เศรษฐกิจกานาในปี 2561 มีแนวโน้มว่าจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากปัจจัย 1) รายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้น 2) อุปสงค์ภายในประเทศเพิ่มขึ้น 3) การกลับมาของการลงทุนจากต่างประเทศหลังจากที่กานาเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2558 และ 4) อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำลง (อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 10.3 เมื่อเดือน มกราคม 2561 ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2558)[su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี ปัญหาอัตราการว่างงานสูงของกานายังไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้น ถึงแม้จะมีการขยายตัวของเศรษฐกิจก็ตาม ทั้งนี้ แนวโน้มการปรับตัวที่ดีขึ้นดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้บนเงื่อนไขที่ว่าภาครัฐสามารถควบคุมวินัยในการใช้จ่ายและในการปฏิบัตินโยบายด้านการเงิน[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจได้คาดการณ์ว่า กานาน่าจะเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในแอฟริกาในปี 2561 โดย World Bank Doing Business Report ประจำปี 2560 โดยจัดให้กานา อยู่ที่ลำดับ 120 ซึ่งต่ำกว่าเมื่อปี 2559 วึ่งอยู่ลำดับที่ 108 อย่าไรก็ดี เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทสภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก กานานับว่าเป็นประเทศที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับไนจีเรีย ซึ่งอยู่ลำดับที่ 145 และล่าสุดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 ประธานาธิบดีกานา ได้ประกาศว่า เศรษฐกิจกานาได้ขยายตัว ร้อยละ 7.9 ในปี 2560 วึ่งสูงกว่าปี 2559 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.5 (ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กาน่าประสบวิกฤตเศรษฐกิจ)[su_spacer size=”20″]
รัฐบาลกานากำลังพยายามดำเนินนโยบายเพื่อสร้างความหลากหลายให้แก่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อลดการพึ่งพาอุตสาหกรรมน้ำมันดิบ โดยเน้นการพัฒนาสาขาเกษตรกรรม และสาขาการผลิต อันเป็นหัวใจหลักในแผน Akufo-Addo Programme for Economic Transformation ของรัฐบาลกานาชุดปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานของไทยที่ให้ความสำคัญกับกานาโดยพยายามที่จะเพิ่มความร่วมมือทั้งในระดับภาครัฐและภาคเอกชนในสาขาเกษตรกรรม โดยเฉพาะการส่งเสริมการส่งออกเครื่องจักรกลการเกษตรไทยไปกานา[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา