The Cable สื่อในจีเรียออนไลน์อ้างสถิติของเว็บไซต์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย แสดงปริมาณการนําเข้า ข้าวไทยโดยเบนิน โตโก ไนเจร์ และซาด ลดลงช่วง ม.ค. – ก.ย. ปี 2562 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2561 ยกเว้นในจีเรียและแคเมอรูนที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น (รายละเอียดตามเอกสารแนบ) โดยเป็นครั้งแรกที่ในจีเรียนําเข้าข้าวไทย เพิ่มมากขึ้น นับตั้งแต่ 23 มิ.ย. 2555 ที่ธนาคารกลางไนจีเรีย (Central Bank of Nigeria – CBN) ได้ประกาศมาตรการ เพื่อแก้ไขปัญหาค่าเงินในราผันผวน สนับสนุนการผลิตภายในประเทศเพื่อทดแทนการพึ่งพาสินค้านําเข้า และส่งเสริมการจ้างงานภายในประเทศ ซึ่งห้ามไม่ให้หน่วยงาน/ธุรกิจที่ทําการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศภายในในจีเรีย รับแลกเปลี่ยนเงินตราจากในราเป็นเงินตราต่างประเทศให้แก่ผู้นําเข้าสินค้า รวมถึง ข้าว ซีเมนต์ เครื่องบินเจ็ทส่วนตัว ไม้จิ้มฟัน ฯลฯ ปัจจุบันมีจํานวน 42 ประเภท ปุ๋ยเป็นสินค้าล่าสุดที่ธนาคารกลางได้ประกาศเพิ่มเมื่อปลายปี 2561 ”
[su_spacer]
ตั้งแต่ปิดพรมแดนปลายเดือน ส.ค. 2562 ส่งผลให้ค่าครองชีพภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่าง มาก แต่รัฐบาลในจีเรียยังความจําเป็นดําเนินมาตรการปิดพรมแดนทางบกทั้งหมด เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ จากการลักลอบนําสินค้าเข้า – ออกอย่างผิดกฎหมายเข้ามาทุ่มในตลาดภายใน (dumping) นาย Godwin Emefiele ผู้ว่าการ CBN ขอให้เกษตรกรปลูกข้าว ผู้ประกอบการโรงสี และธุรกิจแปรรูปข้าวอย่าฉวยโอกาสขึ้นราคาจากการปิด พรมแดน นอกจากนั้น ข้าวนําเข้าไม่เหมาะสําหรับการบริโภคเพราะมีสารเคมีปนเปื้อนจากการใช้เก็บรักษาข้าว
[su_spacer]
ราคาข้าวบรรจุถุงละ 50 กก. มีราคาขายเพิ่มขึ้นจากราคาขายก่อนปิดพรมแดนเกือบ 3 เท่าตัว (จากราคา 4000 ในรา เป็น 25000 ในรา) สมาคมผู้ปลูกข้าวไนจีเรีย (the Rice Farmers Association of Nigeria – RIFAN) เห็นว่า หลังจากปิดพรมแดนมีผู้ฉวยโอกาสโก่งราคาข้าว เพราะการบรรจุข้าวที่ผลิตในประเทศถุงละ 50 กก. มีต้นทุนข้าวเปลือกที่ 5000 ในรา และค่าสีข้าวไม่เกิน 2000 ในรา และ RIFAN คาดว่า ผลผลิตข้าวปี 2562 ที่ดีของ ไนจีเรียจะช่วยให้ราคาข้าวในตลาดลดลงได้
[su_spacer]
อย่างไรก็ดี ปัญหาพลังงานขาดแคลน (ไฟฟ้าดับ) และระบบคมนาคมภายในประเทศที่ขาด ประสิทธิภาพ จะเป็นอุปสรรคในการแปรรูปผลผลิตข้าวเปลือกและการขนส่งข้าวจากแหล่งผลิตป้อนตลาดผู้บริโภค ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนของกระบวนการผลิตข้าวท้องถิ่นในจีเรียมีราคาสูง เพื่อลดราคาต้นทุนดังกล่าว รัฐบาลในจีเรีย จําเป็นต้อง (1) เพิ่มเงินช่วยเหลือเพราะประเทศที่ส่งออกข้าวมีนโยบายช่วยเหลือชาวนา (อินเดีย เวียดนาม จีน และไทย) และ (2) เพิ่มผลผลิตให้มากยิ่งขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีการเพาะปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตสูง ลดราคาปุ๋ย สนับสนุนเงินทุนสําหรับ เครื่องจักรกล และพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
[su_spacer]
ปัจจุบัน ไนจีเรียสามารถผลิตข้าวได้เพียงครึ่งหนึ่งของความต้องการภายในประเทศ (3.7 ล้านตัน สําหรับ 7 ล้านตัน) แต่นาย Sabo Nanono, Federat Minister of Agriculture and Rural Development เชื่อมั่นใน ศักยภาพการผลิตข้าวที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทําให้ไนจีเรียสามารถเป็นผู้ส่งออกข้าวอีกภายใน 2 ปี พร้อมรณรงค์ให้บริโภค ข้าวท้องถิ่นซึ่งปลอดภัยต่อการบริโภคมากกว่าข้าวนําเข้า
[su_spacer]
นโยบายปิดพรมแดนทางบกซึ่งมีความยาว 4470 กม. ระหว่างไนจีเรียกับชาด เคเมอรูน เบนิน และไนเจอร์ ภายใต้ชื่อ “Exercise Swift Respond” นําโดย Office of the National Security Adviser ร่วมกับ ศุลกากร สนง.ตม. ฝ่ายตํารวจและทหาร ได้มีการรายงานว่า นโยบายดังกล่าวอาจจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ม.ค. 2563 ล่าสุด ปธน. Buhari ได้ประกาศยืนยันว่า ยังไม่มีกําหนดเปิดพรมแดนทางบกแต่อย่างใด
[su_spacer]
มีการวิเคราะห์ว่า การที่ในจีเรียยังยืนกรานปิดพรมแดนฝ่ายเดียว ได้สร้างผลกระทบในวงกว้างต่อ การค้าในกลุ่มประเทศสมาชิก ECOWAS ภายใต้ Subregional protocols of free trade and movement และ การปฏิบัติจะเป็นแบบอย่าง (precedent) ที่ไม่ดีสําหรับการจัดตั้งเขตการค้าเสรีภูมิภาคแอฟริกา (AfCFTA) ต่อไป
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา