การเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนและกระบวนการผลิตอาหารทะเล รวมถึงวิวัฒนาการของนวัตกรรมด้านการประมงและการพัฒนาที่ยั่งยืนของนอร์เวย์ เป็น “หัวใจ” ของความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของชาวนอร์เวย์แต่ดั้งเดิมจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีความสําคัญต่อเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่ ประเทศนอร์เวย์ และเป็นอุตสาหกรรมที่สําคัญเป็นอันดับสองรองจากอุตสาหกรรมน้ํามันและก๊าซธรรมชาติ
นอร์เวย์ส่งออกอาหารทะเลจํานวนมากเกือบร้อยละ 50 ของโลก โดยมีคู่แข่งที่สําคัญ ได้แก่ ชิลี ออสเตรเลียและไอซ์แลนด์ โดยตลาดส่งออกอาหารทะเลที่สําคัญที่สุดของนอร์เวย์ (ประมาณร้อยละ 70) คือยุโรป และ รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกา ส่วนเกาหลีใต้ จีน และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นตลาดที่กําลังเติบโตและมีแนวโน้มขยายตัว ซึ่งไทยเป็นผู้ที่นำเข้าอาหารทะเลจากนอร์เวย์มากเป็นอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็น อันดับ 2 ในเอเชีย (รองจากจีน)
นอร์เวย์มีสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (Norwegian Seafood Council – NSC) ที่อยู่ภายใต้กระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและประมง เพื่อวางแผนและส่งเสริมการตลาดสําหรับอาหารทะเลจากนอร์เวย์ มีหน่วยงานอยู่ใน 15 ประเทศทั่วโลก และยึดหลักการทำงาน 3 ประการได้แก่ (1) การพิทักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) การดูแลบุคลากรโดยการสร้าง incentives ในด้านเงินเดือน ซึ่งชาวประมงจะได้รับ เงินเดือนสูงเช่นเดียวกับ CEO ของ NSC เป็นต้น และ (3) การพัฒนาที่ยั่งยืน
อีกส่วนที่สำคัญเป็นอย่างมาก คือการที่นอร์เวย์ให้ความสำคัญและส่งเสริมการศึกษาวิจัยและการทดลอง ตัวอย่างเช่น บริษัท Akvaplan Niva ที่จัดตั้งโดยรัฐบาลนอร์เวย์ ที่เน้นด้านการศึกษาวิจัยนวัตกรรมทางทะเล การพัฒนาสายพันธุ์ปลา ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมกับการเลี้ยงปลา โดยบริษัทมีเป้าหมายเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) และการดําเนินธุรกิจที่ปลอดภัยต่อ สิ่งแวดล้อม เน้นนวัตกรรม โดยมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงการเพาะเลี้ยงปลาแซลมอนอย่างต่อเนื่อง เช่น เทคโนโลยีการแก้ไขปัญหาเห็บทะเล (sea lice) ซึ่งเป็นปัญหาหลักของฟาร์มปลาแซลมอน และการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาบนฝั่ง (land based) นอกจากนี้ ทําการคิดค้นพันธุ์ปลาใหม่ ๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ตลาด เช่น กุ้งลายเสือ ปลา Halibut และปลา Cod รวมทั้งการปลูกสาหร่าย (Kelp) เพื่อเป็นอาหารและใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสําอางควบคู่ไปกับการเลี้ยงปลาแซลมอนในกระชังปลา
อีกทั้งยังมีบริษัท Nofima ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาวิจัยและนวัตกรรมอาหารสําหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ได้ทําการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสําหรับการผลิตอาหารที่มีประโยชน์กับแซลมอนเพื่อให้ได้เนื้อปลาแซลมอนที่มีคุณภาพ และปลอดภัยสําหรับผู้บริโภค ล่าสุด บริษัทฯ กําลังพัฒนาอาหารมังสวิรัติสําหรับปลาแซลมอน เช่น การใช้สาหร่ายเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของความตกลงปารีส นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังได้พัฒนา “ระบบ traffic light” เพื่อใช้ในการควบคุมและบริหารจัดการการเพาะเลี้ยงปลาแซลมอน (regulate) เพื่อให้บริษัทเพาะเลี้ยงปลาดําเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยระบบฯ จะประเมินผลกระทบของ sea lice ต่อปลาแซลมอนที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
อีกทั้งนอร์เวย์ให้ความสําคัญกับทุกภาคส่วน ในการพัฒนาระบบการผลิตและส่งออกอาหารทะเล เป็นความร่วมมือแบบบูรณาการ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ อุตสาหกรรมและประมงของนอร์เวย์ และภาคเอกชนบริษัท และเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อาหารทะเลของนอร์เวย์ และมีการหลักการการพัฒนาที่ยั่งยืนมาใช้ในทุกขั้นตอนกระบวนการของการผลิตและส่งออกอาหารทะเล ซึ่งถือเป็นโอกาสของไทยในการเรียนรู้แนวทางปฏิบัติในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงปลา กุ้งและปลานิล รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทยกับนอร์เวย์ในด้าน Sustainable Aquaculture อีกด้วย
ทางสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโลมีกำหนดจัด Webinar ในหัวข้อ “การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําอย่างยั่งยืน” เพื่อถอดบทเรียนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําอย่างยั่งยืนของนอร์เวย์ในวันที่ 27 กันยายน 2566 โดยมีวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่ ดร. พุทธ ส่องแสงจินดา ที่ปรึกษากรมประมง ดร. เสจ ไชยเพ็ชร ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยและพัฒนาด้านการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา จากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ ดร. ปัญญา แซ่ลิ้ม Senior Geneticist บริษัท Mowi Genetics ของนอร์เวย์ (บริษัทผลิตแซลมอนที่ใหญ่ที่สุดของนอร์เวย์) เข้าร่วม
ผู้ที่สนใจสามารถติดตามได้ที่ ทาง Facebook สถานเอกอัครราชทูตฯ ที่ลิงก์ https://www.facebook.com/RoyalThaiEmbassyOslo
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล