เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2561 เอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา ได้หารือข้อราชการกับนาง Yewande Sadiku, Chief Executive, Nigerian Investment Promotion Commission (NIPC) ที่สำนักงานใหญ่ NIPC กรุงอาบูจา โดยมีสาระสำคัญดังนี้[su_spacer size=”20″]
รัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก โดยเฉพาะไนจีเรีย ซึ่งมีศักยภาพมากและมีองค์ประกอบทุกด้านที่สามารถเอื้อให้ประเทศประสบความสำเร็จในการพัฒนาได้ รวมถึงมีทรัพยากรธรรมชาติที่เอื้อต่อการเพาะปลูกข้าว ประกอบกับประเทศไทยมีความถนัดด้านเกษตรกรรม จึงสอดคล้องกับนโยบาย Economic Recovery and Growth Plan (ERGP) ของประธานาธิบดี Muhammadu Buhari ที่ตั้งเป้าเพื่อพัฒนาการเกษตรเพื่อให้สามารถปลูกข้าวเลี้ยงประชากรในประเทศได้[su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน การส่งเสริมการลงทุนภาคการเกษตรทั้งการปลูก เก็บเกี่ยว หลังเก็บเกี่ยว และ processing เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของ NIPC โดยขณะนี้รัฐบาลไนจีเรียกำลังพยายามปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้ไนจีเรียสามารถรองรับการลงทุนด้านนี้จากต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น[su_spacer size=”20″]
เทคโนโลยีด้านการเกษตรของไทยจะเป็นประโยชน์ต่อไนจีเรียมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการปลูกข้าว และการพัฒนาพันธุ์ข้าว โดยข้าวที่ปลูกในไนจีเรียยังไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ข้าวที่เพียงพอ นอกจากนี้ การลงทุนด้านการปลูกข้าวจากประเทศไทย จะไม่เพียงแต่มีผู้บริโภคจากไนจีเรียเท่านั้น แต่ยังสามารถขายได้ในกลุ่มประเทศ ECOWAS (Economic Community of West African States) ทั้งหมดด้วย ทั้งนี้ เทคโนโลยีการเพาะปลูกที่ไนจีเรียต้องการการลงทุนจากไทยมากที่สุด ได้แก่ ข้าว มะเขือเทศ ข้าวสาลี และการแปรรูปผลิตผลการเกษตร[su_spacer size=”20″]
ประเทศที่มีการลงทุนสูงสุดในไนจีเรียโดยรวม ซึ่งรวมถึงจำนวนเงินการลงทุนและปริมาณการจ้างงาน ได้แก่ จีน แคนาดาและสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศจากทวีปเอเชียที่มีการลงทุนสูงสุดในไนจีเรีย โดยวัดจากปริมาณเงินลงทุน ได้แก่ จีน มอริเชียส มาเลเซียและเกาหลีใต้ หากวัดจากปริมาณการจ้างงาน ได้แก่ อินเดีย จีน เกาหลีใต้และสิงคโปร์ ซึ่งสาขาที่มีการลงทุนสูงสุดในไนจีเรีย ได้แก่ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พลังงานทางเลือก การโทรคมนาคม และเสื้อผ้า[su_spacer size=”20″]
ไนจีเรียมีศักยภาพสูงในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงการลงทุนในภาคเกษตรกรรม เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุดในแอฟริกาตะวันตก ประชากรพูดภาษาอังกฤษ มีการเติบโตของกลุ่มคนชั้นกลาง และมีความเชื่อมโยงกับประเทศสมาชิกอื่นของ ECOWAS ซึ่งรวมถึงการไหลเวียนของสินค้าอย่างเสรีภายในกลุ่ม ECOWAS[su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนที่ประสงค์จะมาลงทุนในไนจีเรียต้องคำนึงถึงอุปสรรคบางประการ อาทิ การขาดโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ โดยเฉพาะโครงสร้างด้านการคมนาคมขนส่ง และพลังงานไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ ตลอดจนระบบเศรษฐกิจยังมีการผันผวนของค่าเงินไนรา และมาตรการทางการเงินของธนาคารไนจีเรียที่เป็นอุปสรรคต่อการนำเงินตราต่างประเทศออกนอกไนจีเรีย[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา