รัฐบาลปากีสถานให้ความเห็นชอบนโยบายรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle – EV) สําหรับรถยนต์ขนาด ๔ ล้อ โดยมีสาระสําคัญที่เกี่ยวกับการนําเข้าและการส่งออกรถยนต์ EV การจัดเก็บภาษี การจดทะเบียน และการจัดเก็บภาษีศุลกากร มีใจความสำคัญ ดังนี้คือ
.
๑. สาระสําคัญของนโยบาย EV ของปากีสถาน ที่จะบังคับใช้กับรถยนต์ EV ประเภท ๔ ล้อ มีดังนี้
.
๑.๑ ยกเลิกภาษีศุลกากรและภาษีศุลกากรเพิ่มเติม (Additional Sales Tax – AST) สําหรับการนําเข้ารถยนต์ EV (รถยนต์ทั่วไป จัดเก็บในอัตราเริ่มต้นที่ร้อยละ ๑๕๗)
.
๑.๒ จัดเก็บภาษีอัตราร้อยละ ๑ สําหรับการนําเข้าชิ้นส่วนเพื่อใช้ในการประกอบรถยนต์ในภาคการผลิตรถยนต์ EV ในประเทศ
.
๑.๓ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและการต่อทะเบียนประจําปีสําหรับ รถยนต์ EV ในเขตเมืองหลวง Islamabad Capital Territory (ICT)
.
๑.๔ จัดเก็บภาษีการขายเพียงร้อยละ ๑ เท่านั้น สําหรับรถยนต์ EV ที่ผลิตหรือประกอบภายในประเทศที่มีขนาดไม่เกิน ๕๐ กิโลวัตต์ และสําหรับรถยนต์ EV เพื่อการพาณิชย์ ขนาดเล็ก (Light Commercial Vehicles) ขนาดไม่เกิน ๑๕๐ กิโลวัตต์
.
๑.๕ จัดเก็บภาษีศุลกากรในอัตราร้อยละ ๑ สําหรับ การนําเข้าอุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ EV ในขณะที่ภาษีศุลกากรที่จัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง (Federal Excise Duty – FED) จะไม่บังคับใช้สําหรับรถยนต์ EV และ (5) ยกเว้นภาษีการนําเข้าเครื่องจักรโรงงาน สําหรับการผลิตรถยนต์ EV
.
๒. ทางรัฐบาลปากีสถาณกล่าวว่าประชาชนส่วนใหญ่ในปากีสถาน จะได้รับประโยชน์จากนโยบาย EV และสามารถเข้าถึงการใช้รถยนต์ในราคาประหยัดและถูกกว่าราคารถยนต์ทั่วไป ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลปากีสถาณสนับสนุนการผลิตและการใช้รถยนต์ EV ภายในประเทศ ในขณะที่ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีปากีสถาณ กล่าวว่านโยบาย EV จะเป็นส่วนสําคัญในการนํามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงภายในประเทศ ซึ่งไม่เพียงจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่จะทําให้ราคารถยนต์ในตลาดลดลงด้วย ซึ่งในระยะแรกการผลิตรถยนต์ EV จะเป็นลักษณะการนําเข้าชิ้นส่วนมาประกอบในประเทศมากกว่า และเมื่อมาตรการยกเว้นทางภาษีสิ้นสุดลงหลังผ่านระยะเวลา 99 ปี แนวโน้มในอนาคตจะเป็นการผลิตรถยนต์ EV ภายในประเทศมากยิ่งขึ้น
.
ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ EV ในปากีสถาณเริ่มเป็นรูปเป็นร่างให้เห็น ด้วยการจัดตั้งสมาคมผู้ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Pakistan Electric Vehicles Manufacturing Association – PEVMA) ของภาคเอกชน เป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการผลิตและผู้ประกอบรถยนต์รายใหญ่ภายในประทเศ จํานวน ๕ ราย โดยร่วมมือกับบริษัทผลิตรถยนต์ EV นานาชาติ ซึ่งนอกจากมาตรการจูงใจต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว รัฐบาลปากีสถาณมีแผนที่จะลดอัตราค่าไฟฟ้าต่อหน่วยสําหรับ สถานีชาร์จแบตเตอร์รี่ไฟฟ้าสําหรับรถยนต์ EV เพื่อส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในการเปิดสถานีบริการชาร์จไฟฟ้า นอกจากนั้นรัฐบาลปากีสถาณมีแผนที่จะติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้ากระแสตรงแบบเร็ว (DC Charging) ทุก ๑๐ ตร.กม. ในเมืองหลัก ๆ ทั่วประเทศ และทุก ๑๕-๓๐ ก.ม. บนทางหลวง ทั้งนี้ ปากีสถาณตั้งเป้าการขายรถยนต์ EV ประเภทส่วนบุคคล ให้ได้ร้อยละ ๓๐ ในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ และร้อยละ ๙๐ ในปี ค.ศ. ๒๐๔๐
.
ทั้งนี้ หากพิจารณานโยบายของรัฐบาลปากีสถาณในการจัดเก็บภาษีนำเข้าส่วนประกอบรถยนต์ไฟฟ้า จะพบว่าทางรัฐบาลมีเป้าหมายระยะยาวในการส่งเสริมธุรกิจภาคส่วนนี้ อีกทั้งเพื่อต้องการแก้ไขปัญหามลพิษจากการคมนาคมภายในประเทศ ซึ่งส่งผลถึงด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและพลังงานของรัฐบาลปากีสถาณ ดังนั้นในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประกอบการในการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์และส่งออกรถยนต์อันดับต้นๆ จึงถือเป็นโอกาสที่ดีสําหรับนักธุรกิจไทยในการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ไปในปากีสถานหรือเร่งพัฒนาการผลิตและส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้ก้าวทันกับโลกยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนไปข้างหน้า
.
สกญ. ณ เมืองการาจี