เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2561 ได้มีการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีภูมิภาคแอฟริกา (African Continental Free Trade Area-AfCFTA) โดยมีประเทศแอฟริกาที่ร่วมลงนามทั้งหมด 44 ประเทศ เพื่อเพิ่มความเป็นเอกภาพให้กับความร่วมมือทางการค้า ผ่านการมีภาษีศุลกากรในอัตราพิเศษ นอกจากนี้ ยังสามารถลดขั้นตอนกระบวนการขนส่งสินค้า และการลงทุนในตลาดประเทศต่างๆ ทีเป็นสมาชิกของ AU ที่มีสมาชิก 55 ประเทศ และหากทุกประเทศลงนามในข้อตกลงดังกล่าว จะถือเป็นเขตการค้าเสรีที่มีประชากรครอบคลุมกว่า 1,200 ล้านคน มูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 78 ล้านล้าน)[su_spacer size=”20″]
ไนจีเรียเป็นหนึ่งใน 11 ประเทศสมาชิก AU ที่ไม่ได้ลงนามนข้อตกลงเขตการค้าเสรีภูมิภาคแอฟริกา (AfCFTA) โดยรัฐบาลไนจีเรียตัดสินใจในนาทีสุดท้ายที่จะไม่ลงนาม ทั้งที่มีการคาดหมายมาโดยตลอดว่าจะมีการลงนามโดยผู้แทนรัฐบาลไนจีเรีย นาย Muhammadu Buhari ประธานาธิบดีไนจีเรีย ได้ให้เหตุผลว่า การตัดสินใจไม่ลงนามครั้งนี้ เพื่อปกป้องกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตและนักธุรกิจท้องถิ่นของประเทศ และเพื่อไม่ให้ไนจีเรียกลายเป็น dumping ground ของสินค้าจากต่างประเทศ การไม่ลงนามในข้อตกลงนี้ ส่งผลให้กลุ่มสมาชิก AU เกิดความกังวล ทั้งต่อ AU และอนาคตของ AfCFTA เนื่องจากไนจีเรียมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา (รวมทั้งแอฟริกาใต้ซึ่งไม่ลงนามเช่นกัน) และมีประชากร 197 ล้านคน ซึ่งนับเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา[su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตาม ข้อตกลง AfCFTA นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ Pan-Africanism ซึ่งไนจีเรียมีความมุ่งมั่นในการให้ความสนับสนุนมาโดยตลอด และเมื่อคำนึงถึงผลดีในระยะยาว (โดยเฉพาะการเพิ่ม intra-Trade และการเพิ่มอำนาจต่อรองทางการเมืองและเศรษฐกิจ) มีแนวโน้มที่ไนจีเรียจะลงนามในข้อตกลง AfCFTA ในที่สุด แต่จำเป็นต้องใช้เวลาก่อนที่จะตัดสินใจลงนาม เพื่อสร้างความมั่นใจว่า เมื่อลงนามไปแล้วจะสามารถปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้ ไนจีเรียมีกำหนดจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2562 อาจจะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่รัฐบาลปัจจุบันตัดสินใจไม่ลงนาม เพราะไม่ต้องการให้ประเด็นการลงนามในข้อตกลง AfCFTA ถูกใช้ประโยชน์โดยฝ่ายตรงกันข้ามก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา