เนเธอร์แลนด์มีความสนใจลงทุนในหลายสาขาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับจุดแข็งของประเทศและแนวโน้มที่ดีในตลาดโลก โดยการลงทุนจะเน้นบทบาทของเนเธอร์แลนด์ในการรักษาความเป็นผู้นําในด้านนวัตกรรม ความยั่งยืน และ การแก้ปัญหาระดับโลก ในขณะเดียวกันก็เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจในประเทศและขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ
โดยที่ผ่านมา เนเธอร์แลนด์ให้ความสําคัญกับ 9 สาขาหลัก ได้แก่ (1) Horticulture and propagation materials (2) Agri-food (3) Water/Maritime (4) Life sciences and health (5) Chemicals (6) High-tech Systems & Materials (7) Energy (8) Logistics และ (9) ICT
การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด
เนเธอร์แลนด์ สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนอย่างแข็งขันในประเทศ ซึ่งรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ตั้งเป้าที่จะเป็นประเทศ carbon-neutral ภายในปี ค.ศ. 2050 และมุ่งเน้นที่การลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและขยายขนาด แหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และ Green Hydrogen นอกจากนี้ยังเน้นการพัฒนาแหล่งการกักเก็บพลังงานและการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายไฟฟ้า ทั้งนี้ ในระดับนานาชาติ เนเธอร์แลนด์พยายามมีบทบาท สําคัญในการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย แอฟริกา และ ลาตินอเมริกา โดยมุ่งเน้นไปที่การแบ่งปันความรู้ การลงทุน และโครงการร่วมกันในด้านพลังงานสะอาด
โดยสาขาความร่วมมือที่สําคัญในด้านการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานที่สะอาด ได้แก่
(1) ไฮโดรเจน – เนเธอร์แลนด์มองว่าเป็นปัจจัยสําคัญในด้านการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการลดการปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เนเธอร์แลนด์ยังส่งเสริมให้มีการลงทุนในเทคโนโลยีการผลิต การจัดเก็บ และการขนส่งไฮโดรเจนกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สเปน และเยอรมัน ขณะเดียวกันเนเธอร์แลนด์ก็มีความร่วมมือ กับประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น สิงคโปร์และอินโดนีเซียด้วย (offshore wind, floating solar energy, green hydrogen, and carbon trading schemes)
(2) Offshore Wind – เนเธอร์แลนด์เป็นผู้นําด้านเทคโนโลยีพลังงานลมนอกชายฝั่ง โดยเนเธอร์แลนด์ส่งเสริมความร่วมมือในสาขาดังกล่าวกับประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการขยายกําลังการผลิต ด้านพลังงานหมุนเวียน ซึ่งปัจจุบัน ในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น เนเธอร์แลนด์มีความร่วมมือกับเวียดนามในการพัฒนาฟาร์มพลังงานลมนอกชายฝั่ง เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานและเปลี่ยนผ่านจากถ่านหินและน้ํามัน รวมถึงมีการส่งเสริมความร่วมมือกับอินโดนีเซีย ภายใต้กรอบ Renewable Energy and Climate Summit Indonesia-the Netherlands ซึ่งมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้อินโดนีเซียมีการเปลี่ยนผ่านไปใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างน้อยร้อยละ 34 ในปี ค.ศ. 2030
เทคโนโลยีขั้นสูง
เนเธอร์แลนด์ให้ความสําคัญกับการส่งเสริมด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) เซมิคอนดักเตอร์และโฟโตนิกส์ และ Digitalisation ซึ่งมีความสําคัญต่อความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ อีกทั้ง เนเธอร์แลนด์ยังเป็นที่ตั้งของบริษัทชั้นนําระดับโลกหลายแห่งในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ รวมถึงบริษัท ASML (บริษัทผลิตเครื่องจักร ผลิตชิบ) ซึ่งเป็นผู้เล่นสําคัญที่สุดในห่วงโซ่อุปทานชิปของโลก เนเธอร์แลนด์มีความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ อาทิ ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เพื่อร่วมกันพัฒนา new generation of semiconductors เนื่องจากเอเชียยังคงเป็นศูนย์กลางที่สําคัญสําหรับการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ยังคงแสวงหาความร่วมมือในด้านการส่งเสริมเทคโนโลยีขั้นสูงกับประเทศอื่น ๆ ด้วย
โลจิสติกส์
เนเธอร์แลนด์ให้ความสําคัญกับนวัตกรรมในภาคส่วนนี้ โดยเน้นที่ความยั่งยืนและ Digitalisation โดยนําระบบอัตโนมัติ AI และเทคโนโลยีสีเขียวมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพร้อมกับลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
สําหรับประเทศในเอเชียเนเธอร์แลนด์ให้ความสําคัญกับ (1) การบริหารจัดการท่าเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อริเริ่ม Smart Port เพื่อยกระดับสิ่งอํานวยความสะดวกของท่าเรือ รวมถึงเพื่อปรับปรุงระบบอัตโนมัติและประสิทธิภาพด้านพลังงาน ของท่าเรือ และการขนส่งสีเขียว (2) Supply Chain Digitalization ซึ่งให้ความสําคัญกับการนํา AI, Big Data, blockchain มาใช้ในการดําเนินงานเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มความโปร่งใสในการดําเนินงาน
สาขาเฉพาะที่เนเธอร์แลนด์ให้ความสนใจและมองว่าเป็นโอกาสสําหรับผู้ประกอบการ ได้แก่ การพัฒนาท่าเรือ การต่อเรือ การซ่อมบํารุง เรือเพื่อสันทนาการ (leisure boats) และ inland waterways
การบริหารจัดการน้ํา
เนเธอร์แลนด์ถือเป็นผู้นําด้านการบริหารจัดการน้ํา เนื่องจากประเทศมีจุดอ่อนทางภูมิศาสตร์ จึงมีการลงทุนเป็นจํานวนมากและต่อเนื่องในทุก ๆ มิติเกี่ยวกับทรัพยากรน้ํา โดยได้จัดสรร งปม. จํานวนมากสําหรับโครงการสําคัญ เช่น Delta Works (การป้องกันน้ําท่วม) และ Isselmeer Polder (การถมดิน) และ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ยังลงทุนในการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีน้ําและปรับปรุงแนวทางการบริหาร จัดการน้ํา โดยเน้นเกี่ยวกับการป้องกันน้ําท่วม การใช้น้ําอย่างยั่งยืน และการปรับตัวต่อสภาพอากาศ
ประเด็นที่เนเธอร์แลนด์มีความสนใจที่จะร่วมมือกับไทยในสาขาการบริหารจัดการน้ํา ได้แก่ การบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ที่มีความสําคัญ การจัดการอุทกภัยและภัยแล้ง การบําบัดน้ําเสีย และการจ่ายน้ําเพื่ออุตสาหกรรม โดยเนเธอร์แลนด์มองว่า ภาคเอกชนของตนมีความเชี่ยวชาญด้านการพยากรณ์ อุทกภัย การแยกเกลือออกจากน้ํา การออสโมซิสย้อนกลับ การนําน้ํากลับมาใช้ใหม่ และ precision agriculture ซึ่งจะ สามารถสนับสนุนไทยในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ําของประเทศ แก้ไขปัญหาด้านน้ําในเขตเมืองและเขต อุตสาหกรรม และนําเทคโนโลยีที่ยั่งยืนมาใช้ในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ในลักษณะที่มีผลประโยชน์ร่วมกันจากการซื้อ อุปกรณ์และเทคโนโลยีจากเนเธอร์แลนด์รวมทั้งโอกาสในการลงทุนของเนเธอร์แลนด์ในประเทศไทย
ปัจจุบันเนเธอร์แลนด์จัดส่ง Water Trade Mission ไปไทยอย่างสม่ําเสมอ และมีการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปร่วมในการสัมมนาต่าง ๆ รวมทั้งมีกลไกความร่วมมือในกรอบ MOU เรื่องป้องกันน้ําท่วมและกําจัดขยะในแม่น้ํา อาทิ MOU on Water Management between Ministry of Infrastructure and Water Management of the Netherlands, and Office of National Water Resources of Thailand (2021), MOU between the Ocean Cleanup, and Department of Marine and Coastal Resources of Thailand (2021), MOU between StichtingDeltares and Royal Irrigation Department of Thailand (2012) อีกทั้ง ล่าสุด เนเธอร์แลนด์ (สถาบัน Deltares) จะร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงปัญญาคอนซัลแตนท์ ทําการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทําแพลตฟอร์มข้อมูลและแบบจําลอง สําหรับลุ่มน้ําเจ้าพระยา ลุ่มน้ํามูล และลุ่มน้ําจีน เพื่อป้องกันน้ําท่วมอีกด้วย
การเกษตรและอาหาร
เนเธอร์แลนด์เป็นผู้นําระดับโลกด้านนวัตกรรมการเกษตรและการผลิตอาหาร เนเธอร์แลนด์ใช้ความเชี่ยวชาญนี้ในการเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในประเทศกําลังพัฒนาที่ต้องการปรับปรุงภาคเกษตรให้ทันสมัย โดยการนําเทคโนโลยีการเกษตร precision agriculture และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศเพื่อความยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาหารและการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน โดยนอกจากการจัดคณะธุรกิจเดินทางเยือนประเทศต่าง ๆ แล้ว เนเธอร์แลนด์ยังส่งเสริม ความร่วมมือกับธุรกิจและสถาบันการศึกษาของเนเธอร์แลนด์ในการฝึกอบรม และการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีอีกด้วย
สำหรับความร่วมมือกับไทยในสาขาเกษตรและอาหารที่เนเธอร์แลนด์ให้ความสนใจและผลักดัน ได้แก่ การใช้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในสาขา horti/floriculture, future food, food safety and security และการใช้เทคโนโลยี อวกาศสําหรับการเกษตร โดยในด้านการปลูกพืชสวนและดอกไม้ เนเธอร์แลนด์ต้องการส่งเสริมเทคโนโลยีเรือนกระจกขั้นสูงและ ความเชี่ยวชาญด้านการเกษตรในสภาพแวดล้อมควบคุม (Controlled Environment Agriculture: CEA)
ข้อมูล : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก
เรียบเรียง : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์