯ ปรับขึ้นร้อยละ 25 ใน 12 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากการผลิตรถยนต์ภายในประเทศ ต้องพึ่งพาการนําเข้าอะไหล่จากต่างประเทศ ถึงร้อยละ 70 ประกอบกับรัฐบาลปากีสถาน กําหนดให้รถยนต์ที่ผลิต/ประกอบภายในประเทศ เป็นประเภทสินค้าที่ต้องเสียภาษี FED ทุกขนาดเครื่องยนต์ เป็นต้น นอกจากนั้น สภาวะเศรษฐกิจของปากีสถาน ในปัจจุบัน ที่ค่อนข้าง ถดถอยและซบเซา ทําให้สถิติการขายรถยนต์ลดลงร้อยละ 7 ทั้งนี้ผู้สังเกตการณ์ด้าน เศรษฐกิจคาดการณ์ว่า ในปีงบประมาณปัจจุบัน สถิติการขายรถยนต์ในปากีสถาน จะลดลงถึงร้อยละ 15-20 โดยเฉพาะรถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,300 ซีซี ปรากฏการณ์ดังกล่าว ทําให้โรงงานประกอบรถยนต์ต้องลดปริมาณการผลิตลง การสั่งซื้ออุปกรณ์รถยนต์จากผู้ผลิตภายในประเทศ (Local vendors) ก็ลดลงตามไปด้วย เนื่องจากความต้องการของผู้ซื้อลดลงและเพื่อมิให้มีรถยนต์ที่ผลิตแล้วคงเหลือในสต็อก
[su_spacer]
ทั้งนี้ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า การลดปริมาณการผลิตรถยนต์ย่อมส่งผลกระทบเชิงลบต่อรัฐบาลปากีสถาน เนื่องจากเมื่อลดจํานวนการผลิตแล้ว รายได้ของบริษัทก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย และจะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีของรัฐบาล ซึ่งทางออกของปัญหานี้ก็คือรัฐบาลปากีสถาน ควรต้องยื่นมือเข้ามาช่วยด้วยการทบทวนมาตรการจัดเก็บภาษี FED ใหม่ และในเดือนกรกฎาคม 2562 บริษัท HACP ได้ปิดโรงงานประกอบรถยนต์รวมแล้ว 12 วัน
[su_spacer]
บริษัท Indus Motors Company (IMC) ผู้ผลิตรถยนต์ Toyota ใน ปากีสถาน ซึ่งมีวิศวกรคนไทย 3 คน ทํางานอยู่ด้วย ได้ลดจํานวนวันของการผลิตรถยนต์ลงเหลือสัปดาห์ละ 5 วัน ในขณะที่ บริษัท Pak Suzuki Motor Company (PSMC) ผู้ผลิตรถยนต์ Suzuki ใน ปากีสถาน ซึ่งเป็นผู้ครองตลาดรถยนต์ขนาด 1,000 ซีซี ใน ปากีสถาน ประกาศว่า บริษัท PSMC จะยังไม่ลดปริมาณการผลิตรถยนต์ในขณะนี้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า บริษัท PSMC คงคาดการณ์ว่า การปรับราคาสูงขึ้นของรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ขนาด 1,000 ซีซีขึ้นไป จะทําให้ผู้ซื้อเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อโดยหันไปสนใจรถยนต์ ที่มีขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 1,000 ซีซี แทน ในขณะเดียวกัน PSMC ยังได้รับประโยชน์จากการที่รัฐบาล ปากีสถาน ปรับขึ้นภาษี FED สําหรับนําเข้ารถยนต์ใช้แล้วอีกทางหนึ่งด้วย จึงยังไม่ตัดสินใจที่จะลดจํานวนการผลิตในระยะปัจจุบัน
[su_spacer]
อุตสาหกรรมรถยนต์ประเภท Original Equipment Manufacturers (OEM) กําลังพิจารณาจะลดปริมาณงานในโรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่ง บริษัท HACP และ บริษัท IMC ได้ตัดสินใจลดปริมาณงานให้คงเหลือเพียงผลัดเดียว (single shift) แล้ว ทั้งนี้ จากข้อมูลที่ปรากฏพบว่า โรงงานอุตสาหกรรมประเภท OEM มีการจ้างแรงงานประมาณ 1 – 1.2 แสนคน และมีแรงงานในลักษณะทางอ้อมที่เกี่ยวกับการผลิตรถยนต์ในปากีสถาน อีกประมาณ 3.5 – 4 แสนคน
[su_spacer]
ผู้สังเกตการณ์ด้านเศรษฐศาสตร์ ปากีสถานกล่าวว่า ก่อนหน้าที่รัฐบาล ปากีสถาน จะกําหนดให้รถยนต์เป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษี FED หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นําประเด็นนี้ไปหารือกับผู้ประกอบการผลิตรถยนต์แล้ว แต่ในขณะนั้น ผู้ประกอบการฯ ประเมินว่า การปรับขึ้นราคารถยนต์อาจจะไม่ส่งผลกระทบต่อการขายมากเท่าใด แต่ผลที่ออกมากลับ ตรงกันข้าม เนื่องจากมีปัจจัยอื่นแทรกซ้อนเข้ามา เช่น การปรับลดค่าเงินรูปีฯ ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการฯ ต่างก็ปรับ ราคาขึ้นมาแล้วกว่าร้อยละ 25 ในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลมีมาตรการลดการ นําเข้ารถหรูที่ใช้แล้วด้วยการปรับขึ้นภาษี FED อาจทําให้ผู้ซื้อ เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อโดยการหันไปสนใจรถยนต์ที่มีขนาด เครื่องยนต์เล็กลงก็เป็นได้ ทั้งนี้ ปริมาณการขายที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด จํากัดอยู่เพียงประเภทรถยนต์หรูชนิด high end ที่ ปริมาณการสั่งจองลดลงถึงร้อยละ 25-30
[su_spacer]
นักเศรษฐศาสตร์บางรายเห็นว่า การที่รัฐบาลปากีสถานเรียกเก็บภาษี FED โดยเฉพาะรถยนต์หรูนําเข้าที่ใช้แล้วในอัตราที่สูงขึ้น จะทําให้รัฐบาลเสียรายได้จากการเก็บภาษีจากการนําเข้ารถยนต์หรูจํานวนมหาศาล กล่าวคือ รถยนต์ขนาดไม่เกิน 1,000 ซีซี ภาษี FED จะอยู่ที่ประมาณ 450,000 รูปีฯ (ประมาณ 9 หมื่นบาท) ในขณะที่รถยนต์หรู (high end) ภาษี FED จะอยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านรูปีฯ (ประมาณ 3แสนบาท) ซึ่งการที่ผู้ซื้อหันไปนิยมซื้อรถยนต์ขนาดเล็ก ในภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาเช่นนี้ จะทําให้ภาษี FED ที่รัฐบาลจะได้รับ น้อยมากเมื่อเทียบกับภาษี FED ของรถยนต์หรู
[su_spacer]
มาตรการดังกล่าวรัฐบาลมุ่งจัดเก็บภาษีบนพื้นฐานการซื้อขายที่มีความเสถียรแต่เป็นเม็ดเงินที่น้อย และต้องสูญเสียรายได้ จากการจัดเก็บภาษีจํานวนมหาศาลจากกลุ่มผู้ซื้อระดับกลางขึ้นไปซึ่งมีกําลังซื้อที่ดีกว่า จึงเห็นควรให้รัฐบาลทบทวน ยุทธศาสตร์ดังกล่าว เพื่อให้อุตสาหกรรมรถยนต์ได้ขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้อง
[su_spacer]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี