Rabobank เป็นธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเนเธอร์แลนด์ (ในแง่มูลค่าสินทรัพย์) โดยให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารของเนเธอร์แลนด์บนหลักการของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเน้นการให้ความสำคัญต่อ 1) การพัฒนาและกักเก็บน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการเกษตร 2) สร้างธุรกิจที่มุ่งลดปริมาณปล่อยก๊าซ เรือนกระจกให้อยู่ระดับต่ำ 3) ลดปริมาณของเสีย และ 4) นำระบบดิจิทัลมาใช้ในการภาคการเกษตรและอาหาร ทั้งนี้ Rabobank เล็งเห็นความสำคัญของเอเชีย (โดยเฉพาะจีน อินเดีย ญี่ปุ่น และอาเซียน) ในฐานะที่เป็นแหล่งสำคัญในการผลิต อาหารของโลกและมีประชากรจำนวนมาก โดยได้จัดทำความร่วมมือกับสถาบันทางการเงินท้องถิ่นในหลายประเทศ อาทิ จีน และอินเดีย
[su_spacer]
ด้วยธนาคารฯ มุ่งเน้นให้บริการทางการเงินแก่ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม อาหาร และบริการทางการเงินที่มีความยั่งยืน ได้ออกรายงานเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563 วิเคราะห์ผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจอาเซียนในภาพรวม และผลกระทบต่อธุรกิจการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารของอาเซียน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
[su_spacer]
ปัจจัยพื้นฐานการวิเคราะห์
[su_spacer]
แม้ชื่อของรายงานจะระบุผลกระทบต่ออาเซียน (How COVID-19 will impact ASEAN) แต่เนื้อหาของรายงานมุ่งเน้นผลกระทบต่อประเทศสมาชิกอาเซียนเพียง 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม บนพื้นฐานของผลสำเร็จในการรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีความแตกต่างกันในภูมิภาค กลุ่มที่หนึ่ง คือ ประเทศที่ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย และกลุ่มที่สอง คือ ประเทศที่เริ่มควบคุมการแพร่ระบาดได้ ได้แก่ เวียดนาม ไทย และมาเลเซีย และผลวิเคราะห์ของรายงานอยู่บนสมมติฐานว่า ทุกประเทศสามารถควบคุมการแพร่ระบาดไว้ได้และระบบสาธารณสุขยังมีศักยภาพที่เพียงพอต่อการรับมือ (โดยเพ่งเล็งอินโดนีเซียซึ่งอยู่ในฐานะที่สุ่มเสี่ยงและอาจนำมาซึ่งผลการวิเคราะห์ที่แตกต่างออกไป เนื่องจากอินโดนีเซียมีการตรวจสอบจำนวนผู้ติดเชื้อที่จำกัดและมีจุดอ่อนเรื่องระบบสาธารณสุข หากรัฐบาลอินโดนีเซียใช้มาตรการที่เข้มงวดขึ้นหรือยาวนานขึ้น ระบบเศรษฐกิจของอินโดนีเซียจะได้รับผลกระทบมากกว่าที่บทวิเคราะห์นี้ได้คาดการณ์ไว้)
[su_spacer]
แนวโน้มผลกระทบทางเศรษฐกิจ
[su_spacer]
ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนจะประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะเป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากผลกระทบต่อ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) การส่งออก ซึ่งสิงคโปร์และเวียดนามจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออก 2) การท่องเที่ยวฟิลิปปินส์และไทย จะได้รับผลกระทบหนัก และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะยังคงซบเซาจนกว่าจะมีการพัฒนาวัคซีนได้เป็นผลสําเร็จ ซึ่งคาดว่าการใช้วัคซีนอย่างเร็วที่สุด จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 และ 3) อุปสงค์ภายในประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับความเข้มงวดและระยะเวลาที่นำมาตรการมาบังคับใช้ โดยเวียดนามและฟิลิปปินส์จะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด เนื่องจากบังคับใช้มาตรการอย่างเข้มงวด
[su_spacer]
การคาดการณ์ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2563
[su_spacer]
อินโดนีเซีย คาดว่าตัวเลข GDP จะไม่ติดลบ เนื่องจากเศรษฐกิจของอินโดนีเซียไม่เปิดกว้างนักและไม่พึ่งพิงการท่องเที่ยวเป็นหลัก รวมถึงมิได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวด ประกอบกับอินโดนีเซียนำเข้าน้ำมันจำนวนมาก (ร้อยละ 17 ของการใช้ภายในประเทศ) ด้วยราคาน้ำมันที่ถูกลง จึงลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้า (อย่างไรก็ดี การคาดการณ์ตัวเลข GDP อยู่บนเงื่อนไขที่ว่า สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้)
[su_spacer]
มาเลเซีย ใช้มาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดและเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่ โดยเฉพาะน้ำมัน ซึ่งเป็นสินค้าที่ทำรายได้หลักให้ประเทศ (ประมาณร้อยละ 20 ของรายได้ทั้งหมด) จึงคาดว่า GDP ของมาเลเซีย จึงจะ ติดลบร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปี 2562
[su_spacer]
สิงคโปร์ เป็นประเทศขนาดเล็กและมีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาการค้าเป็นสำคัญ จึงคาดว่าจะส่งผลให้ GDP ของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปี 2562 ผู้วิเคราะห์คาดว่า ไทยจะเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในอาเซียน โดยคาดว่า GDP อาจ ลดลงถึงร้อยละ 8 เนื่องจากระบบเศรษฐกิจของไทยที่เป็นแบบเปิด พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ และการเมืองที่ยังไม่มีความมั่นคงนัก อย่างไรก็ดี ไทยอาจได้รับผลกระทบเชิงบวกจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เนื่องจากมีอัตราค่าจ้างและระบบการค้าที่สามารถทดแทนจีนได้
[su_spacer]
เวียดนาม ในปีนี้ คาดว่า GDP ของเวียดนามจะเติบโตที่ร้อยละ 1 เนื่องจากแม้เวียดนามจะใช้มาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวด แต่เป็นระยะเวลาที่สั้นและสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดไว้ได้แล้ว และเช่นเดียวกับไทยที่เวียดนามจะได้รับผลกระทบเชิงบวกจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน เนื่องจากมีค่าจ้างและระบบการค้าที่ทดแทนจีนได้ อย่างไรก็ดี เวียดนามได้ดุลการค้าจากสหรัฐฯ มาระยะหนึ่งแล้ว นับตั้งแต่เกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน จึงมีโอกาสที่สหรัฐฯ จะเปลี่ยนแปลงนโยบายทางภาษีต่อเวียดนาม (อนึ่ง ตัวเลขคาดการณ์ GDP ปี อยู่บนพื้นฐานว่าเวียดนามสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสได้และระบบสาธารณสุขที่ยังรองรับได้ เนื่องจากเวียดนามไม่ได้ตรวจสอบผู้ติดเชื้ออย่างทั่วถึงและมีจุดอ่อนในด้าน สาธารณสุข)
[su_spacer]
ผู้วิเคราะห์ยังได้คาดการณ์ถึงกรณีที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสไว้ได้และต้องขยายมาตรการล็อกดาวน์ออกไปอีก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างร้ายแรงมากขึ้น โดยจะเกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน การ ลดการลงทุน ความผันผวนของค่าเงิน อัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น และอาจนำมาซึ่งการประท้วง/เดินขบวนของประชาชน (โดยเฉพาะในอินโดนีเซียและไทย) ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ GDP ของไทยอาจลดลงถึงร้อยละ 16 (อินโดนีเซียอาจลดลงร้อยละ 4 มาเลเซียอาจลดลงร้อยละ 12 ฟิลิปปินส์อาจลดลงร้อยละ 10 สิงคโปร์อาจลดลงร้อยละ 14 และเวียดนามอาจลดลงร้อยละ 5)
[su_spacer]
ผลกระทบของมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจ
[su_spacer]
ทุกรัฐบาลของประเทศอาเซียน ได้ออกมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจ เพื่อบรรเทาผลกระทบของ COVID-19 ในหลายลักษณะ อาทิ การให้เงินอุดหนุนค่าจ้าง การยกเว้นภาษี และเงินให้เปล่า โดยสิงคโปร์และไทยเป็นสองประเทศที่อัดฉีดมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจ (สิงคโปร์ร้อยละ 13 ไทยร้อยละ 9 ของ GDP) ในขณะที่ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนามใช้มาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 3 ของ GDP อย่างไรก็ดี ผู้วิเคราะห์เห็นว่า เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลจะไม่สามารถกระตุ้นการบริโภคของประชาชนได้มากนัก เนื่องจากประชาชนจะเน้นการเก็บออมเงินในช่วงนี้ เช่นเดียวกับภาคเอกชนที่จะยังไม่เพิ่มปริมาณการลงทุน
[su_spacer]
ด้วยมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจที่รัฐบาลต่างนำมาใช้ประกอบกับ GDP ที่ถดถอย จะนำไปสู่การเพิ่มปริมาณหนี้สาธารณะของอาเซียน โดยดอกเบี้ยจะเป็นภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลซึ่งจะส่งผลต่อสถานะทางการเงินของรัฐบาลในการรับมือกับความท้าทายอื่นๆ ในอนาคต
[su_spacer]
ภาคการเงิน
[su_spacer]
นโยบายการเงินของธนาคารกลางในอาเซียนยังคงเป็นแนวอนุรักษ์นิยม โดยเน้นการเพิ่มสภาพคล่อง ให้กับธนาคารและลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อให้ธนาคารสามารถปล่อยกู้ได้ง่ายขึ้น เพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ผู้วิเคราะห์เห็นว่า ควรจำกัดการลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากธนาคารไม่ต้องการจะปล่อยกู้ให้กับภาคเอกชนในสถานการณ์ที่ยังไม่มีความแน่นอน
