ไนจีเรียมีประชากรกว่า 230 ล้านคน และมีที่ดินเพาะปลูกที่ยังไม่ได้ใช้ประมาณร้อยละ 65 โดยมีเกษตรกรประมาณ 45 ล้านคน ไนจีเรียเป็นเศรษฐกิจตลาดที่ใหญ่ที่สุดในแอพริกา มีที่ดินเพาะปลูกทั้งหมด 84 ล้านเฮกตาร์ (ประมาณ 525 ล้านไร่) โดย 50.4 ล้านเฮกตาร์ (ประมาณ 315 ล้านไร่) ยังไม่ได้ใช้ และมีปริมาณน้ำสำรอง 230 พันล้าน ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันภาคการเกษตรของไนจีเรียเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจ โดยคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของ GDP และจ้างงานถึงร้อยละ 35 ของแรงงานทั้งหมดในปี 2020 พืชหลักที่ปลูกได้แก่ มันลำปะหลัง ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าว มันเทศและโกโก้ โดยร้อยละ 70 ของครัวเรือนมีส่วนร่วมในเกษตรกรอบการเพาะปลูก สภาพอากาศของไนจีเรียเหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชหลากหลายประเภท โดยเฉพาะพืชประเภทถั่ว พืชหัว ผลไม้และธัญพืช เช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ งา โกโก้ มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม และข้าวฟ่าง การเกษตรส่วนใหญ่เป็นในลักษณะการยังชีพ โดยเกษตรกรรายย่อยคิดเป็นมากกว่าร้อยละ 30 และภาคเกษตรกรรมมีส่วนช่วยร้อยละ 36 ของอัตราแรงงานทั้งหมด
โดยไนจีเรียเคยเป็นตลาดส่งออกข้าวอันดับ 1 ของไทยในตลาดโลก (ข้าวนึ่ง) อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน รัฐบาลไนจีเรียดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ และสนับสนุนอุตสาหกรรมการเกษตรภายในประเทศ ด้วยเหตุนี้ ไนจีเรียจึงมีความสนใจให้ไทยเข้ามาลงทุน และมีความร่วมมือเพื่อพัฒนาการปลูกข้าวและอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร โดยเครื่องจักรและอุปกรณ์การเกษตรของไทยเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในไนจีเรีย ในส่วนของจุดแข็งของไทยในไนจีเรีย คือ การเจาะตลาดในธุรกิจ/อุตสาหกรรมการเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่การส่งเสริมการเพาะปลูก การค้าขายเครื่องจักรกล องค์ความรู้เกี่วกับการเกษตร์ในทุกรูปแบบซึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ไนจีเรียให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้หลากหลายขึ้นจากอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
ในส่วนของนโยบายของรัฐบาลไนจีเรีย ได้มีการลดการนำเข้า ตั้งแต่ปี 2558 รัฐบาลไนจีเรียห้ามนำเข้าสินค้าเกษตร 41 รายการ (รวมข้าว) ด้วยการระงับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและเพิ่มภาษี
การสนับสนุนเกษตรในประเทศ โดยการส่งเสริมการปลูกข้าวและพีชอื่น ๆ แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ (ประชากร 230 ล้านคน) การออกนโยบายชั่วคราว (ก.ค. 2567) โดยระงับภาษีนำเข้าอาหารบางชนิด (ข้าวสาลี, ข้าวโพด) 150 วัน เพื่อลดเงินเฟ้อ ด้านอาหาร (ร้อยละ 40) และการวางเป้าหมายระยะยาว ลดการพึ่งพาน้ำมัน (diversity) โดยเน้นการเกษตรเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ด้านทิศทางตลาดการเกษตรของไนจีเรีย ตลาดมีทิศทางเติบโตดี แต่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้เข้ากับนโยบายกีดกันการนำเข้า และเน้นการลงทุนในประเทศมากกว่าการส่งออกโดยตรง
- ความต้องการอาหารสูง โดยไนจีเรียประชากรที่เติบโตอย่างรวดเร็ว (สหประชาชาติคาดการณ์ ปชก.อาจถึง 400 ล้านคนภายในปี 2593) สร้างความต้องการสินค้าเกษตรอย่างมหาศาล
- การแปรรูปเพิ่มมูลค่า โดยตลาดต้องการผลิตภัณฑ์แปรรูป (เช่น โกโก้สำเร็จรูป, น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์) มากขึ้น
- เทคโนโลยีเกษตร โดยมีความต้องการเครื่องจักรกลและนวัตกรรมเพิ่มสูง เพื่อทดแทนการเกษตรแบบดั้งเดิม
- การส่งออก โดยโกโก้ งา และน้ำมันปาล์มมีโอกาสในตลาดโลก หากเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้น
ทั้งนี้เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรของไนจีเรียให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รัฐบาลและภาคเอกชนจำเป็นต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร เพิ่มการเข้าถึงแหล่งทุน และส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้ การสร้างความมั่นคงในพื้นที่เกษตรกรรมก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศ
ภาคการเกษตรของไนจีเรียเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากไนจีเรียมีสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกพืชหลายชนิด เช่น ถั่ว พืชหัว ผลไม้ ธัญพืช รวมถึงพืชเศรษฐกิจสำคัญอย่างเม็ดมะม่วงหิมพานต์ งา โกโก้ มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม ข้าวฟ่าง และข้าว นอกจากนี้ยังมีการเพาะเลี้ยงกุ้งแช่แข็งอีกด้วย อย่างไรก็ดี ภาคการเกษตรของไนจีเรียยังคงเผชิญกับความท้าทายหลายประการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและผลผลิตโดยรวม
แนวโน้มในอนาคต ภาคการเกษตรจะกลายเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและลดการพึ่งพาน้ำมัน โดยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (เช่น ระบบชลประทาน) และเทคโนโลยี (เช่น เครื่องจักรกลเกษตร) จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น เช่น ข้าวจาก 2 ตัน/เฮกตาร์ (6 ไร่) เป็นระดับที่แข่งขันได้กับประเทศอื่น ๆ การส่งเสริมการแปรรูปจะช่วยเปลี่ยนสินค้าเกษตรเช่น โกโก้และน้ำมันปาล์มให้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่มีมูลค่าสูงในตลาดโลก นอกจากนี้ การสร้างความมั่นคงในพื้นที่เกษตรกรรมจะดึงดูดการลงทุนทั้งจากในและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ไนจีเรียบรรลุเป้าหมายความมั่นคงด้านอาหารและลดการนำเข้าสินค้าเกษตรในระยะยาว
ข้อมูล: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา
เรียบเรียงโดย: ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์