หากกล่าวถึงคำว่า Startup หลาย ๆ ท่านอาจจะนึกถึงภาพองค์กรธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นดำเนินการแต่ใช้เทคโนโลยีอันล้ำสมัยมารองรับโมเดลทางธุรกิจ จนก่อให้เกิดการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และสร้างผลกำไรมหาศาล อย่างไรก็ตาม Startup ยังมีอีกบทบาทที่สำคัญ ในการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันหรือแก้ไขปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษา ความยากจน และปัญหามลภาวะต่าง ๆ Startup จึงเป็นธุรกิจที่ช่วยขับเคลื่อนให้สังคมพัฒนาได้อย่างยั่งยืน [su_spacer size=”20″]
กระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติหรือที่เรารู้จักกันในชื่อ NIAได้เห็นถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและความคิดสร้างสรรค์เช่นนี้จึงได้จัดโครงการ “เสริมสร้างขีดความสามารถด้านนวัตกรรม” โดยพาตัวแทน Startup ไทยเข้าร่วมงาน Oslo Innovation Week 2018 ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ระหว่างวันที่ 24 – 28 กันยายน 2561เพื่อร่วมสำรวจและหาความร่วมมือกับ Startup ชั้นนำระดับโลกในหลากหลายสาขา รวมทั้งเพื่อเตรียมให้ Startup ไทยพร้อมรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต [su_spacer size=”20″]
กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และตัวแทน Startup ไทยเข้าร่วมงาน Oslo Innovation Week
[su_spacer size=”20″]
ตัวแทน Startup ไทยที่ได้ร่วมออกเดินทางไปกับเราในครั้งนี้ ประกอบด้วย 4 บริษัท คือ บริษัท Jasberry บริษัท Ricult บริษัท Socialgiver และ บริษัท EdWings Education โดยทั้ง 4 บริษัทนี้ มาจากภาคอุตสาหกรรมเกษตรกรรม การท่องเที่ยว และการศึกษา ซึ่งแต่ละบริษัทพร้อมแล้วที่จะมาเล่าประสบการณ์สุดพิเศษและความรู้ที่ได้รับมาอย่างเต็มที่สำหรับ Startup ไทยทุกคน
Jasberry Rice [su_spacer size=”20″]
Every rice grain matters. Our small-scale farmers grow their way out of poverty.
Clint Coo
[su_spacer size=”20″]
Jasberry เป็นกิจการเพื่อสังคมด้านเกษตรกรรมที่มุ่งลดความยากจนในหมู่เกษตรกร โดยบริษัทได้ทำงานวิจัยด้านเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อนำไปให้เกษตรกรในโครงการได้ปลูก รวมทั้งให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในเรื่องวิธีการปลูกที่สามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนต่อไร่ หลังจากนั้นจึงนำผลผลิตที่ได้ไปพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม และทำการตลาด Modern Trade ในระดับโลก [su_spacer size=”20″]
คุณ Clint Coo ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทสยามออแกนิคแจ๊สเบอรี่ จำกัด กล่าวว่า จากการเข้าร่วมสำรวจภาคการเกษตรของนอร์เวย์และเข้าร่วมกิจกรรม Oslo Innovation Week นี้ทำให้ได้เห็นว่าภาคการเกษตรของไทยและนอร์เวย์มีความเหมือนและความแตกต่างกันมากในหลายจุด โดยในนอร์เวย์จะเน้นการเกษตรในด้านการประมง ซึ่งความแตกต่างที่สำคัญคือ การประมงที่นอร์เวย์จะใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงานคนในอัตราส่วนที่สูง เนื่องจากค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับสูงมาก ในขณะที่ไทยจะเน้นใช้แรงงานมากกว่าการใช้เครื่องจักร อย่างไรก็ตาม ทั้งสองชาติต่างให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากยิ่งขึ้น [su_spacer size=”20″]
สำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในภาคการเกษตรไทย คุณ Clint กล่าวเสริมว่า เทคโนโลยีสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายรูปแบบ โดยไม่จำกัดอยู่แค่อุปกรณ์ เช่น สมาร์ทโฟน หรือ โดรน เท่านั้น หากแต่อาจนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงสายพันธุ์พืชให้มีคุณลักษณะที่ดีมากยิ่งขึ้น ได้ผลผลิตและทนต่อโรคมากขึ้น รวมถึงปรับปรุงระบบการจัดการน้ำหรือดินให้มีคุณภาพ ดังนั้น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจึงมีความแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ สิ่งที่ได้เห็นจากกิจกรรม Oslo Innovation Week ในประเด็นด้าน Startup คือ การได้เห็นระบบนิเวศ (Ecosystem) ของนอร์เวย์ที่พร้อมรองรับการเกิดขึ้นของ Startup ในทุกรูปแบบ เช่น การทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานรัฐต่าง ๆ และการมี Co-working space ที่บริหารจัดการระบบได้เป็นอย่างดี โดยมีการช่วยเหลือและแบ่งปันประสบการณ์การแก้ไขปัญหากันภายใน จึงทำให้ Startup ของนอร์เวย์เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด [su_spacer size=”20″]
Ricult
[su_spacer size=”20″]
Those who feed us, need us.
นิศากร วัลยะเสวี (คนที่ 2 จากขวา) และทีมงาน [su_spacer size=”20″]
Ricult เป็นกิจการเพื่อสังคมทางด้านเกษตรกรรมอีกหนึ่งบริษัทที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โดย Ricult เป็นบริษัทที่เก็บข้อมูลสภาพอากาศจากภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อวางแผนการเพาะปลูกให้แก่เกษตรกร ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและทำให้ผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพสูง [su_spacer size=”20″]
คุณนิศากร วัลยะเสวี ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ บริษัท รีคัลท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เทคโนโลยีด้านการเกษตรของนอร์เวย์พัฒนาไปได้ไกลมาก โดยเกษตรกรท้องถิ่นสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างจากการเพาะปลูกซึ่งมีการปลูกในโรงเรือนขนาดใหญ่และการประมงซึ่งมีการทำฟาร์มปลาที่ควบคุมปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมได้ง่าย [su_spacer size=”20″]
ส่วนการทำงานของ Startup ของนอร์เวย์ที่เห็นได้อย่างชัดเจนนั่นคือ จะเน้นสร้าง Startup ที่ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ ยกตัวอย่างเช่น Startup ที่ทำงานด้านลดถุงขยะในทะเล และ Startup ที่ทำเรื่องการนำของเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ ซึ่งถือเป็นการทำงานตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Startup ในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่จะยังไม่ได้ทำงานในเชิงสิ่งแวดล้อมมากนัก แต่ก็ถือว่าได้ทำงานในด้านการแก้ปัญหาความยากจนอย่างแข็งขัน เนื่องจากเป็นความจำเป็นที่เร่งด่วนมากกว่า [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ คุณนิศากรฯ ยังได้กล่าวแนะนำเพิ่มเติมว่า Startup ไทยที่ต้องการเข้าร่วมงาน Oslo Innovation Week ในปีถัดไป ควรเตรียมสร้างโมเดลทางธุรกิจของตนเองให้ชัดเจนเพื่อการหาหุ้นส่วนทางธุรกิจจากงาน Oslo Innovation Week ที่ตรงใจได้อย่างรวดเร็ว [su_spacer size=”20″]
Socialgiver[su_spacer size=”20″]
Through Socialgiver, brands and customers can give back together.
กาญจน์ชิตา กิจจันเศียร
[su_spacer size=”20″]
Socialgiver เป็นกิจการเพื่อสังคมทางด้านการท่องเที่ยวโดยเป็น Platform ที่นำสินค้าและบริการที่คงเหลือ (Spare Service Capacity) ที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์และการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร บริการนวดสปา ทัวร์ และบัตรคอนเสิร์ต เป็นต้น มาจำหน่ายในราคาพิเศษเพื่อเปลี่ยนรายได้ส่วนหนึ่งเป็นเงินทุนช่วยเหลือสังคมในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา การสงเคราะห์ชีวิตสัตว์ และการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในสังคม[su_spacer size=”20″]
คุณกาญจน์ชิตา กิจจันเศียร ผู้จัดการฝ่ายประสานงานภาคธุรกิจและหุ้นส่วน บริษัท โซเชียลโมชั่น จำกัด กล่าวว่า การเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ทำให้ได้เห็นถึงพลวัตของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีในวันนี้อาจจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในอีก6 เดือนข้างหน้า จึงทำให้ได้เรียนรู้ว่า Startup ต้องปรับตัวให้เท่าทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับโลก ซึ่ง การที่ Startup บริษัทหนึ่งสามารถดำเนินธุรกิจได้ดีในประเทศของตนเองก็ไม่อาจรับประกันได้เลยว่าจะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องตลอดไป[su_spacer size=”20″]
แม้ว่าเศรษฐกิจของนอร์เวย์จะไม่ได้พึ่งพารายได้หลักจากภาคการท่องเที่ยวมากเท่าประเทศไทย แต่สิ่งที่สะท้อนการทำงานในภาพรวมของนอร์เวย์ที่เด่นชัด คือ การทำงานของ Startup ในนอร์เวย์ที่เน้นการสร้างพื้นที่และกรอบการทำงานใหญ่ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติเพื่อให้การทำงานของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยสำหรับประเทศไทย ปัญหาด้านความหิวโหย โอกาสทางการศึกษา และการเข้าถึงปัจจัย 4 ก็เป็นเป้าหมายหนึ่งใน SDGs เช่นกัน และเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องจัดการเป็นอันดับแรก จึงเป็นเหตุผลที่เราเห็น Startup ในไทยมุ่งทำงานในเชิงดังกล่าวมากกว่า ดังนั้น สิ่งที่จะทำให้ Startup ไทยพัฒนาก้าวขึ้นไปในอีกระดับ คือ การพัฒนาสินค้าหรือบริการของตนเองให้มีจุดเด่น
ที่แก้ไขปัญหาทางสังคมชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็จะช่วยให้ Startup นั้นเติบโตไปพร้อมสังคมได้ในระยะยาว [su_spacer size=”20″]
EdWings Education
[su_spacer size=”20″]
We make millions of students live better.
ณัฐรดา เลขะธนชลท์
[su_spacer size=”20″]
EdWings Education เป็นกิจการเพื่อสังคมทางด้านการศึกษาที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางในการนำนวัตกรรมการเรียนรู้ทุกรูปแบบจากนอกห้องเรียนเข้าไปสู่ “ครู” และ “นักเรียน” ในโรงเรียน ซึ่งมุ่งผลให้เกิดการขยายโอกาสไปทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้สร้างโครงการพัฒนาใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้บุคลากรทางการศึกษาได้เข้าใจปัญหาทางการศึกษาในหลากหลายรูปแบบและบริบทเพื่อลดช่องว่างทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย
คุณณัฐรดา เลขะธนชลท์ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร บริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคม เอ็ดวิงส์เอ็ดยูเคชั่น จำกัด กล่าวว่า การเข้าร่วมงานครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้ถึงระบบนิเวศของ Startupด้านการศึกษาที่พัฒนาไปได้ไกลมาก โดย Co-working space ในนอร์เวย์สามารถสร้างระบบที่ประสานงานกับหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกกับนักเรียน ครู พ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งในอนาคต Startup ไทยสามารถพัฒนาไปถึงในจุดนั้นได้เช่นกัน หากแต่ต้องรวมตัวกันมากขึ้นเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น การขาดกำลังคนหรือกำลังการผลิตชิ้นงานในกิจกรรมบางอย่าง เป็นต้น ซึ่งแต่ละ Startup ต่างมีความเชี่ยวชาญและเป้าหมายในระดับต่างกัน ดังนั้น การรวมตัวกันจะทำให้ Startup โดยรวมเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ สิ่งที่ได้เรียนรู้อีกประการหนึ่งจาก Startup ในกรุงออสโล คือ การหารายได้เพื่อทำให้ Startup สามารถอยู่รอดได้เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะแม้ว่าโมเดลทางธุรกิจนั้น ๆ สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมเป็นอย่างมาก แต่ไม่สามารถบริหารงานให้สภาวะทางการเงินของบริษัทสามารถอยู่รอดได้ด้วยตนเองก็ไม่นับว่าสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกใด ๆ ได้ ดังนั้น สิ่งที่ Startup ไทยสามารถพัฒนาได้ในทันที คือ การสร้างโมเดลทางธุรกิจให้เข้มแข็งเพียงพอที่จะอยู่ได้ในระยะยาว จากนั้นจึงเริ่มสร้างเป้าหมายให้กว้างมากขึ้นจนนำไปสู่เป้าหมายตาม SDGs ที่ทำร่วมกับ Startup ทั้งโลก
งาน Oslo Innovation Week เป็นงานที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเป็นที่พบปะของนักวิจัย นักลงทุน และนักธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม Tech Startup จากทั่วโลก ซึ่งตรงกับความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมอุตสาหกรรม Startup ไทยให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ผ่านการเรียนรู้และหาความร่วมมือในระดับโลก เพื่อในอนาคต Startup ไทยจะเป็นอีกภาคส่วนหนึ่งของสังคมที่ร่วมกันขับเคลื่อนประเทศให้พัฒนาในทุกแง่มุม