การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในเนเธอร์แลนด์ส่งผลให้มียอดจํานวนผู้ติดเชื้อ ณ วันที่ 25 พ.ค. 2563 รวม 45,445 คน ซึ่งเพิ่มขึ้น 209 คน จากวันที่ 24 พ.ค. 2563 จํานวนผู้ป่วยเข้ารับการรักษาใน รพ. รวม 11,680 คน ทั้งนี้ ปรากฏการรายงานข้อมูลว่า มีผู้ป่วยได้รับการรักษาจนหายประมาณ 7,000 ราย หรือประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ที่เข้ารับการรักษาใน รพ. ทั้งหมด ณ วันที่ 30 เม.ย. 2563 และยังไม่มีการเปิดเผยสถิติอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ จํานวนผู้ป่วยวิกฤตจากโรค COVID-19 ในเนเธอร์แลนด์ลดลงเหลือ 223 ราย และประธาน National Network for Intensive Care คาดว่า จํานวนผู้ป่วยวิกฤติจะลดลงเหลือ 150 ราย ในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้จํานวนผู้เสียชีวิตรวม 5,830 คน โดยจํานวนผู้ติดเชื้อจริงสูงกว่าจํานวนที่มีการรายงาน เนื่องจากการตรวจสอบหาผู้ติดเชื้อในเนเธอร์แลนด์ยังคงจํากัดเฉพาะกลุ่ม แม้ในปัจจุบันเนเธอร์แลนด์จะขยายการตรวจหาเชื้อให้ครอบคลุมมากขึ้นจากเดิม โดยฝ่ายบริการสาธารณสุข (GGD) จะเริ่มตรวจหาเชื้อในผู้ที่มีอาการทุกรายในเดือน มิ.ย. 2563 เป็นต้นไป โดยคาดว่าจํานวนผู้ติด COVID-19 จริงจะสูงกว่าจํานวนที่มีการรายงาน และจํานวนผู้เสียชีวิตอาจสูงกว่าที่มีการรายงานเช่นกัน อย่างไรก็ตาม อัตราการเพิ่มขึ้นของจํานวนผู้ติด COVID-19 จํานวนผู้ที่การเข้ารับการรักษาที่ รพ. และจํานวนผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการขยายขอบข่ายการตรวจหาเชื้อก็ตาม โดยในช่วงกลางเดือน พ.ค. 2563 (11 – 17 พ.ค. 2563) เป็นสัปดาห์แรกที่ไม่มีอัตราการเสียชีวิตทั่วไปที่เกินกว่าจํานวนประมาณการในสถานการณ์ ปกติในช่วงเดียวกัน (excess mortality) โดยจากสถิติซึ่งรวบรวมโดยสํานักงานสถิติแห่งชาติเนเธอร์แลนด์มีจํานวนผู้เสียชีวิตในช่วง ดังกล่าวน้อยกว่าประมาณการ 200 คน ทั้งนี้ ตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. – ต้นเดือน พ.ค. 2563 มีจํานวน excess mortality กว่า 9,000 ราย
[su_spacer]
การออกมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจรอบที่สอง เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 63 ครม. เนเธอร์แลนด์ ได้เห็นชอบมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 รอบที่สอง เนื่องจากมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจรอบแรกจะสิ้นสุดลงใน วันที่ 1 มิ.ย. 2563 แต่โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังไม่คลี่คลาย และส่งผลต่อการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจําเป็นที่จะต้องช่วยเหลือผู้ประกอบการและพนักงานให้มากที่สุด ทั้งนี้ มาตรการเยียวยาเศรษฐกิจรอบที่สองนี้จะใช้ได้ต่อไปอีกเป็นเวลา 3 เดือน หลังจากวันที่ 1 มิ.ย. 2563 โดยผู้ประกอบการต้องพยายามช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด สําหรับมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจรอบที่สอง ในหลักการแล้วรัฐบาลยังคงให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ประกอบการในลักษณะเดิมโดยขยายการช่วยเหลือให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็กําหนดเงื่อนไขที่เคร่งครัดยิ่งขึ้น โดยจัดสรรงบประมาณ 1.3 หมื่นล้านยูโร เพื่อรองรับมาตรการในรอบที่สอง มีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้
[su_spacer]
การให้เงินช่วยเหลือแก่นายจ้างในมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจรอบแรก ผู้ประกอบการและบริษัทที่สูญเสียเงินหมุนเวียนเกินกว่าร้อยละ 20 สามารถยื่นขอรับเงินช่วยเหลือเพื่อนํามาจ่ายเงินเดือนให้แก่ลูกจ้างเท่านั้น แต่มาตรการเยียวยาเศรษฐกิจรอบที่สอง นายจ้างสามารถนําเงินช่วยเหลือที่ได้รับไปใช้ในการบริหารงานอื่น ๆ ได้ บนเงื่อนไขว่าจะต้องไม่มีการจ่ายเงินโบนัสให้กับผู้บริหารและเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ยกเลิกค่าปรับแก่นายจ้างในกรณีที่รับเงินช่วยเหลือไปแล้ว แต่จําเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ขอให้นายจ้างสนับสนุนให้พนังงานเข้ารับกา ฝึกอบรมหรือพัฒนาทักษะเพิ่มเติมเพื่อรักษาตําแหน่งหน้าที่การงานไว้
[su_spacer]
การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการอิสระการใช้มาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจรอบที่สองรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้กําหนดเงื่อนไขที่เคร่งครัดขึ้น กล่าวคือ ผู้ประกอบการอิสระที่จะขอรับเงินช่วยเหลือจาก รัฐบาลเนเธอร์แลนด์จะต้องพิสูจน์ว่า คู่สมรสหรือพาร์ทเนอร์ของตน ไม่มีรายได้เพียงพอสําหรับเลี้ยงดูครอบครัว (ซึ่งในรอบแรก มิได้กําหนดเงื่อนไขนี้) เพื่อให้ ผู้ประกอบการอิสระที่มีความจําเป็นจริงๆ เท่านั้น ที่จะสามารถขอรับเงินช่วยเหลือในหมวดนี้ได้ รวมถึงการให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบธุรกิจ ยังคงขอรับเงินช่วยเหลือได้ต่อไป เพื่อนํามาเป็นค่าใช้จ่ายที่จําเป็น เช่น ค่าเช่า โดยจํานวนที่จะได้รับขึ้นอยู่กับรายได้ที่สูญเสียไปของกิจการ โดยสามารถขอรับได้สูงสุดถึง 20,000 ยูโร โดยผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก สามารถยื่นคําขอในหมวดนี้ได้เช่นกัน และลูกจ้างที่เป็นการจ้างงานแบบ ชั่วคราวและไม่มีสิทธิยื่นขอรับสวัสดิการอื่นจากรัฐ สามารถยื่นขอรับเงินช่วยเหลือได้เดือนละ 600 ยูโร เป็นเวลาสามเดือน หากมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า มีรายได้เดือนละอย่างน้อย 500 ยูโร ในเดือน ก.พ. 63 (ก่อนการบังคับใช้มาตรการป้องกันการ แพร่ระบาดของ COVID-19) สำหรับมาตรการทางภาษี ผู้ประกอบการปละบริษัทสามารถยื่นขอผ่อนผันการจ่ายภาษีได้อีก 3 เดือน จนถึงวันที่ 1 ก.ย. 2563 และงดเว้นค่าปรับการจ่ายภาษีล่าช้า
[su_spacer]
มุมมองภายหลัง COVID-19 ของเนเธอร์แลนด์ หลายภาคส่วนของเนเธอร์แลนด์ได้ผลักดันให้ใช้ “วิกฤติ” จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ให้เป็น “โอกาส” ในการสร้างความสมดุลและความยั่งยืนในประเทศให้มากขึ้นในทุกมิติ อาทิ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์เนเธอร์แลนด์จํานวนกว่า 170 คน จาก 8 สถาบันและมหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ภาคการเมืองและประชาชนร่วมกันพิจารณาใช้วิกฤตครั้งนี้เป็นแรงผลักในการปฏิรูปประเทศ โดยเห็นว่า ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมซึ่งเป็นระบบของการหมุนเวียนของผู้คนและสินค้าได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศน์และสร้างความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยยกตัวอย่างกรณีที่ภาคเอกชนขนาดใหญ่ได้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากภาครัฐในการบรรเท ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ขณะที่อุตสาหกรรมด้านบริการสาธารณสุขและการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งประสบปัญหาทางการเงินมาระยะหนึ่งแล้วกลับเพิ่งได้รับความสําคัญ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์เห็นว่า จะต้องนําหลักการความยั่งยืนมาปรับใช้ในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจการดํารงชีวิตของประชาชน รวมถึงภาคการเกษตร และเรียกร้องให้องค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง อาทิ IMF และ World Bank ให้ความสําคัญกับประเทศกําลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ โดยควรได้รับยกเว้นจากการชําระหนี้ในบางส่วน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่แต่ละประเทศได้รับแตกต่างกัน
[su_spacer]
การจัดทําแผนปฏิบัติการในอุตสาหกรรมด้านน้ำของเนเธอร์แลนด์ช่วงหลังวิกฤต COVID-19 ภาคส่วนที่ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมด้านน้ำของเนเธอร์แลนด์ นําโดย Netherlands Water Partnership อยู่ระหว่างการประมวลผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมด้านบริหารจัดการน้ำของเนเธอร์แลนด์ จากวิกฤตการณ์ COVID-19 และจัดทําร่างแผนปฏิบัติการด้านน้ำของเนเธอร์แลนด์ ซึ่ง คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงปลายเดือน มิ.ย. 2563 โดยแผนปฏิบัติการจะให้ความสําคัญกับหลักการของความยั่งยืน ซึ่งได้ สะท้อนผ่านนวัตกรรมด้านน้ำของเนเธอร์แลนด์ ที่ใช้ในอดีต อาทิ การเพิ่มพื้นที่รับน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม (room for river) การใช้ธรรมชาติในการแก้ปัญหา (nature-based solutions) และการใช้รูปแบบของเมืองที่รับการเปลี่ยนแปลงได้ (new Concepts for urban resilience) เป็นต้น ทั้งนี้ จะเน้นการเชื่อมโยงภาคส่วนอุตสาหกรรมด้านน้ำของเนเธอร์แลนด์เข้ากับการลงทุน ทั้งภายในและนอกประเทศภายหลัง COVID-19 ในแนวทางที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ เนเธอร์แลนด์ได้ร่วมลงนาม Call to Action ของกลุ่มความร่วมมือ Sanitation and Water for Au (SWA) ซึ่งมีเป้าหมายหลักเพื่อให้ประชากรโลกเข้าถึงน้ำที่สะอาดเพื่อการอุปโภคและบริโภค (ตามเป้าหมายที่ 6 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ UN) ซึ่งเนเธอร์แลนด์เห็นว่า น้ำที่สะอาด สุขอนามัยที่ดี การล้างมือบ่อย ๆ และการรักษาระยะห่าง เป็นปัจจัยสําคัญในการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19
[su_spacer]
การชะลอการปฏิบัติตามแผนความตกลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Agreement) เมื่อกลางปี 2562 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้จัดทำความตกลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พลังงาน อุตสาหกรรม การก่อสร้าง การจราจรและการ ขนส่ง และการเกษตรและการใช้ที่ดิน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 25 ภายในปี 2563 ร้อยละ 49 ในปี 2573 (ค.ศ. 2030) และบรรลุ carbon neutral หรือลดร้อยละ 95 ในปี 2593 (ค.ศ. 2050) โดยเดิมรัฐบาลเนเธอร์แลนด์มีกําหนดที่จะออกมาตรการในระยะยาวเพิ่มเติมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของความตกลงในช่วง เม.ย. 2563 โดยหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงเกษตรของเนเธอร์แลนด์ ได้ออกมาตรการขานรับโดยจัดทําแผนปฏิบัติการเพื่อนำเนเธอร์แลนด์ ไปสู่ circular agriculture ภายในปี ค.ศ. 2030 เพื่อส่งเสริมเป้าหมายหลักประการหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซมลพิษจากภาคการเกษตร รวมถึงปศุสัตว์ อย่าง ครบวงจร อาทิ ควบคุมอาหารที่นํามาใช้ในระบบปศุสัตว์เพื่อไม่ให้เกิด food waste และปิดฟาร์มปศุสัตว์ที่อยู่ใกล้เขตพื้นที่ อนุรักษ์ เป็นต้น จนทําให้เกิดการประท้วงของเกษตรกรอย่างต่อเนื่องในช่วงปลายปี 2562 ซึ่งทําให้ในช่วงต้นปี 2563 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ตกลงจัดสรรงปม. 172 ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการปรับตัว และอีก 350 ล้านยูโร สําหรับรับซื้อกิจการของกระทรวงเกษตร ที่สมัครใจเลิกทําปศุสัตว์ 2562 อย่างไรก็ดี ผลทางอ้อมจากการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID 19 ตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. 2563 พบว่า ปริมาณก๊าซมลพิษทางอากาศของเนเธอร์แลนด์ลดลงอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 20-60 เนื่องจาก กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศและการสัญจรทางบกและทางอากาศลดปริมาณลงรัฐบาลเนเธอร์แลนด์จึงเห็นควรชะลอการออก มาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเพิ่มเติมออกไปก่อน ประกอบกับการบังคับใช้มาตรการดังกล่าวต้องใช้งบประมาณจํานวนมากเพื่อให้ความช่วยเหลือ กับภาคส่วนต่าง ๆ ในการปรับตัว แต่ในช่วงนี้รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้นำงบประมาณส่วนใหญ่ไปใช้ในการเยียวยาเร่งด่วนทางเศรษฐกิจของประเทศแล้ว จึงต้องให้ความสําคัญกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าก่อน โดยรัฐบาลยังคงยึดมั่นในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายตามความตกลงสภาพภูมิอากาศและการนําเนเธอร์แลนด์สู่ circular agriculture
[su_spacer]
นอกจากนี้ นาย Mark Rutte นายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ยอมรับว่า ระบบเศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 มากกว่าที่คาดคิดไว้ โดยสถิติตัวเลขการว่างงานในเนเธอร์แลนด์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.5 ในช่วง มี.ค.-พ.ค. 2563 และ การล้มละลายของบริษัทหลายแห่งในอนาคตอันใกล้เป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์จะต้อง
[su_spacer]
ออกมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจรอบที่สอง อย่างไรก็ดี เสียงสะท้อนที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้รับจากการออกมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจรอบนี้แตกต่างจากในรอบแรกเนื่องจากมีสมาชิกรัฐสภาบางรายไม่เห็นด้วยกับการที่ รบ. ต้องแบกรับภาระของภาคเอกชนจํานวนมากในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น และยังก่อให้เกิดความเห็นที่แตกแยกในรัฐสภา เนื่องจากพรรคฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับการยกเลิก การปรับนายจ้างที่เลิกจ้างพนังงานหลังจากที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ไปแล้ว เนื่องจากเกรงว่าจะเพิ่มอัตราการว่างงานใน ประเทศให้สูงขึ้น
[su_spacer]
เนเธอร์แลนด์ให้ความสําคัญกับการส่งเสริมการความยั่งยืนในทุกมิติเพื่อรับมือกับความท้าทายจากสภาพภูมิอากาศที่เป็นปัจจัยหลักสําคัญมาตลอด ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID 19 ตอกย้ำความสําคัญที่ภาคส่วนต่าง ๆ ในเนเธอร์แลนด์ให้ในการสร้างความยั่งยืนในมิติใหม่ผ่านแนวทาง นวัตกรรม องค์ความรู้ การวิจัยและพัฒนาภายใต้โครงสร้าง triple helix (รัฐ เอกชน และวิชาการ) ซึ่งเป็นจุดแข็งของเนเธอร์แลนด์ยิ่งขึ้นในโลกยุคหลัง COVID-19 อาทิ การนํามาปรับใช้กับการบริหาร เมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์โดยทีมผู้บริหารกรุงอัมสเตอร์ดัม ต้องการที่จะนําแนวทางเศรษฐกิจโดนัท (Doughnut Economics) มา ใช้ในการบริหารเมืองหลวงของประเทศเพื่อแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สาธารณสุข การจ้างงาน และที่ อยู่อาศัยในกรุงอัมสเตอร์ดัมได้อย่างยั่งยืน โดยเน้นให้ประชากรของเมืองได้อาศัยอยู่ภายในบริเวณขอบพื้นที่ด้านนอกและด้านในของโดนัท ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยต่อมนุษย์และเป็นธรรมต่อธรรมชาติ รวมถึงการพิจารณาแนวทางให้กรุงอัมสเตอร์ดัมเป็น แหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน โดยยกเลิกและจํากัดพื้นที่ของสถานบริการทางเพศ และโดยที่ไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสําคัญกับหลักการของความยั่งยืน จึงน่าจะเป็นโอกาสอันดีในการแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์กับเนเธอร์แลนด์ได้ใน หลายระดับ โดยเฉพาะในการประชุมPolitical Consultation ครั้งที่ 1 ซึ่งมีกําหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 17 ก.ย. 2563 ก็อาจจะเป็นอีกโอกาสหนึ่งที่ทั้งสองประเทศจะหารือถึงโอกาสและความร่วมมือในประเด็นเรื่องความยั่งยืนร่วมกัน
[su_spacer]
สำหรับประเทศไทยสามารถติดตามมุมมองของประเทศเนเธอร์แลนด์ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมโลก และแนวทางเตรียมรับมือในมิติต่าง ๆ ภายหลัง COVID-19 เพื่อนำมาประยุกต์กับประเทศไทยนำไปสู่การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
[su_spacer]