[su_spacer]
หนี้เสีย (NPL) ของอาเซียนจะเพิ่มขึ้น แม้ดูผิวเผินแล้ว ค่ามาตรฐานค่าเผื่อหนี้เสียของอาเซียนจะอยู่ที่ 2.1 (ในขณะที่อียู อยู่ที่ 2.6) แต่หนี้ที่ก่อปัญหา โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนามมีจำนวนมาก
[su_spacer]
สกุลเงินของภูมิภาคอาเซียน คาดว่า จะอ่อนค่าลงในช่วงอนาคตอันใกล้เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ อาทิ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ การถดถอยของ GDP รวมถึงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน โดยเฉพาะค่าเงินบาทของไทย ซึ่งได้รับผลกระทบจากการลดลงของการส่งออกและการท่องเที่ยว ดังนั้น ในช่วง 3 เดือนข้างหน้า (นับจากเดือนพฤษภาคม 2563) คาดว่า ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 36 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่สกุลเงินดงของเวียดนามจะอ่อนค่าน้อยสุดอยู่ที่ 17.156 ดงต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]
ผลกระทบต่อภาคอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรของอาเซียน สรุปได้ดังนี้
[su_spacer]
ประเด็นท้าทาย อุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกจะได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรง เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ กฎเกณฑ์ที่เข้มงวด และความกังวลของผู้บริโภค ซึ่งส่งผลต่อรายได้ในอุตสาหกรรมอาหารของอาเซียนที่คาดว่าจะ ลดลงถึงร้อยละ 50 (การสั่งสินค้าทางออนไลน์และการนัดรับสินค้าที่ร้านค้า ยังไม่เป็นที่นิยมในอาเซียนมากนัก) และแม้ธุรกิจ ค้าปลีกจะได้รับประโยชน์จากการที่ผู้บริโภคกักตุนอาหารแห้งในช่วงแรกของการใช้มาตรการ แต่แนวโน้มนี้จะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อมีการผ่อนคลายมาตรการแล้ว และผู้บริโภคจะเน้นสินค้าที่มีราคาเหมาะสม โดยไม่เน้นสินค้า premium สืบเนื่องมาจาก ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ได้รับ
[su_spacer]
มาตรการของรัฐบาลส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร แรงงานต่างด้าวเป็นปัจจัยสนับสนุนหลักในระบบเศรษฐกิจของอาเซียน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร แต่การออกมาตรการของรัฐบาลต่าง ๆ ที่เข้มงวดส่งผลให้แรงงานต่างด้าวจำนวนมากเดินทางกลับประเทศของตน ซึ่งจำนวนแรงงานที่น้อยลงจะส่งผลกระทบต่อการผลิต ห่วงโซ่อุปทาน และการกระจายสินค้า
[su_spacer]
พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ การไม่รับประทานอาหารนอกบ้านและการถดถอยทางเศรษฐกิจส่งผลให้ความต้องการสินค้าการเกษตรลดปริมาณลง เช่น ความต้องการเนื้อวัว ลดลงร้อยละ 9 – 13 เนื้อหมูร้อยละ 4 – 17 เมล็ดพืชร้อยละ 2 น้ำตาลร้อยละ 2 – 3 เป็นต้น
[su_spacer]
การอ่อนตัวของค่าเงินและมาตรการปกป้องทางการค้า สกุลเงินของอาเซียนมีแนวโน้มที่จะอ่อนตัว ลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าสินค้าอาหารและสินค้าเกษตรของประเทศอาเซียนเพิ่มสูงขึ้น รวมถึง การออกมาตรการเพื่อปกป้องสินค้าเกษตรจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบการค้า
[su_spacer]
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก จะได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งธุรกิจขนาด กลางและขนาดเล็กถือเป็นผู้ขับเคลื่อน ศก. ในอาเซียน โดยมีจำนวนกว่าร้อยละ 90 ก่อให้เกิดอัตราการจ้างงานอยู่ที่ระหว่าง ร้อยละ 50-97 และแม้ธุรกิจการเกษตรและอก, อาหารจะเป็นสาขาที่มีความสำคัญและได้รับการเยียวยาจากรัฐบาลในบางส่วน แต่ก็อาจยังไม่เพียงพอให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
[su_spacer]
ปัจจัยเสี่ยง ผู้วิเคราะห์เห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรของอาเซียนอาจได้รับผลกระทบมากขึ้น หากเกิดปัจจัยเสี่ยง ดังนี้ 1) การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการ 2) แม้ระบบการขนส่งยังเปิดให้บริการ แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยง เกี่ยวกับการเกิดปัญหาสภาวะคอขวดและกฎเกณฑ์การส่งออกที่เข้มงวด และ 3) การประท้วงอาจเกิดขึ้นได้ หากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสาธารณสุขเลวร้ายลง
[su_spacer]